Sunday, August 18, 2013

สารละอองลอยไวไฟ (FLAMMABLE AEROSOLS)

สารละอองลอยที่บรรจุอยู่ในภาชนะปิดที่ไม่สามารถบรรจุใหม่ได้ โดยภาชนะดังกล่าวทำมาจากโลหะ แก้ว หรือพลาสติก และบรรจุก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซละลายภายใต้ความดัน ที่มีหรือไม่มีของเหลว ครีม หรือผงฝุ่น และ ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปล่อยสารออกมาในรูปอนุภาคที่เป็นของแข็งหรือของเหลวที่แขวนลอยอยู่ในก๊าซในรูปของโฟม ครีม หรือผงฝุ่น หรือในสถานะของเหลว หรือในสถานะของก๊าซ

เกณฑ์ในการจำแนกประเภท

ควรพิจารณาจำแนกประเภทสารละอองลอยที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีดเป็นสารไวไฟ หากประกอบด้วย องค์ประกอบใด ๆ ที่เป็นสารไวไฟตามเกณฑ์ของ GHS นั่นคือ:

  • ของเหลวไวไฟ
  • ก๊าซไวไฟ
  • ของแข็งไวไฟ
หมายเหตุ: องค์ประกอบไวไฟไม่ครอบคลุมถึงสารดอกไม้เพลิง (pyrophoric) สารที่ให้ความร้อนได้เอง (self-heating substances) หรือทำปฏิกิริยากับน้ำ (water-reactive substances) เพราะองค์ประกอบดังกล่าวไม่มีการนำมาใช้เป็น องค์ประกอบของสารละอองลอยที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีด

 สารละอองลอยไวไฟที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีดสามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่มภายใต้ประเภทนี้โดย

  •  สำหรับละอองลอยโฟม ให้พิจารณาจาก องค์ประกอบของสาร ความร้อนทางเคมีของการลุกไหม้ และ ถ้าเป็นไปได้ ผลของการทดสอบโฟม และ
  •  สำหรับสารละอองลอยสเปรย์ ให้พิจารณาจาก การทดสอบระยะทางการลุกไหม้ (ignition distance test) และ การทดสอบในพื้นที่ปิด (enclosed space test)
ดูกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มใน 2.3.4.1 ประกอบ

การสื่อสารความเป็นอันตราย

ได้จัดให้มีข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดฉลากไว้ใน การสื่อสาร ความเป็นอันตราย: การติดฉลาก ได้จัดทำตารางสรุปเกี่ยวกับการจำแนกประเภทและการติดฉลากได้จัดให้มีตัวอย่างข้อความที่เป็นคำเตือนและรูปสัญลักษณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เมื่อ ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

การสื่อสารความเป็นอันตราย

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ไม่ได้เป็นส่วนของระบบการจำแนก ประเภทตาม GHS แต่ได้จัดไว้ให้มีในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจำแนกประเภท ศึกษาเกณฑ์ก่อนและในระหว่างการใช้กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

เพื่อจำแนกประเภทสารละอองลอยที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีด จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบ ไวไฟ ความร้อนทางเคมีของการลุกไหม้ และถ้าเป็นไปได้ ผลของการทดสอบโฟม (สำหรับโฟมละอองลอย) และการ ทดสอบระยะทางการลุกไหม้ (ignition distance test) และการทดสอบในพื้นที่ปิด (enclosed space test) (สำหรับสารละออง ลอยสเปรย์) การจำแนกประเภทควรกระทำตามกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มดังต่อไปนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3 (a) สำหรับสารละอองลอยไวไฟ

สำหรับสารละอองลอยสเปรย์ ดูกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3. (b)
สำหรับสารละอองลอยโฟม ดูกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3. (c)

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3 (b) สำหรับสารละอองลอยสเปรย์

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3 (c) สำหรับสารละอองลอยโฟม

แนวทาง

ความร้อนทางเคมีจากการเผาไหม้ (ΔHc) หน่วยเป็น กิโลจูลต่อกรัม เป็นผลผลิตจากความร้อนทางทฤษฎี ของการเผาไหม้ (ΔHcomb) และประสิทธิภาพการเผาไหม้ โดยทั่วไปมีค่าต่ำกว่า 1.0 (ประสิทธิภาพการเผาไหม้โดยทั่วไปมี ค่า 0.95 หรือ 95%)

สำหรับสูตรสารประกอบที่เป็นสารละอองลอย (composite aerosol formulation) ค่าความร้อนทางเคมีของ การเผาไหม้เป็นผลรวมของค่าความร้อนเฉลี่ย (weighted heats) ของการเผาไหม้สำหรับแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้:

สูตรสารประกอบที่เป็นสารละอองลอย

โดยที่:

  • โดยที่: ΔHc = ค่าความร้อนทางเคมีของการเผาไหม้ (กิโลจูล/กรัม)
  • wi % = ร้อยละการแตกตัวของมวลสารที่เป็นสารละอองลอย ขององค์ประกอบ i ในผลิตภัณฑ์
  • ΔHc(i) = ค่าความร้อนจำเพาะของการเผาไหม้ (กิโลจูล/กรัม) ขององค์ประกอบ i ในผลิตภัณฑ์
ค่าความร้อนทางเคมีของการเผาไหม้สามารถหาได้จากเอกสารอ้างอิง การคำนวณหรือการทดสอบ (ดู ASTM D 240, ISO/FDIS 13943:1999 (E/F) 86.l ถึง 86.3 และ NFPA 30B)

ดูตอนย่อย 31.4, 31.5, และ 31.6 ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตราย ของสหประชาชาติ, สำหรับการทดสอบระยะทางการลุกไหม้ (Ignition Distance Test) การทดสอบการลุกไหม้ในพื้นที่ปิด (Enclosed Space Ignition Test) และการทดสอบความไวไฟของละอองลอยโฟม (Aerosol Foam Flammability Test)

ก๊าซไวไฟ (FLAMMABLE GASES)

ก๊าซไวไฟ คือก๊าซที่มีช่วงความไวไฟกับอากาศที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และที่ความดันบรรยากาศ 101.3 กิโลพาสคัล

เกณฑ์การจำแนกประเภท


ก๊าซไวไฟจำแนกได้เป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของสองกลุ่มที่อยู่ในประเภทนี้ตามตารางต่อไปนี้

เกณฑ์สำหรับก๊าซไวไฟ

หมายเหตุ 1: แอมโมเนียและเมธิลโบรไมด์อาจถือว่าเป็นกรณีพิเศษเพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายบางอย่าง

การสื่อสารความเป็นอันตราย

ได้จัดให้มีข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดฉลากไว้ใน การสื่อสาร ความเป็นอันตราย: การติดฉลาก ได้จัดทำตารางสรุปเกี่ยวกับการจำแนกประเภทและการติดฉลากได้จัดให้มีตัวอย่างข้อความที่เป็นคำเตือนและรูปสัญลักษณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เมื่อ ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

องค์ประกอบฉลากสำหรับก๊าซไวไฟ

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ไม่ได้เป็นส่วนของระบบการจำแนก ประเภทตาม GHS แต่ได้จัดไว้ให้มีในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจำแนกประเภท ศึกษาเกณฑ์ก่อนและในระหว่างการใช้กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

เพื่อจำแนกก๊าซไวไฟ จำเป็นต้องมีข้อมูลความไวไฟของสารนั้น การจำแนกประเภทเป็นไปตาม กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.2 สำหรับก๊าซไวไฟ

แนวทาง

ความไวไฟควรกำหนดโดยการทดลองหรือการคำนวณตามวิธีการที่นำมาจาก ISO (ดู ISO 10156:1996 Gases and gas mixtures – Determination of fire potential and oxidizing ability for the selection of cylinder valve outlets) เมื่อมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอในการนำมาใช้กับวิธีเหล่านี้ อาจนำวิธีการทดสอบเทียบเท่าที่ยอมรับจากพนักงานเจ้าหน้าที่มา ใช้ได้

ตัวอย่าง: การจำแนกประเภทก๊าซผสมไวไฟโดยวิธีคำนวณตาม ISO 10156: 1996

สูตร

การจำแนกประเภทก๊าซผสมไวไฟโดยวิธีคำนวณตาม ISO 10156: 1996


โดยที่:
  • Vi % คือ ปริมาณของก๊าซไวไฟเทียบเท่า
  • Tci คือ ค่าความเข้มข้นสูงสุดของก๊าซไวไฟในไนโตรเจนโดยที่ยังไม่เป็นส่วนผสมไวไฟในอากาศ
  • i คือ ก๊าซตัวแรกในก๊าซผสม
  • n คือ ก๊าซตัวที่ n ในก๊าซผสม
  • Ki คือ แฟคเตอร์เทียบเท่าสำหรับก๊าซเฉื่อยต่อไนโตรเจน
 เมื่อก๊าซผสมประกอบด้วยตัวทำละลายเฉื่อย (inert diluent) แทนที่จะเป็นก๊าซไนโตรเจน ปริมาตรของตัวทำละลาย ดังกล่าวจะถูกปรับเปลี่ยนตามปริมาตรเทียบเท่าของไนโตรเจนโดยใช้แฟคเตอร์เทียบเท่าสำหรับก๊าซเฉื่อย (Ki)

เกณฑ์:

ก๊าซผสมประกอบด้วยตัวทำละลายเฉื่อย

ก๊าซผสม

เพื่อจุดมุ่งหมายของตัวอย่างนี้ ต่อไปนี้เป็นก๊าซผสมที่จะใช้

2%(H2) + 6%(CH4) + 27%(Ar) + 65%(He)

การคำนวณ

  • แฟคเตอร์เทียบเท่า (Ki) สำหรับก๊าซเฉื่อยต่อไนโตรเจนทราบจาก
    • Ki (Ar) = 0.5
    • Ki (He) = 0.5
  • คำนวณก๊าซผสมเทียบเท่ากับไนโตรเจนเป็นก๊าซสมดุล (balance gas) โดยใช้ค่า Ki สำหรับก๊าซเฉื่อย
2%(H2) + 6%(CH4) + [27%x0.5 + 65%x0.5](N2) = 2%(H2) + 6%(CH4) + 46%(N2) = 54%

  • ปรับค่าผลรวมของปริมาณเป็นต่อ 100%
100 x [2%(H2) + 6%(CH4) + 46%(N2)] = 3.7%(H2) + 11.1%(CH4) + 85.2%(N2)

  • ค่าสัมประสิทธิ์ Tci สำหรับก๊าซไวไฟทราบได้จาก
    • Tci H2 = 5.7%
    • Tci CH4 = 14.3%
  • คำนวณค่าความไวไฟของก๊าซผสมเทียบเท่าโดยใช้สูตร
ก๊าซผสมชนิดนี้มีความไวไฟในอากาศ

ดังนั้น ก๊าซผสมชนิดนี้มีความไวไฟในอากาศ

 

วัตถุระเบิด (EXPLOSIVES)

คำจำกัดความและข้อพิจารณาทั่วไป

สาร (หรือของผสม) ระเบิดคือสาร (หรือของผสมของสาร) ในรูปของแข็งหรือของเหลว (หรือของผสม ของสาร) ที่ในตัวของมันเองจากปฏิกิริยาทางเคมีสามารถสร้างก๊าซที่มีอุณหภูมิและความดันและที่มีความเร็วจนสามารถทำ ความเสียหายให้กับสิ่งโดยรอบ สารดอกไม้เพลิงถือว่าเป็นสารระเบิดด้วยถึงแม้ว่าสารดังกล่าวนี้ไม่มีก๊าซมาเกี่ยวข้อง

สาร (หรือของผสม) ดอกไม้เพลิง คือสารหรือส่วนผสมของสารที่ได้ออกแบบมาเพื่อให้เกิดผลโดยความ ร้อน แสงสว่าง เสียง ก๊าซ หรือ ควัน หรือการผสมผสานกันของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อันจะเป็นผลของการยืดการระเบิดด้วย ตัวเองด้วยการคายความร้อนโดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี

สิ่งของระเบิด คือสิ่งของที่ประกอบด้วยสารหรือของผสมระเบิดจำนวนหนึ่งอย่างหรือมากกว่า

สิ่งของประเภทดอกไม้เพลิง คือสิ่งของที่ประกอบด้วยสารหรือของผสมดอกไม้เพลิงจำนวนหนึ่งอย่างหรือ มากกว่า

ประเภทของวัตถุระเบิดประกอบด้วย

  • สารและของผสมระเบิด;
  • สิ่งของระเบิด ยกเว้นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยสารหรือของผสมระเบิดในปริมาณที่หรือลักษณะที่การ จุดชนวนระเบิดหรือการจุดปะทุ (initiation) โดยบังเอิญหรือโดยอุบัติเหตุจะไม่เป็นเหตุให้เกิดผล กระทบต่อภายนอกของอุปกรณ์ทั้งโดยการยิงออกไป เกิดไฟ ควัน ความร้อน หรือเสียงดัง และ
  • สาร ของผสมและสิ่งของที่ไม่ได้กล่าวถึงภายใต้ข้อ (a) และ (b) ข้างต้นซึ่งผลิตเพื่อให้เกิดการ แสดงผลโดยการระเบิดหรือลักษณะปรากฏแบบดอกไม้เพลิง
เกณฑ์การจำแนกประเภท

สาร ของผสม และสิ่งของที่จัดอยู่ในเกณฑ์การจำแนกประเภทนี้ได้จัดไว้ให้เป็นไปตามชนิดความเป็น อันตรายที่แสดงออกมาโดยกำหนดให้อยู่ในหนึ่งจากทั้งหมดหกประเภทย่อยดังต่อไปนี้

  • ประเภทย่อย 1.1 สารและสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดทั้งมวล (การระเบิดทั้งมวล หมายถึง การระเบิดของมวลสารทั้งหมดอย่างทันที)
  • ประเภทย่อย 1.2 สารและสิ่งของที่มีความเป็นอันตรายเกิดจากการยิงชิ้นส่วนแต่ไม่เกิดการ ระเบิดทั้งมวล
  • ประเภทย่อย 1.3 สารและสิ่งของที่มีความเสี่ยงในความเป็นอันตรายจากการเกิดเพลิงไหม้ และ มีอันตรายของการระเบิดเล็กน้อยและมีอันตรายเล็กน้อยจากการยิงชิ้นส่วน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง แต่ต้องไม่เกิดการระเบิดทั้งมวล
    • การลุกไหม้ของสารและสิ่งของทำให้เกิดความร้อนและการแผ่รังสีความ ร้อนอย่างมาก
    • ซึ่งเผาไหม้ติดต่อกัน ก่อให้เกิดผลของการระเบิดบ้างเล็กน้อย หรือการยิง ชิ้นส่วนหรือทั้งสองอย่าง
  • ประเภทย่อย 1.4 สารและสิ่งของที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยในการระเบิด หากมีการจุดระเบิด หรือปะทุในระหว่างการขนส่ง ความเสียหายโดยส่วนใหญ่จะอยู่เฉพาะภายใน หีบห่อที่ห่อหุ้มอยู่ และไม่มีการแตกกระจายหรือการยิงของชิ้นส่วนออกไป แหล่งไฟจากภายนอกจะต้องไม่เป็นต้นเหตุให้เกิดการระเบิดอย่างทันทีของสิ่ง ที่บรรจุอยู่ในหีบห่อทั้งหมด
  • ประเภทย่อย 1.5 สารที่มีความไวต่ำมาก ซึ่งมีอันตรายจากการเกิดระเบิดทั้งมวลเป็นไปได้ต่ำ มากจนการเกิดการปะทุหรือช่วงเปลี่ยนสภาวะจากการเผาไหม้ไปสู่การระเบิด เป็นไปได้น้อยมากในระหว่างการขนส่งในสภาวะปกติ ตามข้อกำหนดขั้นต่ำ สารดังกล่าวต้องไม่ระเบิดในการทดสอบด้วยไฟจากภายนอก
  • ประเภทย่อย 1.6 สิ่งของที่มีความไวต่ำมาก ๆ ซึ่งไม่มีอันตรายจากการระเบิดทั้งมวล สิ่งของที่ ประกอบด้วยสารที่มีความไวในการระเบิดมาก ๆ และแทบจะไม่มีโอกาสเกิด การปะทุหรือการแตกกระจายโดยไม่ได้ตั้งใจ
วัตถุระเบิดที่จำแนกเป็นหนึ่งในหกประเภทย่อยข้างต้นนั้นอาศัยการทดสอบลำดับที่ 2 ถึง 8 ในภาคที่ I ของ เอกสาร คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ ตามตารางต่อไปนี้:

เกณฑ์สำหรับวัตถุระเบิด

  • วัตถุระเบิดไม่เสถียร (Unstable explosives) คือวัตถุระเบิดที่ไม่เสถียรทางความร้อน (thermally unstable) และ/หรือไวมากเกินไปสำหรับการเคลื่อนย้ายและใช้งานแบบปกติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความ ระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • อนุโลมให้สาร ของผสมและสิ่งของที่ผลิตเพื่อการฝึกฝนเกี่ยวกับการระเบิดหรือดอกไม้เพลิง
การสื่อสารความเป็นอันตราย

ได้จัดให้มีข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดฉลากไว้ใน การสื่อสาร ความเป็นอันตราย: การติดฉลาก ได้จัดทำตารางสรุปเกี่ยวกับการจำแนกประเภทและการติดฉลากมีตัวอย่างข้อความที่เป็นคำเตือนและรูปสัญลักษณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เมื่อ ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

องค์ประกอบฉลากสำหรับวัตถุระเบิด

  • ใช้กับสาร ของผสมและสิ่งของในกฎระเบียบบางแห่ง (เช่น การขนส่ง)
แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ไม่ได้เป็นส่วนของระบบการจำแนก ประเภทตาม GHS แต่ได้จัดไว้ให้มีในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจำแนกประเภท ศึกษาเกณฑ์ก่อนและในระหว่างการใช้กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

การจำแนกประเภทสาร ของผสมและสิ่งของในประเภทของวัตถุระเบิดและการกำหนดต่อไปโดยแยกย่อย ออกเป็นประเภทย่อย (division) เป็นกระบวนการสามขั้นตอนที่สลับซับซ้อนมาก มีความจำเป็นที่จะต้องอ้างถึงส่วน I ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ ขั้นตอนแรกคือการตรวจสอบว่า สารหรือของผสมมีผลทำให้เกิดการระเบิด (explosive effects) (ลำดับการทดสอบที่ 1) ขั้นตอนที่สองเป็นกระบวนการใน การยอมรับ (acceptance procedure) (ลำดับการทดสอบที่ 2 ถึง 4) และขั้นตอนที่สามเป็นการกำหนดประเภทย่อยของความ เป็นอันตราย (hazard division) (ลำดับการทดสอบที่ 5 ถึง 7) ขั้นตอนการจำแนกประเภทเป็นไปตามกระบวนการตัดสินใจ โดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการจำแนกของสาร ของผสม หรือสิ่งของ ที่จัดเป็นวัตถุระเบิด (ประเภทที่ 1)

ขั้นตอนการจำแนกของสาร ของผสม หรือสิ่งของ ที่จัดเป็นวัตถุระเบิด (ประเภทที่ 1)

ขั้นตอนการกำหนดให้อยู่ในประเภทย่อยของประเภทที่ 1


ขั้นตอนการยอมรับขั้นต้นของสาร ของผสมหรือสิ่งของที่เป็นของเหลวหรือของแข็งออกซิไดส์เป็น ANE


แนวทาง

คุณสมบัติการระเบิดเกี่ยวเนื่องกับการมีกลุ่มทางเคมีบางชนิดในระดับโมเลกุลทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ อุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนการคัดแยกมีเป้าหมายเพื่อบ่งชี้การมีอยู่ของกลุ่มที่ทำปฏิกิริยาและ ศักยภาพในการปล่อยพลังงานออกมาอย่างรวดเร็ว ถ้าขั้นตอนการคัดแยกเพื่อบ่งชี้สารหรือของผสมว่ามีวัตถุระเบิดอยู่ หรือไม่ ต้องดำเนินการในกระบวนการยอมรับ (ดูตอนที่ 10.3 ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่ง สินค้าอันตรายของสหประชาชาติ)

หมายเหตุ: ไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบความไวในการระเบิดจากการกระแทก (test of sensitivity to detonative shock) ทั้งการ ทดสอบลำดับที่ 1 ชนิด (a) การแผ่กระจายของการทดสอบการระเบิดแบบ detonation (Series 1 type (a) propagation of detonation test) และการทดสอบลำดับที่ 2 (a) (Series 2 type (a)) ถ้าพลังงานในการแตกตัวระดับโมเลกุลโดยการเกิดความ ร้อน (exothermic decomposition energy) ของวัสดุอินทรีย์ต่ำกว่า 800 จูล/กรัม

สารหรือของผสมไม่ถูกจำแนกเป็นวัตถุระเบิดถ้า:


  • ไม่มีกลุ่มทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงคุณสมบัติวัตถุระเบิดในโมเลกุล ตัวอย่างกลุ่มที่อาจระบุ คุณสมบัติได้แสดงไว้ในตารางที่ A6.1 ในภาคผนวก 6 ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำ ในการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ; หรือ
  • สารที่ประกอบด้วยกลุ่มทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติวัตถุระเบิดที่รวมออกซิเจนและค่าสมดุล ของออกซิเจนที่คำนวณได้ (calculated oxygen balance) มีค่าต่ำกว่าลบ 200 oxygen balance ที่ใช้คำนวณเพื่อปฏิกิริยาทางเคมี:
 
โดยใช้สูตร:
ค่าสมดุลออกซิเจน (oxygen balance) = -1600.[2.x +(y/2) -z]/น้ำหนักโมเลกุล;

  • เมื่อสารอินทรีย์หรือของผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันของสารอินทรีย์ประกอบด้วยกลุ่มทางเคมีที่มี คุณสมบัติเป็นวัตถุระเบิดแต่พลังงานแตกตัวระดับโมเลกุลทางความร้อน (exothermic decomposition energy) มีค่าต่ำกว่า 500 จูล/กรัม และค่าเริ่มต้นของการแตกตัวทางความร้อน (exothermic decomposition) ต่ำกว่า 500 องศาเซลเซียส (ค่าจำกัดทางอุณหภูมิมีเพื่อป้องกัน กระบวนการที่ใช้กับวัสดุอินทรีย์ในปริมาณมากที่ไม่เป็นวัตถุระเบิดแต่ที่จะแตกตัวอย่างช้า ๆ ที่ อุณหภูมิสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส เพื่อปล่อยพลังงานมากกว่า 500 จูล/กรัม) พลังงานที่เกิดจากการ แตกตัวทางความร้อน (exothermic decomposition energy) อาจกำหนดโดยเทคนิค calorimetric ที่ เหมาะสม; หรือ
  • สำหรับของผสมที่เป็นสารออกซิไดส์อนินทรีย์กับสารอินทรีย์ ความเข้มข้นของสารออกซิไดส์อนิน ทรีย์ คือ:
    • ต่ำกว่า 15 %, โดยมวล ถ้าสารออกซิไดส์จัดอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2;
    • ต่ำกว่า 30 %, โดยมวล ถ้าสารออกซิไดส์จัดอยู่ในกลุ่ม 3

ในกรณีของของผสมที่ประกอบไปด้วยสารที่รู้ว่าเป็นวัตถุระเบิดใด ๆ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการยอมรับ
 
 
Copyright Globally Harmonized System All Rights Reserved