Friday, December 20, 2013

ก๊าซออกซิไดส์ (OXIDIZING GASES)

ก๊าซออกซิไดส์ คือ ก๊าซใด ๆ ที่โดยทั่วไปจะให้ออกซิเจนออกมา อาจเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำให้เกิดการ เผาไหม้วัสดุอื่นมากกว่าที่อากาศทั่วไปสามารถทำได้

เกณฑ์การจำแนกประเภท

ก๊าซออกซิไดส์จำแนกได้เพียงกลุ่มเดียว ตามตารางต่อไปนี้:

เกณฑ์สำหรับการจำแนกก๊าซออกซิไดส์

หมายเหตุ: อากาศที่ผลิตขึ้น (Artificial air) ซึ่งประกอบด้วยออกซิเจน 23.5% โดยปริมาตร อาจพิจารณาว่าไม่เป็นสาร ออกซิไดส์เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายบางอย่าง (เช่น กฎระเบียบของการขนส่ง)

การสื่อสารความเป็นอันตราย

ได้จัดให้มีข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดฉลากไว้ใน การสื่อสาร ความเป็นอันตราย: การติดฉลาก ได้จัดทำตารางสรุปเกี่ยวกับการจำแนกประเภทและการติดฉลากไว้ใน ภาคผนวก 2 และในภาคผนวก 3 โดยมีตัวอย่างข้อความที่เป็นคำเตือนและรูปสัญลักษณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เมื่อได้รับ ความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

การติดฉลาก

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ไม่ได้เป็นส่วนของระบบการจำแนก ประเภทตาม GHS แต่ได้จัดไว้ให้มีในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจำแนกประเภท ศึกษาเกณฑ์ก่อนและในระหว่างการใช้กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

เพื่อจำ แนกก๊าซออกซิไดส์ ควรดำ เนินการด้วยวิธีการทดสอบหรือคำ นวณตามที่กำ หนดไว้ใน ISO 10156:1996 Gases and gas mixtures – Determination of fire potential and oxidizing ability for the selection of cylinder valve outlet

กระบวนการตัดสินใจสำหรับก๊าซออกซิไดส์

ตัวอย่างการจำแนกประเภทของก๊าซผสมออกซิไดส์ (oxidizing gas mixture) โดยการคำนวณตาม ISO-10156

ตัวอย่างการจำแนกประเภทของก๊าซผสมออกซิไดส์

การคำนวณการจำแนกประเภทของก๊าซผสมออกซิไดส์

ถ้าก๊าซผสมมีค่า 0.6 % F2 ในไนโตรเจน การคำนวณเทียบเท่าหาได้จาก



0.6%(F2) + 99.4%(N2)

ค่าสัมประสิทธิ์ของออกซิเจนเทียบเท่า (Ci) สำหรับ F2 = 40

40 x 0.6 = 24 > 21

ดังนั้น พิจารณาได้ว่าก๊าซผสมนี้ มีก๊าซออกซิไดส์มากกว่าอากาศ

Sunday, August 18, 2013

สารละอองลอยไวไฟ (FLAMMABLE AEROSOLS)

สารละอองลอยที่บรรจุอยู่ในภาชนะปิดที่ไม่สามารถบรรจุใหม่ได้ โดยภาชนะดังกล่าวทำมาจากโลหะ แก้ว หรือพลาสติก และบรรจุก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซละลายภายใต้ความดัน ที่มีหรือไม่มีของเหลว ครีม หรือผงฝุ่น และ ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปล่อยสารออกมาในรูปอนุภาคที่เป็นของแข็งหรือของเหลวที่แขวนลอยอยู่ในก๊าซในรูปของโฟม ครีม หรือผงฝุ่น หรือในสถานะของเหลว หรือในสถานะของก๊าซ

เกณฑ์ในการจำแนกประเภท

ควรพิจารณาจำแนกประเภทสารละอองลอยที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีดเป็นสารไวไฟ หากประกอบด้วย องค์ประกอบใด ๆ ที่เป็นสารไวไฟตามเกณฑ์ของ GHS นั่นคือ:

  • ของเหลวไวไฟ
  • ก๊าซไวไฟ
  • ของแข็งไวไฟ
หมายเหตุ: องค์ประกอบไวไฟไม่ครอบคลุมถึงสารดอกไม้เพลิง (pyrophoric) สารที่ให้ความร้อนได้เอง (self-heating substances) หรือทำปฏิกิริยากับน้ำ (water-reactive substances) เพราะองค์ประกอบดังกล่าวไม่มีการนำมาใช้เป็น องค์ประกอบของสารละอองลอยที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีด

 สารละอองลอยไวไฟที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีดสามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่มภายใต้ประเภทนี้โดย

  •  สำหรับละอองลอยโฟม ให้พิจารณาจาก องค์ประกอบของสาร ความร้อนทางเคมีของการลุกไหม้ และ ถ้าเป็นไปได้ ผลของการทดสอบโฟม และ
  •  สำหรับสารละอองลอยสเปรย์ ให้พิจารณาจาก การทดสอบระยะทางการลุกไหม้ (ignition distance test) และ การทดสอบในพื้นที่ปิด (enclosed space test)
ดูกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มใน 2.3.4.1 ประกอบ

การสื่อสารความเป็นอันตราย

ได้จัดให้มีข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดฉลากไว้ใน การสื่อสาร ความเป็นอันตราย: การติดฉลาก ได้จัดทำตารางสรุปเกี่ยวกับการจำแนกประเภทและการติดฉลากได้จัดให้มีตัวอย่างข้อความที่เป็นคำเตือนและรูปสัญลักษณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เมื่อ ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

การสื่อสารความเป็นอันตราย

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ไม่ได้เป็นส่วนของระบบการจำแนก ประเภทตาม GHS แต่ได้จัดไว้ให้มีในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจำแนกประเภท ศึกษาเกณฑ์ก่อนและในระหว่างการใช้กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

เพื่อจำแนกประเภทสารละอองลอยที่บรรจุในภาชนะพ่น/ฉีด จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบ ไวไฟ ความร้อนทางเคมีของการลุกไหม้ และถ้าเป็นไปได้ ผลของการทดสอบโฟม (สำหรับโฟมละอองลอย) และการ ทดสอบระยะทางการลุกไหม้ (ignition distance test) และการทดสอบในพื้นที่ปิด (enclosed space test) (สำหรับสารละออง ลอยสเปรย์) การจำแนกประเภทควรกระทำตามกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มดังต่อไปนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3 (a) สำหรับสารละอองลอยไวไฟ

สำหรับสารละอองลอยสเปรย์ ดูกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3. (b)
สำหรับสารละอองลอยโฟม ดูกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3. (c)

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3 (b) สำหรับสารละอองลอยสเปรย์

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.3 (c) สำหรับสารละอองลอยโฟม

แนวทาง

ความร้อนทางเคมีจากการเผาไหม้ (ΔHc) หน่วยเป็น กิโลจูลต่อกรัม เป็นผลผลิตจากความร้อนทางทฤษฎี ของการเผาไหม้ (ΔHcomb) และประสิทธิภาพการเผาไหม้ โดยทั่วไปมีค่าต่ำกว่า 1.0 (ประสิทธิภาพการเผาไหม้โดยทั่วไปมี ค่า 0.95 หรือ 95%)

สำหรับสูตรสารประกอบที่เป็นสารละอองลอย (composite aerosol formulation) ค่าความร้อนทางเคมีของ การเผาไหม้เป็นผลรวมของค่าความร้อนเฉลี่ย (weighted heats) ของการเผาไหม้สำหรับแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้:

สูตรสารประกอบที่เป็นสารละอองลอย

โดยที่:

  • โดยที่: ΔHc = ค่าความร้อนทางเคมีของการเผาไหม้ (กิโลจูล/กรัม)
  • wi % = ร้อยละการแตกตัวของมวลสารที่เป็นสารละอองลอย ขององค์ประกอบ i ในผลิตภัณฑ์
  • ΔHc(i) = ค่าความร้อนจำเพาะของการเผาไหม้ (กิโลจูล/กรัม) ขององค์ประกอบ i ในผลิตภัณฑ์
ค่าความร้อนทางเคมีของการเผาไหม้สามารถหาได้จากเอกสารอ้างอิง การคำนวณหรือการทดสอบ (ดู ASTM D 240, ISO/FDIS 13943:1999 (E/F) 86.l ถึง 86.3 และ NFPA 30B)

ดูตอนย่อย 31.4, 31.5, และ 31.6 ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตราย ของสหประชาชาติ, สำหรับการทดสอบระยะทางการลุกไหม้ (Ignition Distance Test) การทดสอบการลุกไหม้ในพื้นที่ปิด (Enclosed Space Ignition Test) และการทดสอบความไวไฟของละอองลอยโฟม (Aerosol Foam Flammability Test)

ก๊าซไวไฟ (FLAMMABLE GASES)

ก๊าซไวไฟ คือก๊าซที่มีช่วงความไวไฟกับอากาศที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และที่ความดันบรรยากาศ 101.3 กิโลพาสคัล

เกณฑ์การจำแนกประเภท


ก๊าซไวไฟจำแนกได้เป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของสองกลุ่มที่อยู่ในประเภทนี้ตามตารางต่อไปนี้

เกณฑ์สำหรับก๊าซไวไฟ

หมายเหตุ 1: แอมโมเนียและเมธิลโบรไมด์อาจถือว่าเป็นกรณีพิเศษเพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายบางอย่าง

การสื่อสารความเป็นอันตราย

ได้จัดให้มีข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดฉลากไว้ใน การสื่อสาร ความเป็นอันตราย: การติดฉลาก ได้จัดทำตารางสรุปเกี่ยวกับการจำแนกประเภทและการติดฉลากได้จัดให้มีตัวอย่างข้อความที่เป็นคำเตือนและรูปสัญลักษณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เมื่อ ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

องค์ประกอบฉลากสำหรับก๊าซไวไฟ

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ไม่ได้เป็นส่วนของระบบการจำแนก ประเภทตาม GHS แต่ได้จัดไว้ให้มีในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจำแนกประเภท ศึกษาเกณฑ์ก่อนและในระหว่างการใช้กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

เพื่อจำแนกก๊าซไวไฟ จำเป็นต้องมีข้อมูลความไวไฟของสารนั้น การจำแนกประเภทเป็นไปตาม กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม 2.2 สำหรับก๊าซไวไฟ

แนวทาง

ความไวไฟควรกำหนดโดยการทดลองหรือการคำนวณตามวิธีการที่นำมาจาก ISO (ดู ISO 10156:1996 Gases and gas mixtures – Determination of fire potential and oxidizing ability for the selection of cylinder valve outlets) เมื่อมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอในการนำมาใช้กับวิธีเหล่านี้ อาจนำวิธีการทดสอบเทียบเท่าที่ยอมรับจากพนักงานเจ้าหน้าที่มา ใช้ได้

ตัวอย่าง: การจำแนกประเภทก๊าซผสมไวไฟโดยวิธีคำนวณตาม ISO 10156: 1996

สูตร

การจำแนกประเภทก๊าซผสมไวไฟโดยวิธีคำนวณตาม ISO 10156: 1996


โดยที่:
  • Vi % คือ ปริมาณของก๊าซไวไฟเทียบเท่า
  • Tci คือ ค่าความเข้มข้นสูงสุดของก๊าซไวไฟในไนโตรเจนโดยที่ยังไม่เป็นส่วนผสมไวไฟในอากาศ
  • i คือ ก๊าซตัวแรกในก๊าซผสม
  • n คือ ก๊าซตัวที่ n ในก๊าซผสม
  • Ki คือ แฟคเตอร์เทียบเท่าสำหรับก๊าซเฉื่อยต่อไนโตรเจน
 เมื่อก๊าซผสมประกอบด้วยตัวทำละลายเฉื่อย (inert diluent) แทนที่จะเป็นก๊าซไนโตรเจน ปริมาตรของตัวทำละลาย ดังกล่าวจะถูกปรับเปลี่ยนตามปริมาตรเทียบเท่าของไนโตรเจนโดยใช้แฟคเตอร์เทียบเท่าสำหรับก๊าซเฉื่อย (Ki)

เกณฑ์:

ก๊าซผสมประกอบด้วยตัวทำละลายเฉื่อย

ก๊าซผสม

เพื่อจุดมุ่งหมายของตัวอย่างนี้ ต่อไปนี้เป็นก๊าซผสมที่จะใช้

2%(H2) + 6%(CH4) + 27%(Ar) + 65%(He)

การคำนวณ

  • แฟคเตอร์เทียบเท่า (Ki) สำหรับก๊าซเฉื่อยต่อไนโตรเจนทราบจาก
    • Ki (Ar) = 0.5
    • Ki (He) = 0.5
  • คำนวณก๊าซผสมเทียบเท่ากับไนโตรเจนเป็นก๊าซสมดุล (balance gas) โดยใช้ค่า Ki สำหรับก๊าซเฉื่อย
2%(H2) + 6%(CH4) + [27%x0.5 + 65%x0.5](N2) = 2%(H2) + 6%(CH4) + 46%(N2) = 54%

  • ปรับค่าผลรวมของปริมาณเป็นต่อ 100%
100 x [2%(H2) + 6%(CH4) + 46%(N2)] = 3.7%(H2) + 11.1%(CH4) + 85.2%(N2)

  • ค่าสัมประสิทธิ์ Tci สำหรับก๊าซไวไฟทราบได้จาก
    • Tci H2 = 5.7%
    • Tci CH4 = 14.3%
  • คำนวณค่าความไวไฟของก๊าซผสมเทียบเท่าโดยใช้สูตร
ก๊าซผสมชนิดนี้มีความไวไฟในอากาศ

ดังนั้น ก๊าซผสมชนิดนี้มีความไวไฟในอากาศ

 

วัตถุระเบิด (EXPLOSIVES)

คำจำกัดความและข้อพิจารณาทั่วไป

สาร (หรือของผสม) ระเบิดคือสาร (หรือของผสมของสาร) ในรูปของแข็งหรือของเหลว (หรือของผสม ของสาร) ที่ในตัวของมันเองจากปฏิกิริยาทางเคมีสามารถสร้างก๊าซที่มีอุณหภูมิและความดันและที่มีความเร็วจนสามารถทำ ความเสียหายให้กับสิ่งโดยรอบ สารดอกไม้เพลิงถือว่าเป็นสารระเบิดด้วยถึงแม้ว่าสารดังกล่าวนี้ไม่มีก๊าซมาเกี่ยวข้อง

สาร (หรือของผสม) ดอกไม้เพลิง คือสารหรือส่วนผสมของสารที่ได้ออกแบบมาเพื่อให้เกิดผลโดยความ ร้อน แสงสว่าง เสียง ก๊าซ หรือ ควัน หรือการผสมผสานกันของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อันจะเป็นผลของการยืดการระเบิดด้วย ตัวเองด้วยการคายความร้อนโดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี

สิ่งของระเบิด คือสิ่งของที่ประกอบด้วยสารหรือของผสมระเบิดจำนวนหนึ่งอย่างหรือมากกว่า

สิ่งของประเภทดอกไม้เพลิง คือสิ่งของที่ประกอบด้วยสารหรือของผสมดอกไม้เพลิงจำนวนหนึ่งอย่างหรือ มากกว่า

ประเภทของวัตถุระเบิดประกอบด้วย

  • สารและของผสมระเบิด;
  • สิ่งของระเบิด ยกเว้นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยสารหรือของผสมระเบิดในปริมาณที่หรือลักษณะที่การ จุดชนวนระเบิดหรือการจุดปะทุ (initiation) โดยบังเอิญหรือโดยอุบัติเหตุจะไม่เป็นเหตุให้เกิดผล กระทบต่อภายนอกของอุปกรณ์ทั้งโดยการยิงออกไป เกิดไฟ ควัน ความร้อน หรือเสียงดัง และ
  • สาร ของผสมและสิ่งของที่ไม่ได้กล่าวถึงภายใต้ข้อ (a) และ (b) ข้างต้นซึ่งผลิตเพื่อให้เกิดการ แสดงผลโดยการระเบิดหรือลักษณะปรากฏแบบดอกไม้เพลิง
เกณฑ์การจำแนกประเภท

สาร ของผสม และสิ่งของที่จัดอยู่ในเกณฑ์การจำแนกประเภทนี้ได้จัดไว้ให้เป็นไปตามชนิดความเป็น อันตรายที่แสดงออกมาโดยกำหนดให้อยู่ในหนึ่งจากทั้งหมดหกประเภทย่อยดังต่อไปนี้

  • ประเภทย่อย 1.1 สารและสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดทั้งมวล (การระเบิดทั้งมวล หมายถึง การระเบิดของมวลสารทั้งหมดอย่างทันที)
  • ประเภทย่อย 1.2 สารและสิ่งของที่มีความเป็นอันตรายเกิดจากการยิงชิ้นส่วนแต่ไม่เกิดการ ระเบิดทั้งมวล
  • ประเภทย่อย 1.3 สารและสิ่งของที่มีความเสี่ยงในความเป็นอันตรายจากการเกิดเพลิงไหม้ และ มีอันตรายของการระเบิดเล็กน้อยและมีอันตรายเล็กน้อยจากการยิงชิ้นส่วน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง แต่ต้องไม่เกิดการระเบิดทั้งมวล
    • การลุกไหม้ของสารและสิ่งของทำให้เกิดความร้อนและการแผ่รังสีความ ร้อนอย่างมาก
    • ซึ่งเผาไหม้ติดต่อกัน ก่อให้เกิดผลของการระเบิดบ้างเล็กน้อย หรือการยิง ชิ้นส่วนหรือทั้งสองอย่าง
  • ประเภทย่อย 1.4 สารและสิ่งของที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยในการระเบิด หากมีการจุดระเบิด หรือปะทุในระหว่างการขนส่ง ความเสียหายโดยส่วนใหญ่จะอยู่เฉพาะภายใน หีบห่อที่ห่อหุ้มอยู่ และไม่มีการแตกกระจายหรือการยิงของชิ้นส่วนออกไป แหล่งไฟจากภายนอกจะต้องไม่เป็นต้นเหตุให้เกิดการระเบิดอย่างทันทีของสิ่ง ที่บรรจุอยู่ในหีบห่อทั้งหมด
  • ประเภทย่อย 1.5 สารที่มีความไวต่ำมาก ซึ่งมีอันตรายจากการเกิดระเบิดทั้งมวลเป็นไปได้ต่ำ มากจนการเกิดการปะทุหรือช่วงเปลี่ยนสภาวะจากการเผาไหม้ไปสู่การระเบิด เป็นไปได้น้อยมากในระหว่างการขนส่งในสภาวะปกติ ตามข้อกำหนดขั้นต่ำ สารดังกล่าวต้องไม่ระเบิดในการทดสอบด้วยไฟจากภายนอก
  • ประเภทย่อย 1.6 สิ่งของที่มีความไวต่ำมาก ๆ ซึ่งไม่มีอันตรายจากการระเบิดทั้งมวล สิ่งของที่ ประกอบด้วยสารที่มีความไวในการระเบิดมาก ๆ และแทบจะไม่มีโอกาสเกิด การปะทุหรือการแตกกระจายโดยไม่ได้ตั้งใจ
วัตถุระเบิดที่จำแนกเป็นหนึ่งในหกประเภทย่อยข้างต้นนั้นอาศัยการทดสอบลำดับที่ 2 ถึง 8 ในภาคที่ I ของ เอกสาร คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ ตามตารางต่อไปนี้:

เกณฑ์สำหรับวัตถุระเบิด

  • วัตถุระเบิดไม่เสถียร (Unstable explosives) คือวัตถุระเบิดที่ไม่เสถียรทางความร้อน (thermally unstable) และ/หรือไวมากเกินไปสำหรับการเคลื่อนย้ายและใช้งานแบบปกติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความ ระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • อนุโลมให้สาร ของผสมและสิ่งของที่ผลิตเพื่อการฝึกฝนเกี่ยวกับการระเบิดหรือดอกไม้เพลิง
การสื่อสารความเป็นอันตราย

ได้จัดให้มีข้อพิจารณาทั่วไปและข้อพิจารณาเฉพาะเกี่ยวกับข้อกำหนดในการติดฉลากไว้ใน การสื่อสาร ความเป็นอันตราย: การติดฉลาก ได้จัดทำตารางสรุปเกี่ยวกับการจำแนกประเภทและการติดฉลากมีตัวอย่างข้อความที่เป็นคำเตือนและรูปสัญลักษณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เมื่อ ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

องค์ประกอบฉลากสำหรับวัตถุระเบิด

  • ใช้กับสาร ของผสมและสิ่งของในกฎระเบียบบางแห่ง (เช่น การขนส่ง)
แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

แนวทางและกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ไม่ได้เป็นส่วนของระบบการจำแนก ประเภทตาม GHS แต่ได้จัดไว้ให้มีในที่นี้เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มเติม จึงขอแนะนำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจำแนกประเภท ศึกษาเกณฑ์ก่อนและในระหว่างการใช้กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มนี้

กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม

การจำแนกประเภทสาร ของผสมและสิ่งของในประเภทของวัตถุระเบิดและการกำหนดต่อไปโดยแยกย่อย ออกเป็นประเภทย่อย (division) เป็นกระบวนการสามขั้นตอนที่สลับซับซ้อนมาก มีความจำเป็นที่จะต้องอ้างถึงส่วน I ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ ขั้นตอนแรกคือการตรวจสอบว่า สารหรือของผสมมีผลทำให้เกิดการระเบิด (explosive effects) (ลำดับการทดสอบที่ 1) ขั้นตอนที่สองเป็นกระบวนการใน การยอมรับ (acceptance procedure) (ลำดับการทดสอบที่ 2 ถึง 4) และขั้นตอนที่สามเป็นการกำหนดประเภทย่อยของความ เป็นอันตราย (hazard division) (ลำดับการทดสอบที่ 5 ถึง 7) ขั้นตอนการจำแนกประเภทเป็นไปตามกระบวนการตัดสินใจ โดยใช้ผังการแบ่งกลุ่มดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการจำแนกของสาร ของผสม หรือสิ่งของ ที่จัดเป็นวัตถุระเบิด (ประเภทที่ 1)

ขั้นตอนการจำแนกของสาร ของผสม หรือสิ่งของ ที่จัดเป็นวัตถุระเบิด (ประเภทที่ 1)

ขั้นตอนการกำหนดให้อยู่ในประเภทย่อยของประเภทที่ 1


ขั้นตอนการยอมรับขั้นต้นของสาร ของผสมหรือสิ่งของที่เป็นของเหลวหรือของแข็งออกซิไดส์เป็น ANE


แนวทาง

คุณสมบัติการระเบิดเกี่ยวเนื่องกับการมีกลุ่มทางเคมีบางชนิดในระดับโมเลกุลทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ อุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนการคัดแยกมีเป้าหมายเพื่อบ่งชี้การมีอยู่ของกลุ่มที่ทำปฏิกิริยาและ ศักยภาพในการปล่อยพลังงานออกมาอย่างรวดเร็ว ถ้าขั้นตอนการคัดแยกเพื่อบ่งชี้สารหรือของผสมว่ามีวัตถุระเบิดอยู่ หรือไม่ ต้องดำเนินการในกระบวนการยอมรับ (ดูตอนที่ 10.3 ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำในการขนส่ง สินค้าอันตรายของสหประชาชาติ)

หมายเหตุ: ไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบความไวในการระเบิดจากการกระแทก (test of sensitivity to detonative shock) ทั้งการ ทดสอบลำดับที่ 1 ชนิด (a) การแผ่กระจายของการทดสอบการระเบิดแบบ detonation (Series 1 type (a) propagation of detonation test) และการทดสอบลำดับที่ 2 (a) (Series 2 type (a)) ถ้าพลังงานในการแตกตัวระดับโมเลกุลโดยการเกิดความ ร้อน (exothermic decomposition energy) ของวัสดุอินทรีย์ต่ำกว่า 800 จูล/กรัม

สารหรือของผสมไม่ถูกจำแนกเป็นวัตถุระเบิดถ้า:


  • ไม่มีกลุ่มทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงคุณสมบัติวัตถุระเบิดในโมเลกุล ตัวอย่างกลุ่มที่อาจระบุ คุณสมบัติได้แสดงไว้ในตารางที่ A6.1 ในภาคผนวก 6 ของ คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ตามข้อแนะนำ ในการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ; หรือ
  • สารที่ประกอบด้วยกลุ่มทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติวัตถุระเบิดที่รวมออกซิเจนและค่าสมดุล ของออกซิเจนที่คำนวณได้ (calculated oxygen balance) มีค่าต่ำกว่าลบ 200 oxygen balance ที่ใช้คำนวณเพื่อปฏิกิริยาทางเคมี:
 
โดยใช้สูตร:
ค่าสมดุลออกซิเจน (oxygen balance) = -1600.[2.x +(y/2) -z]/น้ำหนักโมเลกุล;

  • เมื่อสารอินทรีย์หรือของผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันของสารอินทรีย์ประกอบด้วยกลุ่มทางเคมีที่มี คุณสมบัติเป็นวัตถุระเบิดแต่พลังงานแตกตัวระดับโมเลกุลทางความร้อน (exothermic decomposition energy) มีค่าต่ำกว่า 500 จูล/กรัม และค่าเริ่มต้นของการแตกตัวทางความร้อน (exothermic decomposition) ต่ำกว่า 500 องศาเซลเซียส (ค่าจำกัดทางอุณหภูมิมีเพื่อป้องกัน กระบวนการที่ใช้กับวัสดุอินทรีย์ในปริมาณมากที่ไม่เป็นวัตถุระเบิดแต่ที่จะแตกตัวอย่างช้า ๆ ที่ อุณหภูมิสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส เพื่อปล่อยพลังงานมากกว่า 500 จูล/กรัม) พลังงานที่เกิดจากการ แตกตัวทางความร้อน (exothermic decomposition energy) อาจกำหนดโดยเทคนิค calorimetric ที่ เหมาะสม; หรือ
  • สำหรับของผสมที่เป็นสารออกซิไดส์อนินทรีย์กับสารอินทรีย์ ความเข้มข้นของสารออกซิไดส์อนิน ทรีย์ คือ:
    • ต่ำกว่า 15 %, โดยมวล ถ้าสารออกซิไดส์จัดอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2;
    • ต่ำกว่า 30 %, โดยมวล ถ้าสารออกซิไดส์จัดอยู่ในกลุ่ม 3

ในกรณีของของผสมที่ประกอบไปด้วยสารที่รู้ว่าเป็นวัตถุระเบิดใด ๆ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการยอมรับ
 

Wednesday, July 31, 2013

การสื่อสารความเป็นอันตราย: เอกสารความปลอดภัย (SDS)

บทบาทของเอกสารความปลอดภัย (SDS) ในระบบ

  • SDS ควรจัดให้มีข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสารหรือของผสมเคมีเพื่อใช้เป็นแนวทางตามกฎหมายในการ ควบคุมสารเคมีในสถานประกอบการ (workplace chemical control regulatory frameworks) ทั้งผู้ว่าจ้างและผู้ปฏิบัติงานใช้ ข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตราย ซึ่งรวมถึงความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็น แหล่งข้อมูลสำหรับมาตรการด้านความปลอดภัย (safety precautions) ข้อมูลดังกล่าวทำหน้าที่เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการ จัดการสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการ SDS เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องและโดยทั่วไปไม่สามารถจัดให้มีข้อมูลเฉพาะ ซึ่งตรงประเด็นในสถานประกอบการใด ๆ ซึ่งอาจเป็นแหล่งสุดท้ายที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ว่าเมื่อผลิตภัณฑ์มีการใช้ขั้น สุดท้ายที่พิเศษออกไป ข้อมูลใน SDS อาจมุ่งเน้นไปทางด้านการใช้งานในสถานประกอบการ ดังนั้นข้อมูลจะช่วยผู้ว่าจ้าง
    • พัฒนาโปรแกรมที่เป็นผลสำหรับมาตรการปกป้องผู้ปฏิบัติงาน (worker protection measures) ซึ่ง ประกอบด้วยการฝึกอบรมที่เฉพาะเจาะจงตามแต่ละสถานประกอบการ และ
    • พิจารณามาตรการใด ๆ ที่อาจจำเป็นในการป้องกันสิ่งแวดล้อม
  • นอกจากนี้ SDS ยังจัดให้มีแหล่งสำคัญของข้อมูลสำหรับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (target audiences) อื่นๆ ใน ระบบ GHS ข้อมูลบางส่วนอาจนำไปใช้โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตราย ผู้ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (รวมถึง ศูนย์พิษวิทยา; poison centres) ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องในการใช้งานยาปราบศัตรูพืช และผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เหล่านี้ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอื่นจากหลากหลายแหล่ง เช่นเอกสารของข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็น ต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย และชุดข้อมูลสำหรับผู้บริโภค (package inserts for consumers) และจะดำเนินการ อย่างต่อเนื่องต่อไป การนำระบบการติดฉลากที่เป็นระบบเดียวกันมาใช้จึงไม่ได้เป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ ขั้นต้นของ SDS ซึ่งใช้สำหรับผู้ใช้งานในสถานประกอบการ
เกณฑ์สำหรับการกำหนดว่าควรทำ SDS หรือไม่

SDS ควรผลิตขึ้นมาให้ครอบคลุมสารและของผสมซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ทำให้เป็นระบบเดียวสำหรับความ เป็นอันตรายทางกายภาพ ต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ระบบ GHS และสำหรับของผสมทั้งหมดที่ประกอบด้วยสาร ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สำหรับสารก่อมะเร็ง (carcinogenic) เป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (toxic to reproduction) หรือเป็นพิษกับ ระบบอวัยวะเป้าหมาย (target organ systemic toxicity) ในความเข้มข้นเกินกว่าค่าจุดตัด (cut-off limits) สำหรับ SDS ที่ กำหนดโดยเกณฑ์สำหรับของผสม พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกให้จัดทำ SDS สำหรับของผสมที่ไม่ เข้าเกณฑ์การจำแนกประเภทว่าเป็นอันตราย แต่ประกอบด้วยสารอันตรายในระดับความเข้มข้นระดับหนึ่ง

แนวทางทั่วไปในการรวบรวมเอกสารความปลอดภัย

  • ค่าจุดตัด (Cut-off values) / ค่าจำกัดความเข้มข้น (concentration limits)
    • ควรจัดให้มี SDS ค่าจุดตัด/ค่าจำกัดความเข้มข้น (generic cut-off values/concentration limit) ตามที่ระบุไว้ ในตาราง ค่าจุดตัด (Cut-off values) / ค่าจำกัดความเข้มข้น (concentration limits) สำหรับประเภทความเป็นอันตราย

ค่าจุดตัด (Cut-off values) / ค่าจำกัดความเข้มข้น (concentration limits) สำหรับประเภทความเป็นอันตราย

    • ตามที่กำหนดไว้ในการจำแนกของผสมอันตรายและสารอันตราย อาจมีบางกรณีที่ข้อมูลความ เป็นอันตรายที่มีอยู่อาจพิสูจน์การจำแนกประเภทบนพื้นฐานของค่าจุดตัด/ค่าจำกัดความเข้มข้นอื่นแทนที่จะเป็นค่าทั่วไปที่ กำหนดไว้ในบทที่ต่างที่แสดงความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เมื่อใช้ค่าจุดตัดเฉพาะ ดังกล่าวในการจำแนกประเภท ค่าดังกล่าวควรใช้ด้วยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำรวบรวม SDS
    • พนักงานเจ้าหน้าที่ (CA) บางแห่งอาจต้องการให้มีการจัดทำ SDS สำหรับของผสมที่ไม่ได้จำแนกเป็นความ เป็นพิษเฉียบพลัน (acute toxicity) หรือเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ (aquatic toxicity) ซึ่งเป็นผลของการประยุกต์ใช้สูตรปรุง แต่ง (additivity formula) แต่ซึ่งประกอบด้วยสารเป็นพิษเฉียบพลันหรือสารเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำในระดับความ เข้มข้นที่เท่ากับหรือมากกว่า 1 %
    • ตามหลักการของการต่อตัวบล็อก (building block principle) พนักงานเจ้าหน้าที่บางแห่งอาจเลือกที่จะไม่ กำหนดบางกลุ่มให้อยู่ในประเภทความเป็นอันตราย ในสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าไม่เป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องจัดทำ SDS
    • เมื่อเป็นที่ชัดเจนว่าต้องจัดทำ SDS สำหรับสารหรือของผสม ข้อมูลที่จำเป็นต้องมีรวมอยู่ใน SDS ควรจัดให้ มีตามข้อกำหนดของ GHS ในทุกกรณี
รูปแบบของ SDS
  • ข้อมูลใน SDS ควรเสนอโดยใช้หัวข้อทั้ง 16 ตามลำดับดังต่อไปนี้
    • ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี หรือสารผสม และบริษัทผู้ผลิต และ/หรือ จำหน่าย (Identification)
    • ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazard(s) identification)
    • องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/information on ingredients)
    • มาตรการปฐมพยาบาล (First-aid measures)
    • มาตรการผจญเพลิง (Fire-fighting measures)
    • มาตรการการจัดการเมื่อมีการหกและรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accidental release measures)
    • การขนถ่ายเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ (Handling and storage)
    • การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล (Exposure controls/personal protection)
    • คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical properties)
    • ความเสถียรและการไวต่อปฏิกิริยา (Stability and reactivity)
    • ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)
    • ข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ (Ecological information)
    • ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal considerations)
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่ง (Transport information)
    • ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory information)
    • ข้อมูลอื่น (Other information)
เนื้อหาของ SDS 
  • SDS ควรให้ข้อมูลที่มีลักษณะที่ชัดเจนซึ่งใช้ระบุความเป็นอันตราย หากสามารถใช้ได้และมีข้อมูลอยู่ ในแต่ ละหัวข้อ2 ของ SDS ควรประกอบไปด้วยข้อมูลขั้นต่ำตามตาราง. ถ้าข้อมูลจำเพาะที่อยู่ภายใต้หัวข้อย่อยไม่สามารถทำ ได้หรือไม่มีข้อมูล ควรจะระบุให้ชัดเจนลงไปใน SDS ด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมอาจกำหนดให้มีโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
  • หัวข้อย่อยบางหัวข้อเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นลักษณะภายในประเทศหรือระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น “EC number” และ “occupational exposure limits” ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างควรรวมข้อมูลภายใต้หัวข้อย่อยของ SDS ที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศหรือภูมิภาคที่ใช้ SDS นั้น และที่ซึ่งสินค้านั้นได้มีการจัดจำหน่าย
  • รูปแบบมาตรฐานของ SDS ที่รับรองกันระหว่างประเทศมีอยู่มากมายซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางใน การจัดทำ SDS ประกอบด้วยมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Standard) ภายใต้ข้อแนะนำ 177 หัว ข้อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีในที่ทำงาน (Safety in the Use of Chemicals at Work) มาตรฐานสากล 11014 ของ องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization (ISO)) คำแนะนำเกี่ยวกับเอกสารความปลอดภัย ของสมาคมยุโรป (European Union Safety Data Sheet Directive) หมายเลข 91/155/EEC และสถาบันกำหนดมาตรฐานแห่ง สหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute (ANSI)) มาตรฐานที่ Z 400.1 แนวทางอื่น ๆ ในการจัดทำ SDS อาจ พัฒนาโดยคณะกรรมาธิการย่อยของ GHS โดยขึ้นอยู่กับงานขององค์กรต่าง ๆ เหล่านี้
ข้อมูลขั้นต่ำของ SDS 
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี หรือ สารผสม และบริษัทผู้ผลิต และ/หรือ จำหน่าย (Identification of the substance or mixture and of the supplier)
    • ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ตามระบบ GHS (GHS product identifier)
    • การบ่งชี้ด้วยวิธีอื่น ๆ
    • ข้อแนะนำในการใช้สารเคมีและข้อห้ามต่าง ๆ ในการใช้
    • รายละเอียดผู้จำหน่าย (ประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ)
    • หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
  • ข้อมูลระบุความเป็น อันตราย(Hazards identification)
    • การจำแนกประเภทสาร/ของผสมตามระบบ GHS และข้อมูลในระดับชาติหรือ ระดับภูมิภาค
    • องค์ประกอบฉลากตามระบบ GHS รวมถึงข้อความที่เป็นคำเตือน(precautionary statements) (สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายอาจจัดให้มีในลักษณะของสัญลักษณ์ที่ นำมาใช้ใหม่ได้ (graphical reproduction) เป็นสีดำและขาวหรือชื่อสัญลักษณ์ เช่น เปลวไฟ กะโหลกและกระดูกไขว้)
    • ความเป็นอันตรายอื่นที่ไม่มีผลในการจำแนกประเภท (เช่น ความเป็นอันตรายจาก การระเบิดของผงฝุ่น (dust explosion hazard)) หรือที่ไม่ครอบคลุมโดยระบบ GHS
  • ความเป็นอันตรายอื่นที่ไม่มีผลในการจำแนกประเภท (เช่น ความเป็นอันตรายจาก การระเบิดของผงฝุ่น (dust explosion hazard)) หรือที่ไม่ครอบคลุมโดยระบบ GHS
    • สาร
      • เอกลักษณ์ของสารเคมี
      • ชื่อทั่วไป ชื่อพ้อง ฯลฯ
      • หมายเลข CAS, หมายเลข EC ฯลฯ
      • สิ่งเจือปนและการทำสารปรุงแต่งให้เสถียร (Impurities and stabilizing additives) ที่ตัวเองต้องผ่านการจำแนกประเภทและที่มีส่วนในการจำแนกประเภทสาร
    • ของผสม
      •  เอกลักษณ์ของสารเคมีและค่าความเข้มข้นหรืออัตราความเข้มข้นของ ส่วนประกอบที่เป็นอันตรายภายใต้ความหมายของ GHS และแสดงค่าสูงกว่า ระดับของจุดตัด

        หมายเหตุ: สำหรับข้อมูลส่วนประกอบ พนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎสำหรับ CBI ให้มี ความสำคัญเหนือกว่ากฎสำหรับการบ่งชี้ผลิตภัณฑ์
  • มาตรการปฐมพยาบาล (First-aid measures)
    • บรรยายถึงมาตรการที่จำเป็น โดยแยกย่อยออกเป็นข้อ ๆ ตามเส้นทางการรับสัมผัส สาร เช่น การสูดดม การสัมผัสทางดวงตาหรือทางผิวหนังและการกลืนกิน
    • อาการ/ผลกระทบที่สำคัญ ๆ การเกิดผลเฉียบพลันหรือมีการหน่วงเวลาการเกิด
    • การระบุเกี่ยวกับข้อควรพิจารณาทางการแพทย์ในทันทีทันใดและการบำบัดพิเศษ ที่ต้องดำเนินการ ถ้าจำเป็น
  • มาตรการผจญเพลิง (Firefighting measures)
    • สารดับเพลิงที่เหมาะสม (และไม่เหมาะสม)
    • ความเป็นอันตรายเฉพาะที่เกิดขึ้นจากสารเคมี (เช่น ลักษณะของผลิตภัณฑ์ลุกติด ไฟได้ที่เป็นอันตราย)
    • อุปกรณ์ป้องกันพิเศษและการเตือนภัยสำหรับนักผจญเพลิง
  • มาตรการจัดการเมื่อมีการ หกและรั่วไหลของสารโดย อุบัติเหตุ (Accidental release measures)
    • มาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลและมาตรการ ฉุกเฉิน 
    • มาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อม
    • วิธีการและวัสดุสำหรับกักเก็บและกอบกู้
  • การขนถ่ายเคลื่อนย้ายและ การจัดเก็บ (Handling and storage)
    • มาตรการป้องกันสำหรับการขนถ่ายเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย
    • เงื่อนไขการจัดเก็บอย่างปลอดภัย รวมทั้งความเข้ากันไม่ได้ของสาร
  • การควบคุมการรับสัมผัส และการป้องกันส่วนบุคคล (Exposure controls/personal protection)
    • การควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เช่น ค่าที่ยอมให้สัมผัสได้ในขณะปฏิบัติงาน (occupational exposure limit values) หรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ
    • การควบคุมทางวิศวกรรมที่เหมาะสม
    • มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
  • คุณสมบัติทางกายภาพและ ทางเคมี (Physical and chemical properties)
    • สภาพปรากฏ (สถานะทางกายภาพ สี เป็นต้น)
    • กลิ่น
    • ระดับค่าขีดจำกัดของกลิ่น (Odour threshold)
    • ค่าความเป็นกรดด่าง (pH)
    • จุดหลอมละลาย/จุดเยือกแข็ง (melting point/freezing point)
    • จุดเริ่มเดือดและช่วงของการเดือด (initial boiling point and boiling range)
    • จุดวาบไฟ (flash point)
    • อัตราการระเหย (evaporation rate)
    • ความสามารถในการลุกติดไฟได้ (ของแข็ง ก๊าซ) (flammability (solid, gas))
    • ขีดจำกัดความไวไฟ ขีดบน/ขีดล่าง หรือค่าจำกัดการระเบิด (upper/lower flammability or explosive limits)
    • ความดันไอ (vapour pressure)
    • ความหนาแน่นไอ (vapour density)
    • ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density)
    • ความสามารถในการละลายได้ (solubility(ies))
    • สัมประสิทธิ์การแบ่งส่วนของ n-octanol ต่อน้ำ (partition coefficient: noctanol/ water)
    • อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง (auto-ignition temperature)
    • อุณหภูมิการแตกตัวระดับโมเลกุล (decomposition temperature)
  • ความเสถียรและการ เกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity)
    • ความเสถียรทางเคมี
    • ความเป็นไปได้ในการเกิดปฏิกิริยาอันตราย
    • สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง (เช่น การคายประจุไฟฟ้าสถิต แรงกระแทก หรือการ สั่นสะเทือน)
    • วัสดุที่เข้ากันไม่ได้
    • เกิดการแตกตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย
  • ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)กระชับแต่บรรยายถึงผลของความเป็นพิษที่หลากหลายและข้อมูลที่มีอยู่เพื่อระบุ ผลกระทบอย่างสมบูรณ์และเข้าใจได้ ประกอบด้วย:
    • ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางของการรับสัมผัสที่อาจเกิดขึ้น (การหายใจ การกลืนกิน การ สัมผัสทางผิวหนังและดวงตา);
    • อาการที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมีและทางพิษวิทยา;
    • ผลกระทบฉับพลันและที่มีการหน่วงเวลา (Delayed and immediate effects) และ ผลเรื้อรัง (chronic effects) จากการรับสัมผัสระยะสั้นและระยะยาว (short- and long-term exposure);
    • มาตรการเชิงตัวเลข (Numerical measures) ของค่าความเป็นพิษ (เช่น การคำนวณ ค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน)
  • ข้อมูลผลกระทบต่อระบบ นิเวศน์ (Ecological information)
    • ความเป็นพิษต่อระบบนิเวศน์ (ทางน้ำและบนพื้นโลก ถ้ามี)
    • ความคงอยู่นาน (persistence) และความสามารถในการย่อยสลาย (degradability)
    • ความสามารถในการสะสมทางชีวภาพ (Bioaccumulative potential)
    • สภาพที่เคลื่อนที่ได้ในดิน (Mobility in soil)
    • ผลร้ายกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นอื่น ๆ
  • ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal considerations)
    • อธิบายถึงสิ่งตกค้างและข้อมูลเกี่ยวกับของเสียเพื่อการเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย และใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้อง โดยรวมไปถึงการกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการ ปนเปื้อน
  • ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport information)
    • หมายเลข UN
    • ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งตาม UN
    • ประเภทความเป็นอันตรายสำหรับการขนส่ง
    • กลุ่มการบรรจุ (ถ้ามี)
    • การเกิดมลภาวะทางทะเล (มี/ไม่มี)
    • ข้อควรระวังพิเศษที่ผู้ใช้จำเป็นต้องตระหนักหรือจำเป็นต้องปฏิบัติตามในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการขนส่งหรือการบรรทุกทั้งภายในหรือภายนอกสถานประกอบการ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ
    • ให้ระบุกฎระเบียบ ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จัดทำ
  • ข้อมูลอื่น (Other information) ประกอบด้วย ข้อมูลการจัดทำและการ ปรับปรุงแก้ไข SDS

Saturday, July 20, 2013

การสื่อสารความเป็นอันตราย: การติดฉลาก

วัตถุประสงค์ ขอบเขต และการนำไปใช้งาน (Objectives, scope and application)

  • หนึ่งในจำนวนวัตถุประสงค์ของการทำงานของระบบ GHS คือ การพัฒนาระบบการสื่อสารความเป็น อันตรายที่กลมกลืนเป็นระบบเดียวกันซึ่งประกอบด้วยการติดฉลาก เอกสารความปลอดภัยและสัญลักษณ์ที่สามารถเข้าใจ ได้ง่ายตามเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับระบบ GHS งานดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้ความอุปภัมภ์ของ ILO โดยคณะทำงาน การสื่อสารความเป็นอันตราย (ILO Working Group) ตามที่ได้วางกรอบไว้เป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอนสำหรับทำให้เป็น ระบบเดียวกันของการจำแนกประเภทใน การจำแนกประเภทของสารและของผสมอันตราย (Classification of Hazardous Substances and Mixtures)
  • ระบบที่ทำให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวสำหรับการสื่อสารความเป็นอันตรายประกอบด้วยเครื่องมือที่เป็น ฉลากที่เหมาะสมเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายในระบบ GHS การใช้สัญลักษณ์ คำ สัญญาณ (signal words) หรือข้อความบอกความเป็นอันตรายที่นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละประเภทและกลุ่ม ความเป็นอันตรายในระบบ GHS จะถือว่าขัดแย้งกับระบบที่ทำให้กลมกลืนเป็นระบบเดียวกันดังกล่าว
  • คณะทำงานภายใต้ ILO ซึ่งพิจารณาการนำหลักการทั่วไปใช้ ตามที่ระบุไว้ในขอบเขตของการดำเนินงาน (Terms of Reference1) ของ IOMC CG/HCCS ที่ได้นำมาใช้กับระบบการสื่อสารความเป็นอันตรายและรับรู้ว่าจะมี สถานการณ์ซึ่งอุปสงค์ (demand) และหลักการและเหตุผล (rationale) ของระบบเพื่อเป็นหลักประกันต่อความเปลี่ยนแปลง ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งนี้เพื่อการรวมเกณฑ์เพื่อใช้ตัดสินประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วน เกี่ยวข้อง (target audiences) ในบางกลุ่ม
  • ตัวอย่าง ขอบเขตของข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ได้รวม ไว้เฉพาะกลุ่มความเป็นอันตรายที่รุนแรงมากของประเภทความเป็นพิษเฉียบพลัน ระบบนี้จะไม่มีการติดฉลากสารหรือ สิ่งของที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของกลุ่มที่มีความเป็นอันตรายน้อยกว่า (เช่น สารหรือสิ่งของที่มีช่วงค่าความเป็นพิษทางปาก > 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อย่างไรก็ตาม ถ้าขอบเขตของระบบดังกล่าวมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อรวมสารและสารผสมที่เข้าข่าย อยู่ในกลุ่มที่มีความเป็นอันตรายน้อยกว่า สารและของผสมดังกล่าวควรมีการติดฉลากด้วยฉลากตามเครื่องมือระบบการติด ฉลากที่เหมาะสมตาม GHS การใช้ค่าจุดตัดที่แตกต่างออกไปเพื่อกำหนดว่าผลิตภัณฑ์ใดมีการติดฉลากในกลุ่มความเป็น อันตรายจะถือว่าขัดแย้งต่อระบบนี้
  • เป็นที่ยอมรับว่าข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ได้มีการจัดทำ ข้อมูลฉลากส่วนใหญ่ในรูปแบบที่เป็นภาพเขียน (graphic form) เนื่องจากความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (target audiences) ดังนั้นคณะอนุกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ (UN sub-Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods) ไม่ควรเลือกคำสัญญาณ (signal words) และข้อความบอกความเป็น อันตราย (hazard statements) เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่จัดให้มีบนฉลากภายใต้กฎระเบียบต้นแบบมาตรฐานตามข้อแนะนำ ของสหประชาชาติ (UN Model Regulations) ว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย
 คำศัพท์ (Terminology)

  •  คำอธิบายของคำศัพท์และคำจำกัดความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารความเป็นอันตรายได้บรรจุไว้ในบท ที่ 1.2: คำจำกัดความและคำย่อ (Definitions and Abbreviations)
 กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Target audiences)

  •  ได้มีการระบุความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะเป็นผู้ใช้หลัก (primary end-users) ในส่วนของ รูปแบบการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ทำให้กลมกลืนเป็นระบบเดียวกัน ควรให้สนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการจัดให้มีการ อภิปรายในลักษณะที่กลุ่มผู้มีส่วนร่วมเหล่านี้จะได้รับและใช้ข้อมูลที่แสดงเกี่ยวกับสารเคมีที่มีอันตราย ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะ นำมาอภิปรายควรประกอบด้วยการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้อย่างมีศักยภาพ การจัดให้มีข้อมูลอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากฉลากและ การจัดให้มีการฝึกอบรม
  • เป็นที่ยอมรับว่ายากที่จะแยกความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งแตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ทั้ง ผู้ปฏิบัติงานและผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (emergency responders) ใช้ฉลากในสถานที่จัดเก็บ (storage facilities) และผลิตภัณฑ์ เช่น สีและตัวทำละลายถูกนำมาใช้ทั้งผู้บริโภคและในสถานประกอบการ นอกจากนี้ ยาปราบศัตรูพืช (pesticides) สามารถใช้ในบริเวณที่พักอาศัยของผู้บริโภค (consumer settings) (เช่น สนามหญ้า และผลิตภัณฑ์ที่ใช้สวน) และสถานประกอบการ (เช่น ยาปราบศัตรูพืชที่ใช้เพื่อรักษาเมล็ดพืชในโรงเพาะเมล็ดพืช) ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่ามี ลักษณะเฉพาะหลายอย่างที่แตกต่างออกไปตามกลุ่มผู้มีส่วนร่วม บทความในข้อต่อไปนี้จะพิจารณาถึงกลุ่มผู้มีส่วนร่วมและ ชนิดของข้อมูลที่พวกเขาต้องการ
  •  สถานประกอบการ (Workplace): ผู้ว่าจ้าง และผู้ปฏิบัติงานต้องการรู้ถึงความเป็นอันตรายเฉพาะของสารเคมี ที่ใช้และ/หรือที่จัดการในสถานประกอบการ รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับมาตรการเฉพาะในการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายที่ อาจเป็นสาเหตุจากความเป็นอันตราย ในกรณีของการจัดเก็บสารเคมี โอกาสเสี่ยงต่ออันตรายอาจลดได้โดยการบรรจุ สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ (packaging) ของสารเคมีนั้น แต่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ผู้ปฏิบัติงานและผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินต้องการทราบว่าต้องใช้มาตรการใดที่เหมาะสมในการทำให้ผลกระทบบรรเทาเบาบางลง ในกรณีดังกล่าวเขาอาจ ต้องการข้อมูลที่สามารถอ่านได้จากระยะไกล อย่างไรก็ตาม ฉลากไม่ได้เป็นแหล่งข้อมูลเดียวของข้อมูลนี้ ยังอาจหาได้จาก เอกสารความปลอดภัย (SDS) และระบบบริหารความเสี่ยงในสถานประกอบการ (workplace risk management system) ใน ส่วนของระบบบริหารความเสี่ยงในสถานประกอบการควรจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการระบุความเป็นอันตรายและการ ป้องกัน ลักษณะของการฝึกอบรมที่จัดให้มีและความถูกต้อง (accuracy) ความเข้าใจ (comprehensibility) และความสมบูรณ์ (completeness) ของข้อมูลที่จัดให้ใน SDS อาจแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริโภคตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติงานสามารถพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกในสัญลักษณ์และข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ได้มากกว่า
  •  ผู้บริโภค (Consumers): โดยส่วนใหญ่ฉลากมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งข้อมูลเดียวที่มีอยู่สำหรับผู้บริโภค ดังนั้นฉลากจึงจำเป็นต้องมีรายละเอียดที่เพียงพอและตรงกับการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้น ถือได้ว่ามีความแตกต่างด้านหลัก ปรัชญาในวิธีการจัดหาข้อมูลแก่ผู้บริโภค การติดฉลากตามโอกาสของการได้รับบาดเจ็บ (เช่น การสื่อสารความเสี่ยง; risk communication) อาจพิจารณาได้ว่าเป็นวิธีที่ได้ผล ซึ่งในกรณีนี้สัมพันธ์กับระบบการติดฉลากสำหรับผู้บริโภคบางระบบ ในขณะที่สิ่งอื่น ๆ พิจารณาจากหลักการ ‘สิทธิที่จะรับรู้’ (‘right to know’ principle) ในการจัดให้มีข้อมูลแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์ การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ยากและมีประสิทธิผลน้อยกว่าการให้ความรู้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ การจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอให้แก่ผู้บริโภคด้วยคำศัพท์ที่ง่ายที่สุดและเข้าใจได้ง่ายที่สุด นับว่าสิ่งที่ ค่อนข้างท้าทาย ประเด็นของความเข้าใจ (comprehensibility) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกลุ่มนี้เพราะ ผู้บริโภคอาจอาศัยเฉพาะข้อมูลจากฉลากเท่านั้น
  •  ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency responders): ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต้องการข้อมูล เป็นระดับตามช่วงเวลาที่ผ่านไปหลังจากเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้การตอบโต้เป็นไปอย่างทันทีทันใด ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินจึงต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง มีรายละเอียดและชัดเจนเพียงพอ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุใน ระหว่างการขนส่ง ในอาคารจัดเก็บหรือที่สถานประกอบการ พนักงานดับเพลิงและผู้อยู่ในเหตุการณ์เป็นลำดับแรก ๆ คือ ตัวอย่างที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่สามารถแยกความแตกต่างและตีความจากระยะไกล บุคลากรดังกล่าวได้รับการฝึกอบรมมา อย่างดีในการใช้ข้อมูลเชิงภาพและข้อมูลรหัส (graphical and coded information) อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินอาจต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นอันตรายและเทคนิคในการตอบโต้ซึ่งอาจได้จากหลากหลาย แหล่งข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่รับผิดชอบต่อการบำบัดเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากอุบัติเหตุหรือ เหตุฉุกเฉินอาจแตกต่างไปจากที่ต้องการโดยพนักงานดับเพลิง
  •  การขนส่ง (Transport): ข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย จัดให้ มีข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าได้คำนึงถึงผู้ปฏิบัติงานขนส่งและผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเป็น ลำดับแรก ในส่วนอื่นรวมถึงผู้ว่าจ้างซึ่งเสนอหรือยอมรับสินค้าอันตรายเพื่อการขนส่งหรือบรรทุกสินค้าขึ้นหรือถ่าย สินค้าออกจากตัวรถหรือตู้สินค้า ทุกส่วนของขั้นตอนการขนส่งดังกล่าวต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความ ปลอดภัยทั่วไปที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่ขนส่ง ตัวอย่างเช่น พนักงานขับรถต้องทราบว่าในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่ เกี่ยวข้องกับสารที่ขนส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไร: (เช่น รายงานการเกิดอุบัติเหตุต่อเจ้าหน้าที่ เก็บรักษาเอกสารกำกับการขนส่ง ในสถานที่ที่กำหนดไว้ เป็นต้น) พนักงานขับรถอาจต้องการข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับความเป็นอันตรายเฉพาะ เว้นแต่ว่ามี หน้าที่ในการบรรทุกสินค้าขึ้นรถและถ่ายสินค้าลงจากรถหรือทำการบรรจุสินค้าลงแท็งก์ เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานที่อาจมีส่วน เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าอันตราย เช่น บนเรือ ต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดมากกว่า
 ความเข้าใจ (Comprehensibility) เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร

  •  ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ให้นับว่าเป็นประเด็นที่สำคัญสูงสุดในการพัฒนาระบบการสื่อสารความ เป็นอันตราย (ดู ภาคผนวก 5 วิธีการในการทดสอบความเข้าใจ; Comprehensibility Testing Methodology) จุดมุ่งหมายของ ระบบที่ทำให้มีความกลมกลืนกันทั้งหมด (harmonized system) คือการแสดงข้อมูลในลักษณะที่ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจได้ง่าย ระบบ GHS ได้ระบุหลักการที่เป็นแนวทางซึ่งช่วยในกระบวนการดังกล่าว:
    •  ควรมีการสื่อสารข้อมูลมากกว่าหนึ่งทาง;
    •  ความเข้าใจในองค์ประกอบของระบบควรพิจารณาจากการศึกษาและเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่เดิม รวมทั้งหลักฐานอื่น ๆ ที่ได้จากการทดสอบ;
    • วลีที่ใช้ในการระบุระดับ (ความรุนแรง) ของความเป็นอันตรายควรมีการใช้ที่เหมือนกันสม่ำเสมอ หรือใช้ให้เหมือนกันทุกครั้ง ถึงแม้ว่าเป็นชนิดของอันตรายที่แตกต่างกัน
  • ในข้อหลังสุดข้างต้นได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างผลกระทบระยะยาว (long-term effects) เช่น การเกิดมะเร็ง และความเป็นอันตรายทางกายภาพ เช่น ความไวไฟ ในกรณีที่ไม่สามารถ เปรียบเทียบความเป็นอันตรายทางกายภาพที่มีต่อสุขภาพได้โดยตรง ควรให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยวิธีการบอกถึง ระดับความเป็นอันตรายลงในเนื้อหา และดังนั้นจึงถือว่าสื่อถึงระดับความเป็นอันตรายที่เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
  •  ในข้อหลังสุดข้างต้นได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างผลกระทบระยะยาว (long-term effects) เช่น การเกิดมะเร็ง และความเป็นอันตรายทางกายภาพ เช่น ความไวไฟ ในกรณีที่ไม่สามารถ เปรียบเทียบความเป็นอันตรายทางกายภาพที่มีต่อสุขภาพได้โดยตรง ควรให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยวิธีการบอกถึง ระดับความเป็นอันตรายลงในเนื้อหา และดังนั้นจึงถือว่าสื่อถึงระดับความเป็นอันตรายที่เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
  • วิธีการทดสอบความเข้าใจ (Comprehensibility testing methodology) การทบทวนเอกสารอ้างอิงขั้นต้นที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐแมรี่แลนด์ (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้บ่งชี้ว่าหลักการทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจควรนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเป็นอันตรายให้ กลมกลืนเป็นระบบเดียวกัน มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเคปทาว์นได้พัฒนาสิ่งดังกล่าวเพื่อใช้ประเมินความเข้าใจของระบบการ สื่อสารความเป็นอันตราย (ดู ภาคผนวก 5) นอกจากการทดสอบส่วนประกอบเดี่ยวของฉลาก วิธีการนี้ได้พิจารณาความ เข้าใจของส่วนประกอบฉลากแบบผสมกัน สิ่งดังกล่าวนี้ถือว่ามีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประเมินความเข้าใจต่อ คำเตือนสำหรับผู้บริโภคซึ่งสามารถพึ่งพิงการฝึกอบรมเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจได้น้อย วิธีการทดสอบนี้อาจรวม วิธีการประเมินความเข้าใจเอกสารความปลอดภัย (SDS comprehensibility)
การแปล (Translation)

ทางเลือกสำหรับการใช้ข้อมูลที่เป็นอักษรแสดงความท้าทายเพิ่มเติมสำหรับการทำความเข้าใจ จำเป็นต้อง รักษาคำและวลีที่ชัดเจนให้ง่ายต่อการเข้าใจเมื่อมีการแปล ในขณะเดียวกันก็ให้ความหมายที่เหมือนกัน IPCS Chemical Safety Card Programme ได้มีประสบการณ์ในการแปลวลีมาตรฐานไปเป็นหลากหลายภาษา EU มีประสบการณ์ในการแปล คำศัพท์เพื่อให้มั่นใจว่าได้สื่อสารข้อมูลเดียวกันในหลายภาษา เช่นคำว่า ความเป็นอันตราย (hazard) ความเสี่ยง (risk) เป็น ต้น ประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้จากอเมริกาเหนือเกี่ยวกับคู่มือการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของอเมริกาเหนือ (North American Emergency Response Guidebook) ซึ่งได้มีการแปลไว้ในหลายภาษาแล้ว

การทำให้เป็นระบบมาตรฐาน (Standardization)

  • เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ว่าให้มีการนำระบบ GHS ไปใช้ในหลายประเทศให้มากที่สุด จึงต้องทำให้ เนื้อหาใน GHS ส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานเพื่อให้ง่ายสำหรับบริษัทในการปฏิบัติตามและให้ง่ายสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการ นำระบบไปบังคับใช้ การทำให้เป็นระบบมาตรฐานสามารถนำไปใช้กับ
    • องค์ประกอบบางอย่างของฉลาก – สัญลักษณ์ คำสัญญาณ (signal words) ข้อความบอกความเป็น อันตราย (statements of hazard) คำเตือน (precautionary statements) – และ
    • รูปแบบและสีของฉลาก และ
    • รูปแบบของเอกสารความปลอดภัย (SDS format)
การประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานในระบบที่ทำให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก (Application of standardization in the harmonized system)

สำหรับตัวฉลาก สัญลักษณ์ความเป็นอันตราย คำสัญญาณ (signal words) และข้อความบอกความเป็น อันตราย (hazard statements) ทุกส่วนดังกล่าวนี้ได้มีการทำให้เป็นมาตรฐานและกำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตราย (hazard categories) ไม่ควรทำการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบที่เป็นมาตรฐานเหล่านี้ และควรปรากฏอยู่บนฉลากตามระบบ GHS ตามที่ได้ระบุไว้ในบทต่าง ๆ ของแต่ละประเภทความเป็นอันตรายในเอกสารนี้ สำหรับเอกสารความปลอดภัย ได้จัด ให้มีรูปแบบมาตรฐานไว้ในบทที่ 1.5 การสื่อสารความเป็นอันตราย (Hazard Communication: Safety Data Sheets) เพื่อ นำเสนอข้อมูล ถึงเม้ว่าข้อมูลคำเตือนได้มีการพิจาณาให้เป็นระบบมาตรฐาน แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านเวลาจึงไม่ สามารถพัฒนาข้อเสนอในรายละเอียดได้ทัน อย่างไรก็ตาม ได้มีการจัดทำตัวอย่างคำเตือน (precautionary statements) และ รูปสัญลักษณ์ (pictograms) ไว้ในภาคผนวก 3 และยังคงเป็นเป้าหมายในการพัฒนาองค์ประกอบฉลากให้เป็นมาตรฐาน อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต

การใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นมาตรฐานหรือข้อมูลเสริม (Use of non-standardized or supplemental information)

  • นับได้ว่ามีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ปรากฏบนฉลากซึ่งยังไม่ได้เป็นมาตรฐานตามระบบที่ทำให้กลมกลืนกันนี้ ข้อมูลบางส่วนในองค์ประกอบดังกล่าวจำเป็นต้องรวมไว้ในฉลาก เช่น คำเตือน (precautionary statements) พนักงาน เจ้าหน้าที่ (Competent authorities) อาจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือผู้จัดจำหน่าย (suppliers) อาจเลือกที่จะเพิ่มข้อมูลเสริม ภายใต้การตัดสินใจของเขาเอง เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ข้อมูลที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่จำเป็น ของข้อมูลหรือทำให้ระบบข้อมูลของ GHS ด้อยลง ควรจำกัดการใช้ข้อมูลเสริมภายใต้สถานการณ์ดังต่อไปนี้:
    • ข้อมูลเสริมดังกล่าวให้รายละเอียดเพิ่มเติมและไม่ขัดแย้งหรือสงสัย (cast doubt) ว่าข้อมูลความเป็น อันตรายดังกล่าวสามารถใช้ได้; หรือ;
    • ข้อมูลเสริมดังกล่าวให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายที่ยังไม่ได้รวมอยู่ใน GHS
จากทั้งสองกรณี ข้อมูลเสริมไม่ควรทำให้มาตรฐานที่ใช้ปกป้องมีระดับต่ำลง

  •  ผู้ติดฉลากควรมีทางเลือกในการจัดให้มีข้อมูลเสริมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอันตราย เช่น สถานะทาง กายภาพหรือเส้นทางของการรับสัมผัส (route of exposure) ที่เป็นข้อความบอกความเป็นอันตราย (hazard statement) มากกว่าที่จะเป็นส่วนของข้อมูลเสริมบนฉลาก 
การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย (Updating information)

  • ระบบทุกระบบควรมีการระบุวิธีการในการตอบสนองกับข้อมูลใหม่ที่เหมาะสมและเหมาะสมตามเงื่อนเวลา (timely manner) และมีการปรับปรุงฉลากและเอกสารความปลอดภัยให้สอดคล้องกัน ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่า สามารถดำเนินการดังกล่าวได้อย่างไร
แนวทางทั่วไปในการปรับปรุงข้อมูล2 ให้ทันสมัย (General guidance on updating of information)

  • ผู้จัดจำหน่ายควรยึดตามข้อมูลที่ “ใหม่และสำคัญ” ที่ได้รับเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมี โดยการ ปรับปรุงฉลากและเอกสารความปลอดภัยของสารเคมีนั้น ข้อมูลที่ใหม่และสำคัญคือข้อมูลใด ๆ ที่เปลี่ยนการจำแนก ประเภทสารหรือของผสมตาม GHS และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนฉลากหรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและ มาตรการควบคุมที่เหมาะสมซึ่งอาจมีผลต่อเอกสารความปลอดภัย สิ่งดังกล่าวอาจประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลใหม่ เกี่ยวกับโอกาสในการเกิดผลร้ายโดยมีผลกระทบเรื้อรังต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสซึ่งเป็นผลมาจากการตีพิมพ์ในเอกสาร หรือผลการทดสอบที่ผ่านมาล่าสุด ถึงแม้ว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการจำแนกประเภทออกมา
  • ควรดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยทันทีที่ได้รับข้อมูลว่ามีความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะระบุเพื่อจำกัดเวลาให้อยู่ภายในข้อมูลที่ต้องปรับปรุงใหม่ การปรับปรุงดังกล่าวประยุกต์ใช้ เฉพาะกับฉลากและเอกสารความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับกลไกการอนุมัติ เช่น ยาปราบศัตรูพืช ในระบบ ฉลากของยาปราบศัตรูพืช หากฉลากเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการอนุมัติ ผู้จัดจำหน่ายไม่สามารถปรับปรุงข้อมูลฉลากภายใต้ การตัดสินใจด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม หากว่าผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตราย ฉลากที่ใช้ควรมี การปรับปรุงเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
  • ผู้จัดจำหน่ายควรทบทวนเป็นระยะ ๆ ในส่วนของข้อมูลที่เป็นพื้นฐานสำหรับฉลากและเอกสารความ ปลอดภัยของสารหรือของผสม ถึงแม้ว่าไม่มีข้อมูลใหม่หรือสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสารหรือของผสม เช่นต้องมีการค้นหาจาก ฐานข้อมูลสารเคมีสำหรับข้อมูลใหม่ ๆ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอาจเป็นผู้เลือกที่จะระบุระยะเวลา (โดยทั่วไป 3 – 5 ปี) โดยเริ่มนับจากวันที่ของการผลิตซึ่งผู้จัดจำหน่ายควรทำการทบทวนฉลากและข้อมูลเอกสารความปลอดภัย
ข้อมูลลับทางธุรกิจ (Confidential business information)

  • ระบบที่นำ GHS ไปใช้ควรพิจารณาว่าข้อกำหนดใดจะเหมาะสมในการใช้ปกป้องข้อมูลความลับทางธุรกิจ (Confidential Business Information; CBI) ข้อกำหนดดังกล่าวต้องไม่ทำให้สุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานหรือ คนงานหรือการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้อยลง กฎหมายของประเทศที่นำเข้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่ระบุไว้ในระบบ GHS ควร นำไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับกติกาของ CBI ที่เกี่ยวกับสารและสารผสมที่นำเข้า
  •  ถ้ามีการเลือกใช้ระบบเพื่อป้องกันข้อมูลลับทางธุรกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ควรจัดให้มีกลไกที่เหมาะสมตาม กฎหมายและวิธีปฏิบัติในประเทศนั้น และให้พิจารณาข้อต่อไปนี้ว่า:
    •  การรวมสารเคมีหรือประเภทของสารเคมีบางชนิดในกระบวนการเหมาะสมกับความต้องการของ ระบบหรือไม่;
    •  คำจำกัดความของคำว่า "ข้อมูลลับทางธุรกิจ" ควรนำไปใช้โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ (factors) เช่น ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของคู่แข่งทางธุรกิจ สิทธิตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property rights) และการเปิดเผยที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย (potential harm disclosure) อาจเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ว่าจ้าง หรือผู้จัดจำหน่าย; และ
    •  กระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเผยข้อมูลลับทางธุรกิจหากจำเป็นเพื่อป้องกันสุขภาพและ ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริโภค หรือเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และมาตรการเพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมจากนี้
  •  ข้อกำหนดเฉพาะเพื่อปกป้องข้อมูลลับทางธุรกิจอาจแตกต่างกันไปตามระบบที่ใช้ขึ้นอยู่กับกฎหมายและวิธี ปฏิบัติในประเทศนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ควรมีการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการทั่วไปดังต่อไปนี้:
    •  สำหรับข้อมูลอื่นที่จำเป็นต้องใส่ลงบนฉลากหรือเอกสารความปลอดภัย ตามกติกาของ CBI ให้ จำกัดเฉพาะชื่อของสารเคมีและความเข้มข้นในสารผสม ข้อมูลอื่น ๆ ควรมีการเปิดเผยที่ฉลากและ/ หรือเอกสารความปลอดภัย ตามที่กำหนด;
    •  หาก CBI ได้ถูกยกเลิกไป (withheld) ควรมีการระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารความปลอดภัยของ สารเคมีนั้นด้วย;
    •  ควรเปิดเผย CBI ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หากมีการร้องขอ พนักงานเจ้าหน้าที่ควรปกป้องความลับ ของข้อมูลตามกฎหมายและวิธีปฏิบัติที่มีผลบังคับใช้;
    •  เมื่อผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ตัดสินใจประกาศสภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เนื่องจากการได้รับ สัมผัสสารเคมีอันตรายหรือสารเคมีผสม ควรมีกลไกเพื่อให้มั่นใจว่าการเปิดเผยข้อมูลลับเฉพาะใด ๆ โดยผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเหมาะสมกับช่วงเวลาเพื่อนำไปสู่ การรักษาที่จำเป็น ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ควรเก็บรักษาความลับของข้อมูล;
    •  สำหรับในสถานการณ์ที่ไม่ถือว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างควรมั่นใจว่าได้ เปิดเผยข้อมูลลับเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพให้กับเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยหรือสุขภาพนั้น โดยเป็นผู้ที่จัดให้มีการบริการทางการแพทย์หรือความปลอดภัยและสุขภาพอื่น ๆ ให้กับ ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริโภคที่ได้รับสัมผัสสาร และให้กับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแทนผู้ปฏิบัติงาน บุคคล ที่ร้องขอข้อมูลควรมีเหตุผลที่ชัดเจนที่จะขอให้เปิดเผยข้อมูล และควรตกลงที่ใช้ข้อมูลพิเศษนั้น เพื่อจุดมุ่งหมายในการปกป้องผู้บริโภคหรือผู้ปฏิบัติงาน และต้องทำการเก็บรักษาข้อมูลนั้นให้เป็น ความลับไว้ด้วย;
    •  ในกรณีที่มีการปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูล CBI พนักงานเจ้าหน้าที่ควรอธิบายถึงการปฏิเสธดังกล่าว หรือจัดหากระบวนการที่เป็นทางเลือกสำหรับการปฏิเสธนั้น ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างต้อง รับผิดชอบในกรณีดังกล่าว ว่าข้อมูลที่ยกเลิกเป็นไปตามกติกาการปกป้องข้อมูลลับทางธุรกิจ (CBI protection)

การฝึกอบรม (Training)

การฝึกอบรมผู้ใช้เกี่ยวกับข้อมูลความเป็นอันตรายเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารความเป็นอันตราย (hazard communication) ระบบต่าง ๆ ควรมีการระบุการฝึกอบรมและการให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ GHS ซึ่งจำเป็นต้องทราบความหมายของฉลากและ/หรือเอกสารความปลอดภัยและดำเนินการที่เหมาะสมในการตอบโต้ความ เป็นอันตรายจากสารเคมีนั้น ๆ ข้อกำหนดในการฝึกอบรมควรเหมาะสมและเพียงพอกับลักษณะของงานหรือการรับสัมผัส กลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลักในการฝึกอบรมประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงาน ผู้ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมฉลาก เอกสารความปลอดภัยและกลยุทธ์การสื่อสารความเป็นอันตรายที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารความเสี่ยง (risk management systems) บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการขนส่งและจัดเตรียมสารเคมีอันตรายก็กำหนดให้มีการฝึกอบรมไปตาม ระดับที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ระบบควรมีการพิจารณากลยุทธ์ที่กำหนดให้มีการให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคในการ ตีความข้อมูลจากฉลากที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ใช้

ขั้นตอนการติดฉลาก (Labelling procedures)

ขอบเขต (Scope)

ต่อไปนี้เป็นการอธิบายกระบวนการในการจัดเตรียมฉลากในระบบ GHS ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้:

  • การกำหนดองค์ประกอบของฉลาก (Allocation of label elements);
  • การจัดทำแบบสัญลักษณ์ขึ้นมาใหม่ (Reproduction of the symbol);
  • การจัดทำรูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายขึ้นมาใหม่ (Reproduction of the hazard pictogram);
  • คำสัญญาณ (Signal words);
  • ข้อความบอกความเป็นอันตราย (Hazard statements);
  • ข้อควรระวังและรูปสัญลักษณ์ (Precautionary statements and pictograms);
  • การระบุผลิตภัณฑ์และผู้จัดจำหน่าย (Product and supplier identification);
  • ความเป็นอันตรายหลายอย่างและการลำดับข้อมูล (Multiple hazards and precedence of information);
  • การเตรียมการสำหรับการนำเสนอองค์ประกอบฉลากของ GHS (Arrangements for presenting the GHS label elements);
  • การเตรียมการในการติดฉลากแบบพิเศษ (Special labelling arrangements)
องค์ประกอบของฉลาก (Label elements)

ตารางที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดองค์ประกอบของฉลาก (สัญลักษณ์, คำสัญญาณ, ข้อความบอกความเป็นอันตราย) ซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตรายของระบบ GHS กลุ่มความเป็นอันตราย (hazard categories) สะท้อนถึงเกณฑ์การจำแนกประเภทที่ทำให้เป็นระบบเดียวกัน

การจัดทำสัญลักษณ์ใหม่ (Reproduction of the symbol)

สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายต่อไปนี้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานที่ควรนำไปใช้ในระบบ GHS หากไม่นับ รวมถึงสัญลักษณ์ใหม่ที่ทำขึ้นมาใช้สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลากับต้นไม้ (fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกล่าวได้มีการนำมาใช้ในข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็น ต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายอยู่แล้ว

การจัดทำสัญลักษณ์ใหม่ (Reproduction of the symbol)

 รูปสัญลักษณ์และการจัดทำรูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายขึ้นมาใหม่ (Pictograms and reproduction of the hazard pictograms)

 รูปสัญลักษณ์ หมายถีง ข้อมูลเชิงภาพที่อาจประกอบด้วยสัญลักษณ์ร่วมกับองค์ประกอบที่เป็นกราฟฟิคอื่นๆ เช่น ขอบ รูปแบบพื้นหลัง หรือสี ซึ่งทั้งหมดใช้เพื่อสื่อข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับสารอันตราย

 รูปร่างและสี (Shape and colour)

  •  รูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในระบบ GHS ทั้งหมดควรมีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (square set at a point)
  •  รูปสัญลักษณ์ที่กำหนดโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย จะ ใช้พื้นหลังและสีสัญลักษณ์ตามที่โดยข้อกำหนดนั้น ตัวอย่างรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ใน UN Model Regulations สำหรับของเหลว ไวไฟเป็นดังต่อไปนี้
รูปสัญลักษณ์ที่ใช้ใน UN Model Regulations สำหรับของเหลวไวไฟ
 รูปสัญลักษณ์ที่ใช้ใน UN Model Regulations สำหรับของเหลวไวไฟ (สัญลักษณ์: เปลวไฟ สีดำหรือขาว; พื้นหลัง: สีแดง; ตัวเลข 3 ที่มุมด้านล่าง; ขนาดขั้นต่ำ 100 มิลลิเมตร x 100 มิลลิเมตร)

  •  รูปสัญลักษณ์ที่กำหนดโดยระบบ GHS แต่ไม่ได้กำหนดโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ควรใช้สัญลักษณ์สีดำบนพื้นสีขาวและมีกรอบสีแดงที่มีความหนาเพียงพอที่จะสามารถ เห็นได้อย่าชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อรูปสัญลักษณ์ปรากฏบนฉลากสำหรับหีบห่อซึ่งไม่ใช้เพื่อการส่งออก พนักงาน เจ้าหน้าที่อาจยอมจากการพิจารณาดีแล้วให้ผู้จัดจำหน่ายและผู้ว่าจ้างใช้สีดำเป็นขอบได้ นอกจากนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ อนุญาตให้ใช้รูปสัญลักษณ์ตามข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ในการใช้งาน ในสถานที่อื่น ๆ (other use settings) ที่หีบห่อดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมโดยการขนส่งตาม UN Model Regulations ตัวอย่าง ของรูปสัญลักษณ์ตามระบบ GHS ที่ใช้สำหรับการระคายเคืองทางผิวหนังแสดงไว้ดังรูปต่อไปนี้
รูปสัญลักษณ์ตามระบบ GHS สำหรับการ ระคายเคืองทางผิวหนัง
 รูปสัญลักษณ์ตามระบบ GHS สำหรับการ ระคายเคืองทางผิวหนัง

การกำหนดองค์ประกอบของฉลาก (Allocation of label elements)

  • ข้อมูลที่กำหนดให้มีสำหรับหีบห่อที่ครอบคลุมโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการ ขนส่งสินค้าอันตราย
 เมื่อรูปสัญลักษณ์ตาม ข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายปรากฏ บนฉลาก ต้องไม่แสดงรูปสัญลักษณ์ตามระบบ GHS ที่มีความเป็นอันตรายเหมือนกันบนหีบห่อนั้น

ข้อมูลที่กำหนดให้มีบนฉลากตามระบบ GHS

คำสัญญาณ (Signal words)

คำสัญญาณ หมายถึง คำที่ใช้เพื่อกำหนดระดับความสัมพันธ์ของความรุนแรงของอันตรายและเตือนผู้อ่านถึง โอกาสในการเกิดอันตรายซึ่งแสดงอยู่บนฉลาก ระบบ GHS ใช้คำว่า ‘Danger หรือ อันตราย’ และ ‘Warning หรือ คำเตือน’ เป็นคำสัญญาณ คำว่า “Danger หรือ อันตราย” ใช้สำหรับกลุ่มความเป็นอันตรายที่รุนแรงกว่า (ได้แก่ กลุ่มในความเป็น อันตรายหลักกลุ่ม 1 และ 2) ในขณะที่คำว่า “Warning หรือ คำเตือน” ใช้สำหรับความรุนแรงที่ต่ำกว่า ตารางที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดคำสัญญาณซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตราย ของระบบ GHS

  • ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard statements) ข้อความแสดงความเป็นอันตราย หมายถึง วลีที่กำหนดขึ้นสำหรับประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายที่ อธิบายถึงลักษณะของความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงระดับความเป็นอันตราย (degree of hazard) ตามความ เหมาะสม ตารางองค์ประกอบฉลากที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดข้อความ แสดงความเป็นอันตรายซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตรายของระบบ GHS
  • ข้อควรระวังและรูปสัญลักษณ์3 (Precautionary statements and pictograms) ข้อควรระวัง หมายถึง กลุ่มคำ (และ/หรือ รูปสัญลักษณ์) ที่ระบุมาตรการแนะนำว่าควรปฏิบัติตามเพื่อลด หรือป้องกันการเกิดผลร้ายที่เกิดจากการรับสัมผัสกับผลิตภัณฑ์อันตราย หรือการจัดเก็บหรือจัดการผลิตภัณฑ์อันตรายที่ไม่ ถูกต้องเหมาะสม ฉลากตามระบบ GHS ควรประกอบด้วยข้อมูลคำเตือนที่เหมาะสม ตัวเลือกของผู้ติดฉลากหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ ภาคผนวก 3 ประกอบด้วยตัวอย่างคำเตือน ที่สามารถใช้และตัวอย่างรูปสัญลักษณ์ที่เป็นคำเตือนซึ่งสามารถ นำมาใช้หากได้รับความเห็นชอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
  • ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (Product identifier)
    • ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ควรใช้กับฉลากในระบบ GHS และควรสอดคล้องตรงกับตัวบ่งชี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในเอกสารความปลอดภัย หากสารหรือของผสมถูกครอบคลุมอยู่ใน ข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย อาจใช้ชื่อที่ ถูกต้องในการขนส่ง (UN proper shipping name) ที่หีบห่อด้วย;
    • ฉลากสำหรับสารควรรวมเอกลักษณ์เฉพาะของสารเคมี (chemical identity of the substance) สำหรับของผสมหรือโลหะผสม ควรรวมเอกลักษณ์เฉพาะของสารเคมีที่บอกส่วนผสม ทั้งหมดหรือธาตุที่ผสมทั้งหมดที่มีส่วนในการเกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน กัดกร่อนผิวหนัง หรือเสียหายอย่างรุนแรงต่อดวงตา สารก่อกลายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ต่อเซล์ลสืบพันธุ์ (germ cell mutagenicity) สารก่อมะเร็ง (carcinogenicity) สารเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) ความไวต่อระบบทางเดินหายใจหรือทางผิวหนัง (skin or respiratory sensitisation) หรือ เป็นพิษเกี่ยวกับระบบอวัยวะเป้าหมาย (Target Organ Systemic Toxicity; TOST) หาก ความเป็นอันตรายเหล่านี้ปรากฎบนฉลาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ กำหนดให้รวมข้อมูลส่วนผสมหรือธาตุผสมทั้งหมดที่มีส่วนในการช่วยให้เกิดความเป็น อันตรายจากของผสมหรือโลหะผสมนั้น;
    • เมื่อสารหรือของผสมใช้เฉพาะสำหรับในสถานประกอบการเท่านั้น พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ ใช้ดุลยพินิจในการให้ผู้จัดจำหน่ายรวมเอกลักษณ์เฉพาะทางเคมีในเอกสารความปลอดภัย แทนการรวมทั้งหมดไว้บนฉลาก;
    • พนักงานเจ้าหน้าที่ตัดสินให้ CBI อยู่เหนือกว่ากฎของการแจ้งเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ซึ่ง หมายความว่าโดยทั่วไปข้อมูลส่วนผสมได้รวมไว้ในฉลาก ถ้าเป็นไปตามเกณฑ์ของ พนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับ CBI เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องรวมอยู่ในฉลาก
  • การระบุผู้จัดจำหน่าย (Supplier identification) ควรจัดให้มีชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายสารหรือของผสมบนฉลาก
 ความเป็นอันตรายหลายอย่างและการลำดับของข้อมูล (Multiple hazards and precedence of hazard information)

การเตรียมการต่อไปนี้ใช้เมื่อสารหรือของผสมแสดงความเป็นอันตรายที่มากกว่าหนึ่งอันตรายตามระบบ GHS โดยปฏิบัติอย่างไม่มีอคติตามหลักการต่อตัวบล็อก (building block principle) ตามที่อธิบายไว้ใน จุดประสงค์ ขอบเขต และการนำไปใช้งาน (Purpose, Scope and Application) (บทที่ 1.1) ดังนั้นหากระบบไม่ได้จัดให้มีข้อมูลบนฉลากสำหรับ ความเป็นอันตรายเฉพาะ ดังนั้น เมื่อระบบไม่ได้จัดให้มีข้อมูลบนฉลากสำหรับความเป็นอันตรายเฉพาะนั้น จึงควรมีการนำ การเตรียมการมาดัดแปลงเพื่อประยุกต์ใช้

 ลำดับที่มาก่อนสำหรับการกำหนดสัญลักษณ์ (Precedence for the allocation of symbols)

สำหรับสารและสิ่งของที่ครอบคลุมโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า อันตราย, ลำดับที่มาก่อนของสัญลักษณ์สำหรับความเป็นอันตรายทางกายภาพควรเป็นไปตามกฎของ UN Model Regulations ในสถานประกอบการ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจกำหนดให้มีสัญลักษณ์ทั้งหมดสำหรับความเป็นอันตรายทาง กายภาพที่จะใช้ สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้หลักการของลำดับที่มาก่อนดังต่อไปนี้:

  • ถ้าใช้สัญลักษณ์กะโหลกและกระดูกไขว้ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายตกใจอีก;
  • ถ้าใช้สัญลักษณ์แสดงการกัดกร่อน ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายตกใจซึ่งใช้สำหรับการเกิดการ ระคายเคืองต่อผิวหนังหรือดวงตา;
  • ถ้าใช้สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพสำหรับความไวต่อระบบทางเดินหายใจ (respiratory sensitization) ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายตกใจซึ่งใช้สำหรับความไวต่อผิวหนังหรือสำหรับการ ระคายเคืองต่อผิวหนังหรือดวงตา
 ลำดับที่มาก่อนสำหรับการกำหนดคำสัญญาณ (Precedence for allocation of signal words) ถ้ามีการใช้คำสัญญาณคำว่า ‘Danger หรือ อันตราย’ ไม่จำเป็นต้องใช้คำสัญญาณคำว่า ‘Warning หรือ คำ เตือน’

ลำดับที่มาก่อนสำหรับการกำหนดข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Precedence for allocation of hazard statements) ควรแสดงข้อความเป็นอันตรายที่กำหนดไว้บนฉลาก พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกเพื่อระบุลำดับก่อนหลังที่ แสดงออกมา

การเตรียมการสำหรับนำเสนอองค์ประกอบฉลากตามระบบ GHS

ตำแหน่งของข้อมูลตามระบบ GHS บนฉลาก รูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายตามระบบ GHS คำสัญญาณและข้อความแสดงความเป็นอันตรายควรอยู่ ด้วยกันบนฉลาก พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะจัดให้มีแบบตามที่ได้มีการระบุสำหรับการนำเสนอและสำหรับการ นำเสนอข้อมูลที่เป็นคำเตือน (precautionary information) หรือให้ผู้จัดจำหน่ายใช้ดุลยพินิจเอง ข้อแนะนำและตัวอย่าง เฉพาะได้แสดงไว้ในบทต่าง ๆ ที่เป็นประเภทความเป็นอันตรายแต่ละประเภท

ข้อมูลเสริม (Supplemental information) พนักงานเจ้าหน้าที่มีดุลยพินิจในการอนุญาตให้ใช้ข้อมูลเสริมตามพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ใน 1.4.6.3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกในการระบุว่าข้อมูลดังกล่าวควรปรากฏอยู่ที่ใดบนฉลากหรือให้เป็นดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่าย ในทั้งสองกรณี ตำแหน่งของข้อมูลเสริมควรที่จะไม่ไปขัดขวางข้อมูลเฉพาะของผลิตภัณฑ์ตามระบบ GHS

การใช้สีภายนอกรูปสัญลักษณ์ (Use of colour outside pictograms) นอกจากที่ใช้ในรูปสัญลักษณ์ สีสามารถใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ของฉลากเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด พิเศษในการติดฉลาก เช่น การใช้สายคาดสำหรับยาปราบศัตรูพืช (pesticide bands) ในคู่มือการติดฉลากของ FAO (FAO Labelling Guide) สำหรับคำสัญญาณและข้อความแสดงความเป็นอันตรายหรือส่วนที่เป็นพื้นหลังของสิ่งดังกล่าว หรือถ้า ไม่ได้จัดหาไว้เป็นอย่างอื่นโดยพนักงานเจ้าหน้าที่

การเตรียมการพิเศษสำหรับการติดฉลาก (Special labelling arrangements) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะอนุญาตให้มีการสื่อสารข้อมูลความเป็นอันตรายบางชนิดสำหรับสารก่อ มะเร็ง (carcinogens) ความเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) และความเป็นพิษเกี่ยวกับระบบอวัยวะเป้าหมายที่ รับสัมผัสแบบซ้ำรอย (target organ systemic toxicity repeat exposure) บนฉลากและบนเอกสารความปลอดภัย หรือผ่าน ทาง SDS ทางเดียว (ดูบทเฉพาะสำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับค่าจุดตัด cut-offs สำหรับสารในประเภทเหล่านี้)

ในทำนองเดียวกัน สำหรับโลหะและโลหะผสม (alloys) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะอนุญาตให้มีการ สื่อสารข้อมูลความเป็นอันตรายผ่านทาง SDS เท่านั้น โดยสารเหล่านี้ได้มีการจัดจ่ายในรูปแบบที่มีปริมาณมาก ไม่มีการ กระจายตัว (non-dispersible)

การติดฉลากสถานประกอบการ (Workplace labelling) ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของ GHS ต้องมีการติดฉลากตามระบบ GHS ณ จุดซึ่งมีการจ่ายผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวในสถานประกอบการ และฉลากนั้นควรติดไว้บนภาชนะที่บรรจุในสถานประกอบการด้วย ควรใช้ฉลากตามระบบ GHS หรือ องค์ประกอบฉลากกับภาชนะบรรจุในสถานประกอบการ (workplace containers) อย่างไรก็ตาม พนักงาน เจ้าหน้าที่สามารถที่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้ทางเลือกในการที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับข้อมูลที่เหมือนกันในรูปแบบที่ แตกต่างออกไปได้ในรูปแบบที่เป็นตัวหนังสือหรือรูปภาพ (written or displayed format) ถ้ารูปแบบดังกล่าวเหมาะสม สำหรับสถานประกอบการและสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผลเช่นเดียวกับฉลากของระบบ GHS ตัวอย่างเช่น ข้อมูลฉลากสามารถแสดงในพื้นที่ทำงาน แทนที่จะแสดงเฉพาะภาชนะบรรจุใด ๆ เท่านั้น

วิธีที่เป็นทางเลือกในการให้ข้อมูลที่อยู่ในฉลากของระบบ GHS แก่ผู้ปฏิบัติงานโดยปกติจะนำไปใช้เมื่อ สารเคมีอันตรายถูกเปลี่ยนถ่ายจากภาชนะบรรจุของผู้จัดจำหน่ายไปยังภาชนะบรรจุหรือระบบในสถานประกอบการ หรือ เมื่อมีการผลิตสารเคมีในสถานประกอบการแต่ยังไม่ได้บรรจุในภาชนะบรรจุซึ่งใช้สำหรับจำหน่ายหรือนำไปใช้งาน สารเคมีที่ผลิตในสถานประกอบการอาจบรรจุหรือจัดเก็บได้หลายแบบ เช่น สารตัวอย่างขนาดเล็กที่ใช้สำหรับนำไป ทดสอบหรือวิเคราะห์ ระบบท่อทางที่ประกอบด้วยวาล์ว ภาชนะที่อยู่ในกระบวนการหรือถังปฏิกิริยา (reaction vessels) รถ สินแร่ (ore cars) ระบบสายพานลำเลียง (conveyer systems) หรือ ภาชนะจัดเก็บของแข็งขนาดใหญ่ที่ตั้งยืนได้เอง (freestanding bulk storage of solids) ในกระบวนการผลิตแบบกลุ่ม (In batch manufacturing processes) อาจใช้ถังผสมหนึ่งใบ เพื่อบรรจุของผสมเคมีที่หลากหลายแตกต่างกันไป

ในหลาย ๆ สถานการณ์ ในทางปฏิบัติไม่สามารถสร้างฉลากตามระบบ GHS ที่สมบูรณ์และติดไว้ที่บรรจุ ภัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจาก เช่น ข้อจำกัดทางด้านขนาดของภาชนะบรรจุ หรือไม่มีช่องทางเข้าสู่ภาชนะบรรจุที่อยู่ในกระบวนการ (lack of access to a process container) บางตัวอย่างของสถานการณ์ในสถานประกอบการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมี จากภาชนะบรรจุของผู้จัดจำหน่ายประกอบด้วย: ภาชนะบรรจุสำหรับการทดสอบหรือการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (laboratory testing or analysis) ถังจัดเก็บ (storage vessels) ท่อทางหรือกระบวนการในระบบทำปฏิกิริยา (piping or process reaction systems) หรือ ภาชนะบรรจุชั่วคราว (temporary containers) ซึ่งจะมีการใช้สารเคมีโดยผู้ปฏิบัติงานหนึ่งคนภายในระยะเวลาสั้น ๆ สารเคมีที่ต้องมีการถ่าย (decanted chemicals) เพื่อใช้งานโดยตรงสามารถติดฉลากด้วยองค์ประกอบหลัก (main components) และอ้างอิงให้ผู้ใช้ด้วยข้อมูลฉลากและเอกสารความปลอดภัยจากผู้จัดจำหน่ายได้โดยตรง

ต้องมั่นใจว่าทุกระบบดังที่กล่าวมามีการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการ ฝึกอบรมเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการสื่อสารเฉพาะที่ใช้ในสถานประกอบการ ตัวอย่างวิธีการทางเลือกประกอบด้วย: การใช้ตัว บ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (product identifiers) ร่วมกับสัญลักษณ์ตามระบบ GHS และรูปสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อระบุมาตรการในการ เตือน (precautionary measures); การใช้ผังการไหลของกระบวนการ (process flow charts) สำหรับระบบที่ซับซ้อนเพื่อบ่งชี้ สารเคมีที่อยู่ในท่อทางและถังบรรจุ (pipes and vessels) ด้วยการใช้เอกสารความปลอดภัยที่เหมาะสม; การใช้รูปภาพที่เป็น สัญลักษณ์ตามระบบ GHS สี และคำสัญญาณในระบบท่อทางต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่อยู่ในกระบวนการ; การใช้วิธีการปิดป้าย แบบถาวร (permanent placarding) สำหรับท่อทางที่เป็นแบบยึดติดตาย (fixed piping); การใช้ตั๋วหรือใบรับกลุ่ม (batch tickets or recipes) สำหรับติดฉลากบนถังผสม (mixing vessels) และการใช้แถบคาดท่อ (piping bands) ด้วยสัญลักษณ์ความ เป็นอันตรายและตัวชี้บ่งผลิตภัณฑ์

การติดฉลากผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคตามความน่าจะเป็นของการเกิดอุบัติเหตุ (Consumer product labelling based on the likelihood of injury) ทุกระบบควรใช้เกณฑ์ในการจำแนกประเภทตามระบบ GHS ซึ่งอ้างอิงตามความเป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่อาจอนุญาตให้ใช้ระบบการติดฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคที่จัดให้มีข้อมูลตามความน่าจะเป็นของ การเกิดอันตราย (การติดฉลากตามความเสี่ยง หรือ risk based labelling) ในกรณีหลัง พนักงานเจ้าหน้าที่จะจัดให้มี กระบวนการเพื่อการกำหนดโอกาสในการรับสัมผัสและการเกิดความเสี่ยง (potential exposure and risk) ในการใช้ ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ฉลากที่เป็นไปตามวิธีการนี้จัดให้มีข้อมูลเป้าหมาย (targeted information) เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ชี้บ่ง (identified risks) แต่อาจจะไม่รวมข้อมูลบางอย่างที่มีผลต่อสุขภาพแบบเรื้อรัง (chronic health effects) (เช่น (Target Organ Systemic Toxicity (TOST)) ตามการรับสัมผัสแบบซ้ำ (repeated exposure) เป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) และ การก่อมะเร็ง (carcinogenicity)) ซึ่งจะปรากฏบนฉลากที่มีเพียงความเป็นอันตรายเดียว

คำเตือนที่จับต้องได้ (Tactile warnings) ถ้ามีการใช้คำเตือนที่จับต้องได้ (tactile warnings) แบบรายละเอียดทางเทคนิค (technical specifications) ควรเป็นไปตาม EN ISO standard 11683 (1997 edition) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำเตือนอันตรายที่จับต้องได้

การจำแนกประเภทของสารอันตรายและของผสมอันตราย

การพัฒนาระบบ GHS เริ่มจากการทำงานในส่วนของเกณฑ์การจำแนกประเภทโดยคณะทำงานเฉพาะกิจ ขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลาก (OECD Task Force on HCL) ที่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและต่อสิ่งแวดล้อมและโดยคณะทำงานที่เกี่ยวกับเรื่องความเป็น อันตรายทางกายภาพภายใต้คณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าอันตรายของสภา เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติภาคพื้นยุโรปและองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (UNCETDG/ILO Working Group)

ประเภทความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและต่อสิ่งแวดล้อม: คณะทำงานเฉพาะกิจของ OECD ว่าด้วยการ ปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลาก (OECD Task Force on HCL)

  • งานของคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วย การปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากมี 3 ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังต่อไปนี้:
    • เปรียบเทียบระบบการจำแนกประเภทหลัก ๆ ระบุองค์ประกอบที่ตรงกันหรือคล้ายคลึงกัน และทำ ประชามติสำหรับองค์ประกอบที่แตกต่างกันเพื่อทำการปรับให้มีความสอดคล้องกัน;
    • ตรวจสอบพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเกณฑ์ที่กำหนดประเภทความเป็นอันตรายที่เกี่ยวข้อง (เช่น ความเป็นพิษเฉียบพลัน การก่อมะเร็ง) โดยการหาประชามติจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีการ ทดสอบ การตีความข้อมูลและระดับที่เกี่ยวข้อง และหลังจากนั้นทำการหาประชามติเกี่ยวกับเกณฑ์ สำหรับบางประเภทความเป็นอันตราย รูปแบบที่ใช้อยู่เดิมยังไม่มีเกณฑ์และเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้รับ การพัฒนาโดยคณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force);
    • หากมีการแสดงวิธีการตัดสินใจโดยใช้เหตุและผลหลายอย่างมารวมกัน (decision-tree approach) (เช่น การระคายเคือง) หรือหากมีเกณฑ์ที่ต้องพึ่งสิ่งอื่นในรูปแบบการจำแนกประเภท (ความเป็น พิษเฉียบพลันทางน้ำ) การใช้วิธีประชามติในกระบวนการหรือรูปแบบการใช้เกณฑ์
  •  คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการ พัฒนาเกณฑ์ในการจำแนกประเภท สำหรับประเภทความเป็นอันตรายได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้:
    •  ขั้นที่ 1: ทำการวิเคราะห์ระบบการจำแนกประเภทที่มีอยู่เดิมโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์สำหรับระบบและเกณฑ์ต่าง ๆ หลักการและเหตุผลตลอดจนคำอธิบายวิธีการใช้ เอกสารของขั้นที่ 1 นี้ได้จัดทำและแก้ไขปรับปรุงตามที่กำหนดหลังจากได้มีการอภิปรายกันโดย คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากสำหรับประเภท ดังต่อไปนี้: การระคายเคือง/ความเสียหายต่อดวงตา, การระคายเคือง/การกัดกร่อนต่อผิวหนัง, สาร ทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ (Sensitising Substances), กระบวนการก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ที่ มีฤทธิ์ต่อเซลสืบพันธุ์ได้ (Germ Cell Mutagenicity), ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive Toxicity), ความเป็นพิษต่ออวัยวะเป้าหมาย/ระบบทั่วร่างกายอย่างเฉพาะเจาะจง (Specific Target Organ/Systemic Toxicity), และสารเคมีผสม (Chemical Mixtures);
    •  ขั้นที่ 2: พัฒนาข้อเสนอสำหรับระบบการจำแนกประเภทให้เป็นระบบเดียวกัน และเกณฑ์สำหรับ แต่ละประเภทและกลุ่มความเป็นอันตราย เอกสารของขั้นที่ 2 นี้ได้จัดทำและแก้ไขปรับปรุงตามที่ กำหนดหลังจากได้มีการอภิปรายกันโดยคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วย การปรับการจำแนกประเภท และการติดฉลาก;
    • ขั้นที่ 3:
      •  คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วย การปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากทำประชามติใน ส่วนของข้อเสนอขั้นที่ 2; หรือ
      • ถ้าความพยายามในการทำประชามติล้มเหลว คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการ จำแนกประเภทและการติดฉลากจะระบุหัวข้อเฉพาะที่ “ไม่ผ่านประชามติ” ให้เป็นข้อเสนอ ที่ปรับปรุงแก้ไขในข้อเสนอขั้นที่ 2 เพื่อทำการอภิปรายและลงมติต่อไป
    •  ขั้นที่ 4: ข้อเสนอขั้นสุดท้ายนี้จะส่งให้ที่ประชุมร่วมองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนา เศรษฐกิจระหว่างคณะกรรมการด้านสารเคมีและคณะทำงานด้านสารเคมี ยาปราบศัตรูพืชและ เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้ความเห็นชอบและหลังจากนั้นจะส่งต่อไปยัง IOMC CG-HCCS เพื่อ นำไปผนวกอยู่ในเอกสาร GHS
คณะทำงาน UNCETDG/ILO ด้านความเป็นอันตรายทางกายภาพ

คณะทำงาน UNCETDG/ILO ด้านความเป็นอันตรายทางกายภาพใช้กระบวนการที่คล้ายคลึงกับที่ คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากใช้ งานที่ได้ดำเนินการได้แก่การเปรียบเทียบ ระบบการจำแนกประเภทหลัก ๆ การระบุองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกันและสำหรับองค์ประกอบที่ไม่ เหมือนกันได้มีการจัดทำประชามติเพื่อหาข้อตกลงร่วม อย่างไรก็ตาม สำหรับความเป็นอันตรายทางกายภาพ คำจำกัดความ ของการขนส่ง การทดสอบและเกณฑ์การจำแนกประเภทได้มีการนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการทำงานตั้งแต่สิ่งเหล่านี้ได้มีการ ทำให้เป็นระบบที่เป็นไปในแนวเดียวกันมากแล้ว การทำงานที่ดำเนินการผ่านการตรวจสอบพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับเกณฑ์ที่ได้รับประชามติในส่วนของวิธีการทดสอบ การตีความข้อมูล และเกณฑ์สำหรับประเภทความเป็นอันตราย ส่วนใหญ่ ระบบเดิมได้รับการพิจารณาว่าเหมาะสมและได้มีการใช้อยู่แล้วในภาคการขนส่ง ด้วยพื้นฐานดังกล่าว ส่วนหนึ่ง ของงานที่มุ่งเน้นไปในส่วนของสถานประกอบการ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้บริโภคได้มีการกล่าวถึงอย่าง เพียงพอแล้ว

ข้อพิจารณาทั่วไปเกี่ยวกับระบบ GHS

ขอบเขตของระบบ

  • ระบบ GHS นำไปใช้กับสารเคมีบริสุทธิ์ สารละลายเจือจางของสารเคมีบริสุทธิ์นั้นและใช้กับของผสม “สิ่งของ” ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการสื่อสารความเป็นอันตราย (Hazard Communication Standard) (29 CFR 1910.1200) ขององค์กรบริหารงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US Occupational Safety and Health Administration) หรือโดยคำจำกัดความที่คล้ายคลึงกันถือได้ว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตของระบบนี้
  • วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของระบบ GHS นี้คือทำให้ง่ายและชัดเจนกับการแยกแยะความแตกต่างที่เห็นเด่นชัด ระหว่างประเภท (class) และกลุ่ม (category) เพื่อเป็น “การจำแนกประเภทด้วยตัวเอง” ตราบเท่าที่สามารถทำได้ สำหรับ ประเภทความเป็นอันตรายหลายตัว เกณฑ์กึ่งเชิงปริมาณหรือกึ่งเชิงคุณภาพ (semi-quantitative or qualitative) และ จำเป็นต้องพึ่งการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะตีความข้อมูลสำหรับจุดประสงค์ในการจำแนกประเภท นอกจากนี้สำหรับ ความเป็นอันตรายบางประเภท (เช่น สารระคายเคืองต่อตา สารระเบิด หรือสารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง) ได้มีการจัดทำ กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม (decision tree approach) ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
หลักการหรือแนวคิดของ “การจำแนกประเภท”
  • ระบบ GHS ใช้คำว่า “การจำแนกประเภทความเป็นอันตราย” เพื่อระบุว่าเป็นคุณสมบัติอันตรายดั้งเดิมที่อยู่ กับสารหรือของผสมเท่านั้นที่นำมาพิจารณา
  • การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
    • ทำการพิสูจน์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอันตรายของสารหรือของผสม
    • ทำการทบทวนข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่าความเป็นอันตรายเกี่ยวเนื่องกับสารและของผสม ดังกล่าว และ
    • ทำการตัดสินใจว่าสารหรือของผสมดังกล่าวจะจำแนกเป็นสารหรือของผสมอันตราย และระดับ ความเป็นอันตราย ตามความเหมาะสม โดยทำการเปรียบเทียบข้อมูลกับเกณฑ์การจำแนกประเภท ความเป็นอันตรายที่ได้มีการตกลงไว้
  •  ตามที่ได้ระบุไว้ในคำอธิบายของ IOMC และคำอธิบายอื่นที่เป็นการคาดหวังถึงการนำระบบ GHS ไปใช้ ตามหัวข้อ จุดประสงค์ ขอบเขตและการนำไปใช้งาน (บทที่ 1.1 ย่อหน้า 1.1.2.4) ซึ่งรับรู้ว่าเมื่อสารเคมีได้มีการจำแนก โอกาสของการเกิดผลร้ายอาจพิจารณาในการตัดสินใจได้ว่าข้อมูลหรือขั้นตอนอื่นใดที่ควรนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์นั้นหรือ สภาพแวดล้อมในการใช้งานนั้น
เกณฑ์การจำแนกประเภท (Classification criteria)

เกณฑ์การจำแนกประเภทสำหรับสารและสารผสมได้แสดงไว้ในภาคที่ 2 และ 3 ในคู่มือนี้ซึ่งในแต่ละข้อ ของประเภทความเป็นอันตรายเฉพาะหรือกลุ่มของประเภทความเป็นอันตรายที่สัมพันธ์กัน กระบวนการที่แนะนำในการ จำแนกประเภทความเป็นอันตรายของของผสมเป็นไปตามลำดับดังต่อไปนี้:

  • หากมีข้อมูลผลการทดสอบของของผสมที่สมบูรณ์ การจำแนกประเภทของผสมจะถือเป็นไปตาม ข้อมูลนั้นเสมอ;
  • หากไม่มีข้อมูลผลการทดสอบของของผสม ให้พิจารณาใช้หลักการเชื่อมโยง (bridging principles) ที่รวมและอธิบายอยู่ในแต่ละบทเฉพาะเพื่อดูว่าได้อนุญาตให้ทำการจำแนกประเภทของของผสม หรือไม่;
นอกจากนี้ สำหรับประเภทความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

  • หาก (i) ไม่มีข้อมูลผลการทดสอบในสำหรับของผสม และ (ii) มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสามารถใช้ หลักการเชื่อมโยง (bridging principles) ให้ใช้วิธีการที่ยอมรับกันตามที่ได้อธิบายไว้ในแต่ละบท เพื่อคาดคะเนความเป็นอันตรายโดยอาศัยข้อมูลที่ทราบเพื่อทำการจำแนกของผสมดังกล่าว
 ข้อมูลที่มี วิธีการทดสอบและคุณภาพของผลข้อมูลการทดสอบ (Available data, test methods and test data quality)

  •  ระบบ GHS เองไม่ได้รวมข้อกำหนดสำหรับการทดสอบสารหรือของผสมเอาไว้ ดังนั้นจึงไม่มีข้อกำหนด ภายใต้ระบบ GHS เพื่อทำการให้ได้มาซึ่งข้อมูลการทดสอบสำหรับประเภทความเป็นอันตรายใด ๆ เป็นที่ทราบกันว่าระบบ กฎระเบียบบางส่วนได้กำหนดให้มีข้อมูลที่ผลิตขึ้นมา (เช่น ยาปราบศัตรูพืช) แต่ข้อกำหนดเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับระบบ GHS เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมาสำหรับการจำแนกประเภทของผสมจะอนุญาตให้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หรือที่หาได้ของของ ผสมเองและ/หรือของผสมที่เหมือนกัน และ/หรือข้อมูลของส่วนประกอบของของผสมนั้น
  •  การจำแนกประเภทสารและของผสมเคมีขึ้นอยู่กับทั้งเกณฑ์และความน่าเชื่อถือของวิธีการทดสอบที่เป็นตัว รองรับให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว ในบางกรณีการจำแนกประเภทกำหนดโดยผลการทดสอบเฉพาะว่าผ่านหรือไม่ผ่าน (เช่น การทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่าย (ready biodegradation test) ของสารหรือองค์ประกอบของของผสม) ในขณะที่ในกรณีอื่น ทำการตีความหมายจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและการตอบสนอง (dose/response curves) และ การสังเกตการณ์ในระหว่างการทดสอบ ในทุก ๆ กรณี จำเป็นที่จะต้องให้เงื่อนไขการทดสอบเป็นมาตรฐานเพื่อว่าจะทำ ให้ผลการทดสอบสารเคมีตัวอื่น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานและให้ค่าที่ “ถูกต้อง” สำหรับการกำหนดประเภทความเป็น อันตรายที่เกี่ยวข้อง ในความหมายนี้ การทำให้ถูกต้อง (validation) เป็นกระบวนที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและความ เกี่ยวข้องของกระบวนการได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ
  •  การทดสอบที่กำหนดสมบัติอันตรายที่ทำตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันระหว่างประเทศ สามารถใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ของการกำหนดความเป็นอันตรายในส่วนของความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ของ GHS ในการกำหนดความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการทดสอบที่เป็นกลาง (test method neutral) ซึ่งอนุญาตให้ใช้วิธีการที่แตกต่างกันได้ตราบเท่าที่วิธีการเหล่านั้นถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เป็นไป ตามกระบวนการและเกณฑ์ระหว่างประเทศที่ได้อ้างถึงไว้ในระบบเดิมสำหรับความเป็นอันตรายที่เกี่ยวข้องและให้ข้อมูลที่ ยอมรับได้ร่วมกัน วิธีการทดสอบเพื่อกำหนดความเป็นอันตรายทางกายภาพโดยทั่วไปมีความชัดเจนกว่าและได้ระบุไว้ใน คู่มือ GHS
  •  สารเคมีที่ได้ทำการจำแนกก่อนหน้านี้ (Previously classified chemicals) หนึ่งในบรรดาหลักการทั่ว ๆ ไปที่สร้างโดย IOMC-CG-HCCS ระบุว่าข้อมูลการทดสอบที่ได้ทำการสร้าง ขึ้นมาแล้วสำหรับการจำแนกประเภทสารเคมีภายใต้ระบบที่ใช้อยู่เดิมสามารถยอมรับได้เมื่อการจำแนกสารเคมีเหล่านี้ ภายใต้ระบบที่เป็นแบบเดียวกัน (harmonized system) เพื่อลดการทดสอบที่ซ้ำซ้อนและการใช้สัตว์ทดลองที่เกินความ จำเป็น นโยบายดังกล่าวมีนัยสำคัญในกรณีต่าง ๆ ซึ่งเกณฑ์ในระบบ GHS อาจแตกต่างจากระบบเดิม ในบางกรณี อาจเป็น การยากที่จะทำการกำหนดคุณภาพของข้อมูลเดิมจากการศึกษาที่เก่ากว่า ในกรณีดังกล่าว การตัดสินจากผู้เชี่ยวชาญอาจมี ความจำเป็น
  •  สาร/ของผสมที่แสดงปัญหาพิเศษ (Mixtures posing special problems) ผลของสารหรือของผสมที่มีต่อระบบทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมได้รับอิทธิพล (ในบรรดาปัจจัยอื่น ๆ ) จาก สมบัติทางเคมีกายภาพ (physico chemical properties) ของสารหรือของผสมและ/หรือส่วนประกอบของของผสมนั้น และ ลักษณะทางชีวภาพที่สารที่เป็นส่วนผสมมีอยู่ สารบางกลุ่มอาจแสดงปัญหาพิเศษในลักษณะนี้ ตัวอย่างเช่น โพลิเมอร์และ โลหะบางชนิด สารและของผสมไม่จำเป็นต้องทำการจำแนกหากสามารถแสดงข้อมูลจากการทดลองจากวิธีการทดลองที่ ยอมรับระหว่างประเทศซึ่งสารหรือของผสมนั้นไม่สามารถหาข้อมูลทางชีวภาพได้ ในลักษณะเดียวกันข้อมูลความสามารถ ทางชีวภาพของส่วนประกอบของของผสมสามารถนำมาใช้ได้ตามความเหมาะสมโดยเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับเกณฑ์ ในการจำแนกประเภทที่เป็นรูปแบบเดียวกันเมื่อทำการจำแนกประเภทของผสม
  •  ความปลอดภัยและการดูแลสัตว์ทดลอง (Animal welfare) ความปลอดภัยและการดูแลสัตว์ทดลองต้องให้ความสนใจและห่วงใย ความห่วงใยทางจริยธรรมดังกล่าว รวมถึงไม่เพียงแต่การลดความเครียดและความทรมาน แต่ในบางประเทศ ยังรวมถึงวิธีการใช้และปริมาณการใช้สัตว์ทดลองด้วย หากเป็นไปได้และมีความเหมาะสม การทดสอบและการทดลองที่ไม่จำเป็นต้องใช้สัตว์มีชีวิตเป็นสิ่งที่อยากให้เกิด ขึ้นกับการใช้สัตว์เป็น ๆ ทดสอบการรับความรู้สึก เพื่อให้จบลงสำหรับความเป็นอันตรายบางประเภท (การระคายเคือง/กัด กร่อนต่อผิวหนังและตา หรือความเสียหายอย่างรุนแรง) รูปแบบการทดสอบเริ่มจากการสังเกตุการณ์/การตรวจวัดจากสิ่งที่ ไม่ใช่สัตว์ได้ถูกรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจำแนกประเภท สำหรับความเป็นอันตรายอื่น ๆ เช่น ความเป็นพิษ เฉียบพลัน การทดสอบสัตว์โดยวิธีทางเลือกอื่น (alternative animal tests) โดยใช้สัตว์น้อยตัวกว่า หรือทำให้เกิดการทรมาน น้อยลงเป็นวิธีการที่ยอมรับกันระหว่างประเทศและควรนำมาใช้มากกว่าวิธีการทดสอบ LD50 แบบดั้งเดิม
  •  หลักฐานจากมนุษย์ (Evidence from humans) เพื่อจุดประสงค์ของการจำแนกประเภท ควรนำข้อมูลด้านระบาดวิทยาที่เชื่อถือได้และประสบการณ์จากผล ของสารเคมีที่มีต่อมนุษย์ (เช่น ข้อมูลด้านอาชีวอนามัย ข้อมูลจากฐานข้อมูลอุบัติเหตุ) มาพิจารณาในการประเมินความเป็น อันตรายของสารเคมีต่อสุขภาพมนุษย์ การทดสอบเฉพาะแต่กับมนุษย์เพื่อจุดประสงค์ในการระบุความเป็นอันตราย โดยทั่วไปไม่สามารถยอมรับได้
  •  การตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ (Expert judgment) วิธีการจำแนกประเภทของผสมประกอบด้วยการนำการติดสินของผู้เชี่ยวชาญในหลายแขนงมาใช้เพื่อให้ มั่นใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เดิมสามารถนำมาใช้สำหรับของผสมให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้เพื่อปกป้องสุขภาพมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม การตัดสินของผู้เชี่ยวชาญอาจจำเป็นต้องใช้ในการตีความข้อมูลสำหรับการจำแนกความเป็นอันตรายของสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำเป็นต้องตัดสินจากน้ำหนักของหลักฐานที่มีอยู่ (weight of evidence determinations)
  •  น้ำหนักของหลักฐาน (Weight of evidence)
    •  สำหรับความเป็นอันตรายบางประเภท การจำแนกประเภทจะให้ผลลัพธ์ออกมาโดยตรงเมื่อข้อมูลเป็นไป ตามเกณฑ์ สำหรับประเภทที่เหลืออื่นๆ การจำแนกประเภทของสารหรือของผสมดำเนินการโดยพื้นฐานของน้ำหนักของ หลักฐานโดยรวม (total weight of evidence) นั่นหมายถึงว่าต้องนำข้อมูลที่หาได้ซึ่งอยู่บนพื้นฐานการกำหนดความเป็นพิษ มาพิจารณาร่วมโดยรวมถึงผลจากการทดสอบในหลอดทดลองที่ถูกต้อง ข้อมูลจากสัตว์ที่เกี่ยวข้องและประสบการณ์มนุษย์ เช่นการศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยาและการศึกษาทางคลีนิค (epidemiological and clinical studies) และรายงานและ ข้อสังเกตที่มีการจัดทำเป็นรายงานที่มีเนื้อหาสาระเป็นอย่างดี
    •  คุณภาพและความสม่ำเสมอของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ควรรวมการประเมินสารหรือของผสมที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุที่กำลังทำการจำแนกและควรบอกสถานที่การดำเนินการและกลไกหรือวิธีการดำเนินการในผล ควรรวบรวมผลทั้งเชิง บวกและเชิงลบรวมในการตัดสินจากเหตุการณ์ที่ทำครั้งเดียว (single weight of evidence determination)
    •  ผลเชิงบวกที่ตรงตามเกณฑ์ในการจำแนกประเภทในแต่ละบทนี้ ทั้งที่พบเห็นในมนุษย์หรือสัตว์ โดยทั่วไป จะสนับสนุนได้ว่าเป็นการจำแนกประเภท หากมีหลักฐานจากทั้งสองแหล่งและมีข้อขัดแย้งระหว่างการประเมิน ต้องนำ คุณภาพและความน่าเชื่อถือของหลักฐานจากทั้งสองแหล่งมาประเมินเพื่อหามติที่ยังเป็นคำถามในการจำแนกประเภท โดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลที่มีคุณภาพดีและน่าเชื่อถือจากการทดลองในมนุษย์จะมีลำดับเหนือกว่าข้อมูลอื่น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยาที่มีการออกแบบและดำเนินการมาอย่างดีอาจมีเนื้อหาที่ไม่เพียงพอในการตรวจสอบ แต่ยังคงมีผลที่สำคัญ หรือในการประเมินปัจจัยที่ยังสับสนอยู่ ผลเชิงบวกจากการศึกษาที่ทำอย่างดีจากสัตว์ไม่จำเป็นต้องละ ทิ้งจากการที่ขาดข้อมูลประสบการณ์มนุษย์ แต่ต้องการการประเมินที่มั่นคงและมีคุณภาพของทั้งข้อมูลจากมนุษย์และสัตว์ที่ สัมพันธ์กับความถี่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของเหตุการณ์ของผลและผลกระทบของปัจจัยที่ยังสับสนอยู่
    • ทางรับสัมผัส (Route of exposure) ข้อมูลด้านกลไก (mechanistic information) และการศึกษาการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสาร (metabolism studies) เกี่ยวข้องกับกำหนดความสัมพันธ์ของผลที่มีต่อมนุษย์ เมื่อได้มีการ ยกประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวที่ยังเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับมนุษย์ อาจยืนยันการจำแนกประเภทที่ต่ำกว่า หากยังไม่ชัดเจนว่ากลไกหรือวิธีการดำเนินงานไม่ตรงกับมนุษย์ ไม่ควรทำการจำแนกประเภทสารหรือของผสม
    •  รวมผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบเข้าด้วยกันในการให้น้ำหนักเพื่อประเมินหลักฐาน (weight of evidence determination) อย่างไรก็ตามการศึกษาและมีผลเชิงบวกครั้งเดียวที่กระทำตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีและมีผลทาง สถิติและทางชีววิทยาที่ให้ผลดีในเชิงบวกอาจนำไปสู่การตัดสินในการจำแนกประเภท
ข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับการจำแนกประเภทของผสม (Specific considerations for the classification of mixtures)

คำจำกัดความ

  • เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัดเกี่ยวกับข้อกำหนดในการจำแนกประเภทของผสม จึงจำเป็นต้องมีคำ จำกัดความสำหรับบางคำ คำจำกัดความดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการประเมินหรือกำหนดความเป็นอันตรายของ ผลิตภัณฑ์สำหรับการจำแนกประเภทและการติดฉลาก และไม่ได้ทำเพื่อให้นำไปใช้ในสถานการณ์อย่างอื่น เช่น การ รายงานคงคลัง (inventory reporting) จุดประสงค์ของคำจำกัดความตามที่ได้ระบุไว้คือเพื่อให้มั่นใจว่า (a) ทุกผลิตภัณฑ์ ภายใต้ขอบเขตของ GHS ได้มีการประเมินเพื่อกำหนดความเป็นอันตรายและถัดจากนั้นได้มีการจำแนกตามเกณฑ์ของ GHS ตามความเหมาะสม; และ (b) การประเมินกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจริง เช่น กับผลิตภัณฑ์ที่เสถียร (stable product) ถ้า เกิดปฏิกิริยาขึ้นในระหว่างการผลิตและเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา ต้องทำการประเมินความเป็นอันตรายและจำแนก ประเภทใหม่โดยการใช้ GHS กับผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว
  • ได้มีการยอมรับคำจำกัดความการทำงาน (working definitions) สำหรับคำต่อไปนี้ สาร (substance) ของ ผสม (mixture) โลหะผสม (alloy) (ดูบทที่ 1.2 สำหรับคำจำกัดความและคำย่ออื่น ๆ ที่ใช้ในระบบ GHS)
    • สาร (Substance): องค์ประกอบและส่วนประกอบทางเคมีในสภาพธรรมชาติหรือได้จากกระบวนการผลิต รวมถึงสารปรุงแต่งที่จำเป็นในการรักษาความเสถียรของผลิตภัณฑ์และสิ่งเจือปนใด ๆ ที่ได้จากกระบวนการที่ใช้ แต่ไม่ รวมถึงสารละลายที่อาจแยกตัวโดยปราศจากผลที่มีต่อความเสถียรของสารหรือการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบ
    • ของผสม (Mixture): สารผสมหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารสองตัวหรือมากกว่า โดยที่ไม่เกิดปฏิกิริยา ซึ่งกันและกัน
    • โลหะผสม (Alloy): วัสดุโลหะ เป็นเนื้อเดียวกันในระดับที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า )macroscopic scale ( ประกอบด้วยแร่ธาตุสองชนิดหรือมากกว่าประกอบกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันโดยทางกลได้ง่าย โลหะผสมพิจารณา ได้ว่าเป็นสารผสมสำหรับจุดประสงค์ของการจำแนกประเภทภายใต้ GHS
  •  ควรใช้คำจำกัดความเหล่านี้เพื่อให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันเมื่อทำการจำแนกประเภทสารและของผสมใน ระบบ GHS ให้สังเกตด้วยว่าเมื่อระบุคำว่า สิ่งสกปรก (impurities) สารปรุงแต่ง (additives) หรือ องค์ประกอบเฉพาะของ สารหรือสารผสม และมีการจำแนกในสิ่งเหล่านี้ ควรมีการพิจารณาในระหว่างการจำแนกประเภทเมื่อสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมีค่า เกินกว่าค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้น (cut-off value/concentration limit) สำหรับประเภทความเป็นอันตรายที่กำหนด
  •  ในทางปฏิบัติควรตระหนักว่าสารบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับก๊าซในบรรยากาศ (atmospheric gases) ได้ อย่างช้า ๆ เช่น ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ (water vapour) เพื่อก่อให้เกิดสารชนิดใหม่ หรือสารเหล่านั้นอาจทำ ปฏิกิริยากับสารประกอบอื่น ๆ ของของผสม (ingredient substances of a mixture) ได้ช้ามาก ๆ เพื่อก่อให้เกิดสารชนิดใหม่ หรือสารเหล่านั้นอาจรวมตัวระดับโมเลกุลได้เอง (self-polymerise) เพื่อก่อให้เกิดสารใหม่เป็นโอลิโกเมอร์ (oligomers) หรือโพลิเมอร์ (polymers) อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาว่าความเข้มข้นของสารใหม่ที่เปลี่ยนรูปไปซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาต่ำ จนกระทั่งสารเหล่านั้นไม่มีผลต่อการจำแนกความเป็นอันตรายของของผสม
 การใช้ค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้น (The Use of cut-off values/Concentration limits 

  •  เมื่อทำการจำแนกของผสมที่ยังไม่ได้ทำการทดสอบตามความเป็นอันตรายของส่วนผสม ให้ใช้ค่าจุดตัด/ค่า ขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไป (generic cut-off values/concentration limits) สำหรับส่วนผสมที่ได้รับการจำแนก (classified ingredients) ของของผสมสำหรับความเป็นอันตรายได้หลายประเภทตามระบบ GHS ถึงแม้ว่าได้มีการระบุค่าจุดตัด/ค่า ขีดจำกัดความเข้มข้นที่เพียงพอสำหรับของผสม อาจยังมีส่วนผสมบางอย่างที่ประกอบด้วยส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่ำกว่า ค่าความเข้มข้นต่ำกว่าค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นที่กำหนดซึ่งตกลงกันในระบบ GHS โดยที่ค่าดังกล่าวยังคงแสดง ความเป็นอันตรายที่ระบุได้ (identifiable hazard) นอกจากนี้อาจมีกรณีที่ค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นที่กำหนดซึ่งตกลง กันในระบ GHS ซึ่งพิจารณาได้ว่าต่ำกว่าที่คาดหวังไว้บนพื้นฐานของระดับที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับส่วนผสม
  • โดยทั่วไปแล้วค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไป (generic cut-off values/concentration limits) ที่ นำมาใช้ในระบบ GHS ควรใช้ให้เป็นแบบอย่างเดียวกันในทุกการตัดสินใจและสำหรับทุกภาคที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ถ้า ผู้ทำการจำแนกมีข้อมูลที่เป็นหลักฐานว่าส่วนผสมมีความเป็นอันตรายแต่อยู่ต่ำกว่าค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไป ของผสมที่ประกอบด้วยส่วนผสมดังกล่าวควรได้รับการจำแนกให้เป็นไปตามนั้น
  • ในกรณีที่ข้อมูลสรุปอาจแสดงว่าความเป็นอันตรายของส่วนผสมจะไม่ชัดเจนเมื่อแสดงที่ระดับเหนือกว่าค่า ค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไปตามระบบ GHS ในกรณีดังกล่าว สามารถทำการจำแนกของผสมตามข้อมูลเหล่านั้น ข้อมูลดังกล่าวไม่รวมถึงความเป็นไปได้ที่ส่วนผสมอาจมีพฤติกรรมกับของผสมในลักษณะที่จะไปเพิ่มความเป็นอันตราย เหนือกว่าค่าของสารบริสุทธิ์ (pure substance) นอกจากนี้ ของผสมไม่ควรประกอบด้วยส่วนผสมที่จะมีผลกระทบต่อการ ประเมิน
  • ควรเก็บเอกสารที่สนับสนุนการนำค่าใด ๆ มาใช้ที่พอเพียง ที่นอกเหนือจากค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความ เข้มข้นทั่วไปและมีให้ตรวจสอบได้ในกรณีที่มีการร้องขอ
การเกิดผลเสริมฤทธิ์หรือการต้านฤทธิ์ (Synergistic or antagonistic effects)

เมื่อทำการประเมินตามข้อกำหนดของ GHS ผู้ประเมินต้องพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดเกี่ยวกับ โอกาสการเกิดผลเสริมฤทธิ์ (synergistic effects) กับส่วนผสมของของผสม การลดกลุ่มความเป็นอันตรายของการจำแนก ประเภทบนพื้นฐานของผลการต้านฤทธิ์ (antagonistic effects) อาจกระทำได้ถ้าหากว่าการกำหนดมีการสนับสนุนโดย ข้อมูลที่เพียงพอ
 
Copyright Globally Harmonized System All Rights Reserved