วัตถุประสงค์ ขอบเขต และการนำไปใช้งาน (Objectives, scope and application)
ทางเลือกสำหรับการใช้ข้อมูลที่เป็นอักษรแสดงความท้าทายเพิ่มเติมสำหรับการทำความเข้าใจ จำเป็นต้อง รักษาคำและวลีที่ชัดเจนให้ง่ายต่อการเข้าใจเมื่อมีการแปล ในขณะเดียวกันก็ให้ความหมายที่เหมือนกัน IPCS Chemical Safety Card Programme ได้มีประสบการณ์ในการแปลวลีมาตรฐานไปเป็นหลากหลายภาษา EU มีประสบการณ์ในการแปล คำศัพท์เพื่อให้มั่นใจว่าได้สื่อสารข้อมูลเดียวกันในหลายภาษา เช่นคำว่า ความเป็นอันตราย (hazard) ความเสี่ยง (risk) เป็น ต้น ประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้จากอเมริกาเหนือเกี่ยวกับคู่มือการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของอเมริกาเหนือ (North American Emergency Response Guidebook) ซึ่งได้มีการแปลไว้ในหลายภาษาแล้ว
การทำให้เป็นระบบมาตรฐาน (Standardization)
สำหรับตัวฉลาก สัญลักษณ์ความเป็นอันตราย คำสัญญาณ (signal words) และข้อความบอกความเป็น อันตราย (hazard statements) ทุกส่วนดังกล่าวนี้ได้มีการทำให้เป็นมาตรฐานและกำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตราย (hazard categories) ไม่ควรทำการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบที่เป็นมาตรฐานเหล่านี้ และควรปรากฏอยู่บนฉลากตามระบบ GHS ตามที่ได้ระบุไว้ในบทต่าง ๆ ของแต่ละประเภทความเป็นอันตรายในเอกสารนี้ สำหรับเอกสารความปลอดภัย ได้จัด ให้มีรูปแบบมาตรฐานไว้ในบทที่ 1.5 การสื่อสารความเป็นอันตราย (Hazard Communication: Safety Data Sheets) เพื่อ นำเสนอข้อมูล ถึงเม้ว่าข้อมูลคำเตือนได้มีการพิจาณาให้เป็นระบบมาตรฐาน แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านเวลาจึงไม่ สามารถพัฒนาข้อเสนอในรายละเอียดได้ทัน อย่างไรก็ตาม ได้มีการจัดทำตัวอย่างคำเตือน (precautionary statements) และ รูปสัญลักษณ์ (pictograms) ไว้ในภาคผนวก 3 และยังคงเป็นเป้าหมายในการพัฒนาองค์ประกอบฉลากให้เป็นมาตรฐาน อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
การใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นมาตรฐานหรือข้อมูลเสริม (Use of non-standardized or supplemental information)
การฝึกอบรม (Training)
การฝึกอบรมผู้ใช้เกี่ยวกับข้อมูลความเป็นอันตรายเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารความเป็นอันตราย (hazard communication) ระบบต่าง ๆ ควรมีการระบุการฝึกอบรมและการให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ GHS ซึ่งจำเป็นต้องทราบความหมายของฉลากและ/หรือเอกสารความปลอดภัยและดำเนินการที่เหมาะสมในการตอบโต้ความ เป็นอันตรายจากสารเคมีนั้น ๆ ข้อกำหนดในการฝึกอบรมควรเหมาะสมและเพียงพอกับลักษณะของงานหรือการรับสัมผัส กลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลักในการฝึกอบรมประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงาน ผู้ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมฉลาก เอกสารความปลอดภัยและกลยุทธ์การสื่อสารความเป็นอันตรายที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารความเสี่ยง (risk management systems) บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการขนส่งและจัดเตรียมสารเคมีอันตรายก็กำหนดให้มีการฝึกอบรมไปตาม ระดับที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ระบบควรมีการพิจารณากลยุทธ์ที่กำหนดให้มีการให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคในการ ตีความข้อมูลจากฉลากที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ใช้
ขั้นตอนการติดฉลาก (Labelling procedures)
ขอบเขต (Scope)
ต่อไปนี้เป็นการอธิบายกระบวนการในการจัดเตรียมฉลากในระบบ GHS ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้:
ตารางที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดองค์ประกอบของฉลาก (สัญลักษณ์, คำสัญญาณ, ข้อความบอกความเป็นอันตราย) ซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตรายของระบบ GHS กลุ่มความเป็นอันตราย (hazard categories) สะท้อนถึงเกณฑ์การจำแนกประเภทที่ทำให้เป็นระบบเดียวกัน
การจัดทำสัญลักษณ์ใหม่ (Reproduction of the symbol)
สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายต่อไปนี้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานที่ควรนำไปใช้ในระบบ GHS หากไม่นับ รวมถึงสัญลักษณ์ใหม่ที่ทำขึ้นมาใช้สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลากับต้นไม้ (fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกล่าวได้มีการนำมาใช้ในข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็น ต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายอยู่แล้ว
รูปสัญลักษณ์และการจัดทำรูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายขึ้นมาใหม่ (Pictograms and reproduction of the hazard pictograms)
รูปสัญลักษณ์ หมายถีง ข้อมูลเชิงภาพที่อาจประกอบด้วยสัญลักษณ์ร่วมกับองค์ประกอบที่เป็นกราฟฟิคอื่นๆ เช่น ขอบ รูปแบบพื้นหลัง หรือสี ซึ่งทั้งหมดใช้เพื่อสื่อข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับสารอันตราย
รูปร่างและสี (Shape and colour)
ข้อมูลที่กำหนดให้มีบนฉลากตามระบบ GHS
คำสัญญาณ (Signal words)
คำสัญญาณ หมายถึง คำที่ใช้เพื่อกำหนดระดับความสัมพันธ์ของความรุนแรงของอันตรายและเตือนผู้อ่านถึง โอกาสในการเกิดอันตรายซึ่งแสดงอยู่บนฉลาก ระบบ GHS ใช้คำว่า ‘Danger หรือ อันตราย’ และ ‘Warning หรือ คำเตือน’ เป็นคำสัญญาณ คำว่า “Danger หรือ อันตราย” ใช้สำหรับกลุ่มความเป็นอันตรายที่รุนแรงกว่า (ได้แก่ กลุ่มในความเป็น อันตรายหลักกลุ่ม 1 และ 2) ในขณะที่คำว่า “Warning หรือ คำเตือน” ใช้สำหรับความรุนแรงที่ต่ำกว่า ตารางที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดคำสัญญาณซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตราย ของระบบ GHS
การเตรียมการต่อไปนี้ใช้เมื่อสารหรือของผสมแสดงความเป็นอันตรายที่มากกว่าหนึ่งอันตรายตามระบบ GHS โดยปฏิบัติอย่างไม่มีอคติตามหลักการต่อตัวบล็อก (building block principle) ตามที่อธิบายไว้ใน จุดประสงค์ ขอบเขต และการนำไปใช้งาน (Purpose, Scope and Application) (บทที่ 1.1) ดังนั้นหากระบบไม่ได้จัดให้มีข้อมูลบนฉลากสำหรับ ความเป็นอันตรายเฉพาะ ดังนั้น เมื่อระบบไม่ได้จัดให้มีข้อมูลบนฉลากสำหรับความเป็นอันตรายเฉพาะนั้น จึงควรมีการนำ การเตรียมการมาดัดแปลงเพื่อประยุกต์ใช้
ลำดับที่มาก่อนสำหรับการกำหนดสัญลักษณ์ (Precedence for the allocation of symbols)
สำหรับสารและสิ่งของที่ครอบคลุมโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า อันตราย, ลำดับที่มาก่อนของสัญลักษณ์สำหรับความเป็นอันตรายทางกายภาพควรเป็นไปตามกฎของ UN Model Regulations ในสถานประกอบการ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจกำหนดให้มีสัญลักษณ์ทั้งหมดสำหรับความเป็นอันตรายทาง กายภาพที่จะใช้ สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้หลักการของลำดับที่มาก่อนดังต่อไปนี้:
ลำดับที่มาก่อนสำหรับการกำหนดข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Precedence for allocation of hazard statements) ควรแสดงข้อความเป็นอันตรายที่กำหนดไว้บนฉลาก พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกเพื่อระบุลำดับก่อนหลังที่ แสดงออกมา
การเตรียมการสำหรับนำเสนอองค์ประกอบฉลากตามระบบ GHS
ตำแหน่งของข้อมูลตามระบบ GHS บนฉลาก รูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายตามระบบ GHS คำสัญญาณและข้อความแสดงความเป็นอันตรายควรอยู่ ด้วยกันบนฉลาก พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะจัดให้มีแบบตามที่ได้มีการระบุสำหรับการนำเสนอและสำหรับการ นำเสนอข้อมูลที่เป็นคำเตือน (precautionary information) หรือให้ผู้จัดจำหน่ายใช้ดุลยพินิจเอง ข้อแนะนำและตัวอย่าง เฉพาะได้แสดงไว้ในบทต่าง ๆ ที่เป็นประเภทความเป็นอันตรายแต่ละประเภท
ข้อมูลเสริม (Supplemental information) พนักงานเจ้าหน้าที่มีดุลยพินิจในการอนุญาตให้ใช้ข้อมูลเสริมตามพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ใน 1.4.6.3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกในการระบุว่าข้อมูลดังกล่าวควรปรากฏอยู่ที่ใดบนฉลากหรือให้เป็นดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่าย ในทั้งสองกรณี ตำแหน่งของข้อมูลเสริมควรที่จะไม่ไปขัดขวางข้อมูลเฉพาะของผลิตภัณฑ์ตามระบบ GHS
การใช้สีภายนอกรูปสัญลักษณ์ (Use of colour outside pictograms) นอกจากที่ใช้ในรูปสัญลักษณ์ สีสามารถใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ของฉลากเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด พิเศษในการติดฉลาก เช่น การใช้สายคาดสำหรับยาปราบศัตรูพืช (pesticide bands) ในคู่มือการติดฉลากของ FAO (FAO Labelling Guide) สำหรับคำสัญญาณและข้อความแสดงความเป็นอันตรายหรือส่วนที่เป็นพื้นหลังของสิ่งดังกล่าว หรือถ้า ไม่ได้จัดหาไว้เป็นอย่างอื่นโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
การเตรียมการพิเศษสำหรับการติดฉลาก (Special labelling arrangements) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะอนุญาตให้มีการสื่อสารข้อมูลความเป็นอันตรายบางชนิดสำหรับสารก่อ มะเร็ง (carcinogens) ความเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) และความเป็นพิษเกี่ยวกับระบบอวัยวะเป้าหมายที่ รับสัมผัสแบบซ้ำรอย (target organ systemic toxicity repeat exposure) บนฉลากและบนเอกสารความปลอดภัย หรือผ่าน ทาง SDS ทางเดียว (ดูบทเฉพาะสำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับค่าจุดตัด cut-offs สำหรับสารในประเภทเหล่านี้)
ในทำนองเดียวกัน สำหรับโลหะและโลหะผสม (alloys) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะอนุญาตให้มีการ สื่อสารข้อมูลความเป็นอันตรายผ่านทาง SDS เท่านั้น โดยสารเหล่านี้ได้มีการจัดจ่ายในรูปแบบที่มีปริมาณมาก ไม่มีการ กระจายตัว (non-dispersible)
การติดฉลากสถานประกอบการ (Workplace labelling) ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของ GHS ต้องมีการติดฉลากตามระบบ GHS ณ จุดซึ่งมีการจ่ายผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวในสถานประกอบการ และฉลากนั้นควรติดไว้บนภาชนะที่บรรจุในสถานประกอบการด้วย ควรใช้ฉลากตามระบบ GHS หรือ องค์ประกอบฉลากกับภาชนะบรรจุในสถานประกอบการ (workplace containers) อย่างไรก็ตาม พนักงาน เจ้าหน้าที่สามารถที่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้ทางเลือกในการที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับข้อมูลที่เหมือนกันในรูปแบบที่ แตกต่างออกไปได้ในรูปแบบที่เป็นตัวหนังสือหรือรูปภาพ (written or displayed format) ถ้ารูปแบบดังกล่าวเหมาะสม สำหรับสถานประกอบการและสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผลเช่นเดียวกับฉลากของระบบ GHS ตัวอย่างเช่น ข้อมูลฉลากสามารถแสดงในพื้นที่ทำงาน แทนที่จะแสดงเฉพาะภาชนะบรรจุใด ๆ เท่านั้น
วิธีที่เป็นทางเลือกในการให้ข้อมูลที่อยู่ในฉลากของระบบ GHS แก่ผู้ปฏิบัติงานโดยปกติจะนำไปใช้เมื่อ สารเคมีอันตรายถูกเปลี่ยนถ่ายจากภาชนะบรรจุของผู้จัดจำหน่ายไปยังภาชนะบรรจุหรือระบบในสถานประกอบการ หรือ เมื่อมีการผลิตสารเคมีในสถานประกอบการแต่ยังไม่ได้บรรจุในภาชนะบรรจุซึ่งใช้สำหรับจำหน่ายหรือนำไปใช้งาน สารเคมีที่ผลิตในสถานประกอบการอาจบรรจุหรือจัดเก็บได้หลายแบบ เช่น สารตัวอย่างขนาดเล็กที่ใช้สำหรับนำไป ทดสอบหรือวิเคราะห์ ระบบท่อทางที่ประกอบด้วยวาล์ว ภาชนะที่อยู่ในกระบวนการหรือถังปฏิกิริยา (reaction vessels) รถ สินแร่ (ore cars) ระบบสายพานลำเลียง (conveyer systems) หรือ ภาชนะจัดเก็บของแข็งขนาดใหญ่ที่ตั้งยืนได้เอง (freestanding bulk storage of solids) ในกระบวนการผลิตแบบกลุ่ม (In batch manufacturing processes) อาจใช้ถังผสมหนึ่งใบ เพื่อบรรจุของผสมเคมีที่หลากหลายแตกต่างกันไป
ในหลาย ๆ สถานการณ์ ในทางปฏิบัติไม่สามารถสร้างฉลากตามระบบ GHS ที่สมบูรณ์และติดไว้ที่บรรจุ ภัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจาก เช่น ข้อจำกัดทางด้านขนาดของภาชนะบรรจุ หรือไม่มีช่องทางเข้าสู่ภาชนะบรรจุที่อยู่ในกระบวนการ (lack of access to a process container) บางตัวอย่างของสถานการณ์ในสถานประกอบการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมี จากภาชนะบรรจุของผู้จัดจำหน่ายประกอบด้วย: ภาชนะบรรจุสำหรับการทดสอบหรือการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (laboratory testing or analysis) ถังจัดเก็บ (storage vessels) ท่อทางหรือกระบวนการในระบบทำปฏิกิริยา (piping or process reaction systems) หรือ ภาชนะบรรจุชั่วคราว (temporary containers) ซึ่งจะมีการใช้สารเคมีโดยผู้ปฏิบัติงานหนึ่งคนภายในระยะเวลาสั้น ๆ สารเคมีที่ต้องมีการถ่าย (decanted chemicals) เพื่อใช้งานโดยตรงสามารถติดฉลากด้วยองค์ประกอบหลัก (main components) และอ้างอิงให้ผู้ใช้ด้วยข้อมูลฉลากและเอกสารความปลอดภัยจากผู้จัดจำหน่ายได้โดยตรง
ต้องมั่นใจว่าทุกระบบดังที่กล่าวมามีการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการ ฝึกอบรมเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการสื่อสารเฉพาะที่ใช้ในสถานประกอบการ ตัวอย่างวิธีการทางเลือกประกอบด้วย: การใช้ตัว บ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (product identifiers) ร่วมกับสัญลักษณ์ตามระบบ GHS และรูปสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อระบุมาตรการในการ เตือน (precautionary measures); การใช้ผังการไหลของกระบวนการ (process flow charts) สำหรับระบบที่ซับซ้อนเพื่อบ่งชี้ สารเคมีที่อยู่ในท่อทางและถังบรรจุ (pipes and vessels) ด้วยการใช้เอกสารความปลอดภัยที่เหมาะสม; การใช้รูปภาพที่เป็น สัญลักษณ์ตามระบบ GHS สี และคำสัญญาณในระบบท่อทางต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่อยู่ในกระบวนการ; การใช้วิธีการปิดป้าย แบบถาวร (permanent placarding) สำหรับท่อทางที่เป็นแบบยึดติดตาย (fixed piping); การใช้ตั๋วหรือใบรับกลุ่ม (batch tickets or recipes) สำหรับติดฉลากบนถังผสม (mixing vessels) และการใช้แถบคาดท่อ (piping bands) ด้วยสัญลักษณ์ความ เป็นอันตรายและตัวชี้บ่งผลิตภัณฑ์
การติดฉลากผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคตามความน่าจะเป็นของการเกิดอุบัติเหตุ (Consumer product labelling based on the likelihood of injury) ทุกระบบควรใช้เกณฑ์ในการจำแนกประเภทตามระบบ GHS ซึ่งอ้างอิงตามความเป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่อาจอนุญาตให้ใช้ระบบการติดฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคที่จัดให้มีข้อมูลตามความน่าจะเป็นของ การเกิดอันตราย (การติดฉลากตามความเสี่ยง หรือ risk based labelling) ในกรณีหลัง พนักงานเจ้าหน้าที่จะจัดให้มี กระบวนการเพื่อการกำหนดโอกาสในการรับสัมผัสและการเกิดความเสี่ยง (potential exposure and risk) ในการใช้ ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ฉลากที่เป็นไปตามวิธีการนี้จัดให้มีข้อมูลเป้าหมาย (targeted information) เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ชี้บ่ง (identified risks) แต่อาจจะไม่รวมข้อมูลบางอย่างที่มีผลต่อสุขภาพแบบเรื้อรัง (chronic health effects) (เช่น (Target Organ Systemic Toxicity (TOST)) ตามการรับสัมผัสแบบซ้ำ (repeated exposure) เป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) และ การก่อมะเร็ง (carcinogenicity)) ซึ่งจะปรากฏบนฉลากที่มีเพียงความเป็นอันตรายเดียว
คำเตือนที่จับต้องได้ (Tactile warnings) ถ้ามีการใช้คำเตือนที่จับต้องได้ (tactile warnings) แบบรายละเอียดทางเทคนิค (technical specifications) ควรเป็นไปตาม EN ISO standard 11683 (1997 edition) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำเตือนอันตรายที่จับต้องได้
- หนึ่งในจำนวนวัตถุประสงค์ของการทำงานของระบบ GHS คือ การพัฒนาระบบการสื่อสารความเป็น อันตรายที่กลมกลืนเป็นระบบเดียวกันซึ่งประกอบด้วยการติดฉลาก เอกสารความปลอดภัยและสัญลักษณ์ที่สามารถเข้าใจ ได้ง่ายตามเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับระบบ GHS งานดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้ความอุปภัมภ์ของ ILO โดยคณะทำงาน การสื่อสารความเป็นอันตราย (ILO Working Group) ตามที่ได้วางกรอบไว้เป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอนสำหรับทำให้เป็น ระบบเดียวกันของการจำแนกประเภทใน การจำแนกประเภทของสารและของผสมอันตราย (Classification of Hazardous Substances and Mixtures)
- ระบบที่ทำให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวสำหรับการสื่อสารความเป็นอันตรายประกอบด้วยเครื่องมือที่เป็น ฉลากที่เหมาะสมเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายในระบบ GHS การใช้สัญลักษณ์ คำ สัญญาณ (signal words) หรือข้อความบอกความเป็นอันตรายที่นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละประเภทและกลุ่ม ความเป็นอันตรายในระบบ GHS จะถือว่าขัดแย้งกับระบบที่ทำให้กลมกลืนเป็นระบบเดียวกันดังกล่าว
- คณะทำงานภายใต้ ILO ซึ่งพิจารณาการนำหลักการทั่วไปใช้ ตามที่ระบุไว้ในขอบเขตของการดำเนินงาน (Terms of Reference1) ของ IOMC CG/HCCS ที่ได้นำมาใช้กับระบบการสื่อสารความเป็นอันตรายและรับรู้ว่าจะมี สถานการณ์ซึ่งอุปสงค์ (demand) และหลักการและเหตุผล (rationale) ของระบบเพื่อเป็นหลักประกันต่อความเปลี่ยนแปลง ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งนี้เพื่อการรวมเกณฑ์เพื่อใช้ตัดสินประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วน เกี่ยวข้อง (target audiences) ในบางกลุ่ม
- ตัวอย่าง ขอบเขตของข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ได้รวม ไว้เฉพาะกลุ่มความเป็นอันตรายที่รุนแรงมากของประเภทความเป็นพิษเฉียบพลัน ระบบนี้จะไม่มีการติดฉลากสารหรือ สิ่งของที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของกลุ่มที่มีความเป็นอันตรายน้อยกว่า (เช่น สารหรือสิ่งของที่มีช่วงค่าความเป็นพิษทางปาก > 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อย่างไรก็ตาม ถ้าขอบเขตของระบบดังกล่าวมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อรวมสารและสารผสมที่เข้าข่าย อยู่ในกลุ่มที่มีความเป็นอันตรายน้อยกว่า สารและของผสมดังกล่าวควรมีการติดฉลากด้วยฉลากตามเครื่องมือระบบการติด ฉลากที่เหมาะสมตาม GHS การใช้ค่าจุดตัดที่แตกต่างออกไปเพื่อกำหนดว่าผลิตภัณฑ์ใดมีการติดฉลากในกลุ่มความเป็น อันตรายจะถือว่าขัดแย้งต่อระบบนี้
- เป็นที่ยอมรับว่าข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ได้มีการจัดทำ ข้อมูลฉลากส่วนใหญ่ในรูปแบบที่เป็นภาพเขียน (graphic form) เนื่องจากความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (target audiences) ดังนั้นคณะอนุกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ (UN sub-Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods) ไม่ควรเลือกคำสัญญาณ (signal words) และข้อความบอกความเป็น อันตราย (hazard statements) เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่จัดให้มีบนฉลากภายใต้กฎระเบียบต้นแบบมาตรฐานตามข้อแนะนำ ของสหประชาชาติ (UN Model Regulations) ว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย
- คำอธิบายของคำศัพท์และคำจำกัดความทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารความเป็นอันตรายได้บรรจุไว้ในบท ที่ 1.2: คำจำกัดความและคำย่อ (Definitions and Abbreviations)
- ได้มีการระบุความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะเป็นผู้ใช้หลัก (primary end-users) ในส่วนของ รูปแบบการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ทำให้กลมกลืนเป็นระบบเดียวกัน ควรให้สนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการจัดให้มีการ อภิปรายในลักษณะที่กลุ่มผู้มีส่วนร่วมเหล่านี้จะได้รับและใช้ข้อมูลที่แสดงเกี่ยวกับสารเคมีที่มีอันตราย ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะ นำมาอภิปรายควรประกอบด้วยการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้อย่างมีศักยภาพ การจัดให้มีข้อมูลอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากฉลากและ การจัดให้มีการฝึกอบรม
- เป็นที่ยอมรับว่ายากที่จะแยกความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งแตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ทั้ง ผู้ปฏิบัติงานและผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (emergency responders) ใช้ฉลากในสถานที่จัดเก็บ (storage facilities) และผลิตภัณฑ์ เช่น สีและตัวทำละลายถูกนำมาใช้ทั้งผู้บริโภคและในสถานประกอบการ นอกจากนี้ ยาปราบศัตรูพืช (pesticides) สามารถใช้ในบริเวณที่พักอาศัยของผู้บริโภค (consumer settings) (เช่น สนามหญ้า และผลิตภัณฑ์ที่ใช้สวน) และสถานประกอบการ (เช่น ยาปราบศัตรูพืชที่ใช้เพื่อรักษาเมล็ดพืชในโรงเพาะเมล็ดพืช) ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่ามี ลักษณะเฉพาะหลายอย่างที่แตกต่างออกไปตามกลุ่มผู้มีส่วนร่วม บทความในข้อต่อไปนี้จะพิจารณาถึงกลุ่มผู้มีส่วนร่วมและ ชนิดของข้อมูลที่พวกเขาต้องการ
- สถานประกอบการ (Workplace): ผู้ว่าจ้าง และผู้ปฏิบัติงานต้องการรู้ถึงความเป็นอันตรายเฉพาะของสารเคมี ที่ใช้และ/หรือที่จัดการในสถานประกอบการ รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับมาตรการเฉพาะในการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายที่ อาจเป็นสาเหตุจากความเป็นอันตราย ในกรณีของการจัดเก็บสารเคมี โอกาสเสี่ยงต่ออันตรายอาจลดได้โดยการบรรจุ สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ (packaging) ของสารเคมีนั้น แต่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ผู้ปฏิบัติงานและผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินต้องการทราบว่าต้องใช้มาตรการใดที่เหมาะสมในการทำให้ผลกระทบบรรเทาเบาบางลง ในกรณีดังกล่าวเขาอาจ ต้องการข้อมูลที่สามารถอ่านได้จากระยะไกล อย่างไรก็ตาม ฉลากไม่ได้เป็นแหล่งข้อมูลเดียวของข้อมูลนี้ ยังอาจหาได้จาก เอกสารความปลอดภัย (SDS) และระบบบริหารความเสี่ยงในสถานประกอบการ (workplace risk management system) ใน ส่วนของระบบบริหารความเสี่ยงในสถานประกอบการควรจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการระบุความเป็นอันตรายและการ ป้องกัน ลักษณะของการฝึกอบรมที่จัดให้มีและความถูกต้อง (accuracy) ความเข้าใจ (comprehensibility) และความสมบูรณ์ (completeness) ของข้อมูลที่จัดให้ใน SDS อาจแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริโภคตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติงานสามารถพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกในสัญลักษณ์และข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ได้มากกว่า
- ผู้บริโภค (Consumers): โดยส่วนใหญ่ฉลากมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งข้อมูลเดียวที่มีอยู่สำหรับผู้บริโภค ดังนั้นฉลากจึงจำเป็นต้องมีรายละเอียดที่เพียงพอและตรงกับการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้น ถือได้ว่ามีความแตกต่างด้านหลัก ปรัชญาในวิธีการจัดหาข้อมูลแก่ผู้บริโภค การติดฉลากตามโอกาสของการได้รับบาดเจ็บ (เช่น การสื่อสารความเสี่ยง; risk communication) อาจพิจารณาได้ว่าเป็นวิธีที่ได้ผล ซึ่งในกรณีนี้สัมพันธ์กับระบบการติดฉลากสำหรับผู้บริโภคบางระบบ ในขณะที่สิ่งอื่น ๆ พิจารณาจากหลักการ ‘สิทธิที่จะรับรู้’ (‘right to know’ principle) ในการจัดให้มีข้อมูลแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์ การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ยากและมีประสิทธิผลน้อยกว่าการให้ความรู้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ การจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอให้แก่ผู้บริโภคด้วยคำศัพท์ที่ง่ายที่สุดและเข้าใจได้ง่ายที่สุด นับว่าสิ่งที่ ค่อนข้างท้าทาย ประเด็นของความเข้าใจ (comprehensibility) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกลุ่มนี้เพราะ ผู้บริโภคอาจอาศัยเฉพาะข้อมูลจากฉลากเท่านั้น
- ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency responders): ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต้องการข้อมูล เป็นระดับตามช่วงเวลาที่ผ่านไปหลังจากเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้การตอบโต้เป็นไปอย่างทันทีทันใด ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินจึงต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง มีรายละเอียดและชัดเจนเพียงพอ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุใน ระหว่างการขนส่ง ในอาคารจัดเก็บหรือที่สถานประกอบการ พนักงานดับเพลิงและผู้อยู่ในเหตุการณ์เป็นลำดับแรก ๆ คือ ตัวอย่างที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่สามารถแยกความแตกต่างและตีความจากระยะไกล บุคลากรดังกล่าวได้รับการฝึกอบรมมา อย่างดีในการใช้ข้อมูลเชิงภาพและข้อมูลรหัส (graphical and coded information) อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินอาจต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นอันตรายและเทคนิคในการตอบโต้ซึ่งอาจได้จากหลากหลาย แหล่งข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่รับผิดชอบต่อการบำบัดเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากอุบัติเหตุหรือ เหตุฉุกเฉินอาจแตกต่างไปจากที่ต้องการโดยพนักงานดับเพลิง
- การขนส่ง (Transport): ข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย จัดให้ มีข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าได้คำนึงถึงผู้ปฏิบัติงานขนส่งและผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเป็น ลำดับแรก ในส่วนอื่นรวมถึงผู้ว่าจ้างซึ่งเสนอหรือยอมรับสินค้าอันตรายเพื่อการขนส่งหรือบรรทุกสินค้าขึ้นหรือถ่าย สินค้าออกจากตัวรถหรือตู้สินค้า ทุกส่วนของขั้นตอนการขนส่งดังกล่าวต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความ ปลอดภัยทั่วไปที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่ขนส่ง ตัวอย่างเช่น พนักงานขับรถต้องทราบว่าในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่ เกี่ยวข้องกับสารที่ขนส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไร: (เช่น รายงานการเกิดอุบัติเหตุต่อเจ้าหน้าที่ เก็บรักษาเอกสารกำกับการขนส่ง ในสถานที่ที่กำหนดไว้ เป็นต้น) พนักงานขับรถอาจต้องการข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับความเป็นอันตรายเฉพาะ เว้นแต่ว่ามี หน้าที่ในการบรรทุกสินค้าขึ้นรถและถ่ายสินค้าลงจากรถหรือทำการบรรจุสินค้าลงแท็งก์ เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานที่อาจมีส่วน เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าอันตราย เช่น บนเรือ ต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดมากกว่า
- ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ให้นับว่าเป็นประเด็นที่สำคัญสูงสุดในการพัฒนาระบบการสื่อสารความ เป็นอันตราย (ดู ภาคผนวก 5 วิธีการในการทดสอบความเข้าใจ; Comprehensibility Testing Methodology) จุดมุ่งหมายของ ระบบที่ทำให้มีความกลมกลืนกันทั้งหมด (harmonized system) คือการแสดงข้อมูลในลักษณะที่ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจได้ง่าย ระบบ GHS ได้ระบุหลักการที่เป็นแนวทางซึ่งช่วยในกระบวนการดังกล่าว:
- ควรมีการสื่อสารข้อมูลมากกว่าหนึ่งทาง;
- ความเข้าใจในองค์ประกอบของระบบควรพิจารณาจากการศึกษาและเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่เดิม รวมทั้งหลักฐานอื่น ๆ ที่ได้จากการทดสอบ;
- วลีที่ใช้ในการระบุระดับ (ความรุนแรง) ของความเป็นอันตรายควรมีการใช้ที่เหมือนกันสม่ำเสมอ หรือใช้ให้เหมือนกันทุกครั้ง ถึงแม้ว่าเป็นชนิดของอันตรายที่แตกต่างกัน
- ในข้อหลังสุดข้างต้นได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างผลกระทบระยะยาว (long-term effects) เช่น การเกิดมะเร็ง และความเป็นอันตรายทางกายภาพ เช่น ความไวไฟ ในกรณีที่ไม่สามารถ เปรียบเทียบความเป็นอันตรายทางกายภาพที่มีต่อสุขภาพได้โดยตรง ควรให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยวิธีการบอกถึง ระดับความเป็นอันตรายลงในเนื้อหา และดังนั้นจึงถือว่าสื่อถึงระดับความเป็นอันตรายที่เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
- ในข้อหลังสุดข้างต้นได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างผลกระทบระยะยาว (long-term effects) เช่น การเกิดมะเร็ง และความเป็นอันตรายทางกายภาพ เช่น ความไวไฟ ในกรณีที่ไม่สามารถ เปรียบเทียบความเป็นอันตรายทางกายภาพที่มีต่อสุขภาพได้โดยตรง ควรให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยวิธีการบอกถึง ระดับความเป็นอันตรายลงในเนื้อหา และดังนั้นจึงถือว่าสื่อถึงระดับความเป็นอันตรายที่เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
- วิธีการทดสอบความเข้าใจ (Comprehensibility testing methodology) การทบทวนเอกสารอ้างอิงขั้นต้นที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐแมรี่แลนด์ (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้บ่งชี้ว่าหลักการทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจควรนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเป็นอันตรายให้ กลมกลืนเป็นระบบเดียวกัน มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเคปทาว์นได้พัฒนาสิ่งดังกล่าวเพื่อใช้ประเมินความเข้าใจของระบบการ สื่อสารความเป็นอันตราย (ดู ภาคผนวก 5) นอกจากการทดสอบส่วนประกอบเดี่ยวของฉลาก วิธีการนี้ได้พิจารณาความ เข้าใจของส่วนประกอบฉลากแบบผสมกัน สิ่งดังกล่าวนี้ถือว่ามีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประเมินความเข้าใจต่อ คำเตือนสำหรับผู้บริโภคซึ่งสามารถพึ่งพิงการฝึกอบรมเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจได้น้อย วิธีการทดสอบนี้อาจรวม วิธีการประเมินความเข้าใจเอกสารความปลอดภัย (SDS comprehensibility)
ทางเลือกสำหรับการใช้ข้อมูลที่เป็นอักษรแสดงความท้าทายเพิ่มเติมสำหรับการทำความเข้าใจ จำเป็นต้อง รักษาคำและวลีที่ชัดเจนให้ง่ายต่อการเข้าใจเมื่อมีการแปล ในขณะเดียวกันก็ให้ความหมายที่เหมือนกัน IPCS Chemical Safety Card Programme ได้มีประสบการณ์ในการแปลวลีมาตรฐานไปเป็นหลากหลายภาษา EU มีประสบการณ์ในการแปล คำศัพท์เพื่อให้มั่นใจว่าได้สื่อสารข้อมูลเดียวกันในหลายภาษา เช่นคำว่า ความเป็นอันตราย (hazard) ความเสี่ยง (risk) เป็น ต้น ประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้จากอเมริกาเหนือเกี่ยวกับคู่มือการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของอเมริกาเหนือ (North American Emergency Response Guidebook) ซึ่งได้มีการแปลไว้ในหลายภาษาแล้ว
การทำให้เป็นระบบมาตรฐาน (Standardization)
- เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ว่าให้มีการนำระบบ GHS ไปใช้ในหลายประเทศให้มากที่สุด จึงต้องทำให้ เนื้อหาใน GHS ส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานเพื่อให้ง่ายสำหรับบริษัทในการปฏิบัติตามและให้ง่ายสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการ นำระบบไปบังคับใช้ การทำให้เป็นระบบมาตรฐานสามารถนำไปใช้กับ
- องค์ประกอบบางอย่างของฉลาก – สัญลักษณ์ คำสัญญาณ (signal words) ข้อความบอกความเป็น อันตราย (statements of hazard) คำเตือน (precautionary statements) – และ
- รูปแบบและสีของฉลาก และ
- รูปแบบของเอกสารความปลอดภัย (SDS format)
สำหรับตัวฉลาก สัญลักษณ์ความเป็นอันตราย คำสัญญาณ (signal words) และข้อความบอกความเป็น อันตราย (hazard statements) ทุกส่วนดังกล่าวนี้ได้มีการทำให้เป็นมาตรฐานและกำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตราย (hazard categories) ไม่ควรทำการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบที่เป็นมาตรฐานเหล่านี้ และควรปรากฏอยู่บนฉลากตามระบบ GHS ตามที่ได้ระบุไว้ในบทต่าง ๆ ของแต่ละประเภทความเป็นอันตรายในเอกสารนี้ สำหรับเอกสารความปลอดภัย ได้จัด ให้มีรูปแบบมาตรฐานไว้ในบทที่ 1.5 การสื่อสารความเป็นอันตราย (Hazard Communication: Safety Data Sheets) เพื่อ นำเสนอข้อมูล ถึงเม้ว่าข้อมูลคำเตือนได้มีการพิจาณาให้เป็นระบบมาตรฐาน แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านเวลาจึงไม่ สามารถพัฒนาข้อเสนอในรายละเอียดได้ทัน อย่างไรก็ตาม ได้มีการจัดทำตัวอย่างคำเตือน (precautionary statements) และ รูปสัญลักษณ์ (pictograms) ไว้ในภาคผนวก 3 และยังคงเป็นเป้าหมายในการพัฒนาองค์ประกอบฉลากให้เป็นมาตรฐาน อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
การใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นมาตรฐานหรือข้อมูลเสริม (Use of non-standardized or supplemental information)
- นับได้ว่ามีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ปรากฏบนฉลากซึ่งยังไม่ได้เป็นมาตรฐานตามระบบที่ทำให้กลมกลืนกันนี้ ข้อมูลบางส่วนในองค์ประกอบดังกล่าวจำเป็นต้องรวมไว้ในฉลาก เช่น คำเตือน (precautionary statements) พนักงาน เจ้าหน้าที่ (Competent authorities) อาจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือผู้จัดจำหน่าย (suppliers) อาจเลือกที่จะเพิ่มข้อมูลเสริม ภายใต้การตัดสินใจของเขาเอง เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ข้อมูลที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่จำเป็น ของข้อมูลหรือทำให้ระบบข้อมูลของ GHS ด้อยลง ควรจำกัดการใช้ข้อมูลเสริมภายใต้สถานการณ์ดังต่อไปนี้:
- ข้อมูลเสริมดังกล่าวให้รายละเอียดเพิ่มเติมและไม่ขัดแย้งหรือสงสัย (cast doubt) ว่าข้อมูลความเป็น อันตรายดังกล่าวสามารถใช้ได้; หรือ;
- ข้อมูลเสริมดังกล่าวให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายที่ยังไม่ได้รวมอยู่ใน GHS
- ผู้ติดฉลากควรมีทางเลือกในการจัดให้มีข้อมูลเสริมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอันตราย เช่น สถานะทาง กายภาพหรือเส้นทางของการรับสัมผัส (route of exposure) ที่เป็นข้อความบอกความเป็นอันตราย (hazard statement) มากกว่าที่จะเป็นส่วนของข้อมูลเสริมบนฉลาก
- ระบบทุกระบบควรมีการระบุวิธีการในการตอบสนองกับข้อมูลใหม่ที่เหมาะสมและเหมาะสมตามเงื่อนเวลา (timely manner) และมีการปรับปรุงฉลากและเอกสารความปลอดภัยให้สอดคล้องกัน ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่า สามารถดำเนินการดังกล่าวได้อย่างไร
- ผู้จัดจำหน่ายควรยึดตามข้อมูลที่ “ใหม่และสำคัญ” ที่ได้รับเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมี โดยการ ปรับปรุงฉลากและเอกสารความปลอดภัยของสารเคมีนั้น ข้อมูลที่ใหม่และสำคัญคือข้อมูลใด ๆ ที่เปลี่ยนการจำแนก ประเภทสารหรือของผสมตาม GHS และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนฉลากหรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและ มาตรการควบคุมที่เหมาะสมซึ่งอาจมีผลต่อเอกสารความปลอดภัย สิ่งดังกล่าวอาจประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลใหม่ เกี่ยวกับโอกาสในการเกิดผลร้ายโดยมีผลกระทบเรื้อรังต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสซึ่งเป็นผลมาจากการตีพิมพ์ในเอกสาร หรือผลการทดสอบที่ผ่านมาล่าสุด ถึงแม้ว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการจำแนกประเภทออกมา
- ควรดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยทันทีที่ได้รับข้อมูลว่ามีความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะระบุเพื่อจำกัดเวลาให้อยู่ภายในข้อมูลที่ต้องปรับปรุงใหม่ การปรับปรุงดังกล่าวประยุกต์ใช้ เฉพาะกับฉลากและเอกสารความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับกลไกการอนุมัติ เช่น ยาปราบศัตรูพืช ในระบบ ฉลากของยาปราบศัตรูพืช หากฉลากเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการอนุมัติ ผู้จัดจำหน่ายไม่สามารถปรับปรุงข้อมูลฉลากภายใต้ การตัดสินใจด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม หากว่าผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตราย ฉลากที่ใช้ควรมี การปรับปรุงเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
- ผู้จัดจำหน่ายควรทบทวนเป็นระยะ ๆ ในส่วนของข้อมูลที่เป็นพื้นฐานสำหรับฉลากและเอกสารความ ปลอดภัยของสารหรือของผสม ถึงแม้ว่าไม่มีข้อมูลใหม่หรือสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสารหรือของผสม เช่นต้องมีการค้นหาจาก ฐานข้อมูลสารเคมีสำหรับข้อมูลใหม่ ๆ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอาจเป็นผู้เลือกที่จะระบุระยะเวลา (โดยทั่วไป 3 – 5 ปี) โดยเริ่มนับจากวันที่ของการผลิตซึ่งผู้จัดจำหน่ายควรทำการทบทวนฉลากและข้อมูลเอกสารความปลอดภัย
- ระบบที่นำ GHS ไปใช้ควรพิจารณาว่าข้อกำหนดใดจะเหมาะสมในการใช้ปกป้องข้อมูลความลับทางธุรกิจ (Confidential Business Information; CBI) ข้อกำหนดดังกล่าวต้องไม่ทำให้สุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานหรือ คนงานหรือการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้อยลง กฎหมายของประเทศที่นำเข้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่ระบุไว้ในระบบ GHS ควร นำไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับกติกาของ CBI ที่เกี่ยวกับสารและสารผสมที่นำเข้า
- ถ้ามีการเลือกใช้ระบบเพื่อป้องกันข้อมูลลับทางธุรกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ควรจัดให้มีกลไกที่เหมาะสมตาม กฎหมายและวิธีปฏิบัติในประเทศนั้น และให้พิจารณาข้อต่อไปนี้ว่า:
- การรวมสารเคมีหรือประเภทของสารเคมีบางชนิดในกระบวนการเหมาะสมกับความต้องการของ ระบบหรือไม่;
- คำจำกัดความของคำว่า "ข้อมูลลับทางธุรกิจ" ควรนำไปใช้โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ (factors) เช่น ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของคู่แข่งทางธุรกิจ สิทธิตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property rights) และการเปิดเผยที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย (potential harm disclosure) อาจเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ว่าจ้าง หรือผู้จัดจำหน่าย; และ
- กระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเผยข้อมูลลับทางธุรกิจหากจำเป็นเพื่อป้องกันสุขภาพและ ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริโภค หรือเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และมาตรการเพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมจากนี้
- ข้อกำหนดเฉพาะเพื่อปกป้องข้อมูลลับทางธุรกิจอาจแตกต่างกันไปตามระบบที่ใช้ขึ้นอยู่กับกฎหมายและวิธี ปฏิบัติในประเทศนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ควรมีการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการทั่วไปดังต่อไปนี้:
- สำหรับข้อมูลอื่นที่จำเป็นต้องใส่ลงบนฉลากหรือเอกสารความปลอดภัย ตามกติกาของ CBI ให้ จำกัดเฉพาะชื่อของสารเคมีและความเข้มข้นในสารผสม ข้อมูลอื่น ๆ ควรมีการเปิดเผยที่ฉลากและ/ หรือเอกสารความปลอดภัย ตามที่กำหนด;
- หาก CBI ได้ถูกยกเลิกไป (withheld) ควรมีการระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารความปลอดภัยของ สารเคมีนั้นด้วย;
- ควรเปิดเผย CBI ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หากมีการร้องขอ พนักงานเจ้าหน้าที่ควรปกป้องความลับ ของข้อมูลตามกฎหมายและวิธีปฏิบัติที่มีผลบังคับใช้;
- เมื่อผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ตัดสินใจประกาศสภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เนื่องจากการได้รับ สัมผัสสารเคมีอันตรายหรือสารเคมีผสม ควรมีกลไกเพื่อให้มั่นใจว่าการเปิดเผยข้อมูลลับเฉพาะใด ๆ โดยผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเหมาะสมกับช่วงเวลาเพื่อนำไปสู่ การรักษาที่จำเป็น ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ควรเก็บรักษาความลับของข้อมูล;
- สำหรับในสถานการณ์ที่ไม่ถือว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างควรมั่นใจว่าได้ เปิดเผยข้อมูลลับเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพให้กับเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยหรือสุขภาพนั้น โดยเป็นผู้ที่จัดให้มีการบริการทางการแพทย์หรือความปลอดภัยและสุขภาพอื่น ๆ ให้กับ ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริโภคที่ได้รับสัมผัสสาร และให้กับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแทนผู้ปฏิบัติงาน บุคคล ที่ร้องขอข้อมูลควรมีเหตุผลที่ชัดเจนที่จะขอให้เปิดเผยข้อมูล และควรตกลงที่ใช้ข้อมูลพิเศษนั้น เพื่อจุดมุ่งหมายในการปกป้องผู้บริโภคหรือผู้ปฏิบัติงาน และต้องทำการเก็บรักษาข้อมูลนั้นให้เป็น ความลับไว้ด้วย;
- ในกรณีที่มีการปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูล CBI พนักงานเจ้าหน้าที่ควรอธิบายถึงการปฏิเสธดังกล่าว หรือจัดหากระบวนการที่เป็นทางเลือกสำหรับการปฏิเสธนั้น ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างต้อง รับผิดชอบในกรณีดังกล่าว ว่าข้อมูลที่ยกเลิกเป็นไปตามกติกาการปกป้องข้อมูลลับทางธุรกิจ (CBI protection)
การฝึกอบรม (Training)
การฝึกอบรมผู้ใช้เกี่ยวกับข้อมูลความเป็นอันตรายเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารความเป็นอันตราย (hazard communication) ระบบต่าง ๆ ควรมีการระบุการฝึกอบรมและการให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ GHS ซึ่งจำเป็นต้องทราบความหมายของฉลากและ/หรือเอกสารความปลอดภัยและดำเนินการที่เหมาะสมในการตอบโต้ความ เป็นอันตรายจากสารเคมีนั้น ๆ ข้อกำหนดในการฝึกอบรมควรเหมาะสมและเพียงพอกับลักษณะของงานหรือการรับสัมผัส กลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลักในการฝึกอบรมประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงาน ผู้ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมฉลาก เอกสารความปลอดภัยและกลยุทธ์การสื่อสารความเป็นอันตรายที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารความเสี่ยง (risk management systems) บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการขนส่งและจัดเตรียมสารเคมีอันตรายก็กำหนดให้มีการฝึกอบรมไปตาม ระดับที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ระบบควรมีการพิจารณากลยุทธ์ที่กำหนดให้มีการให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคในการ ตีความข้อมูลจากฉลากที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ใช้
ขั้นตอนการติดฉลาก (Labelling procedures)
ขอบเขต (Scope)
ต่อไปนี้เป็นการอธิบายกระบวนการในการจัดเตรียมฉลากในระบบ GHS ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้:
- การกำหนดองค์ประกอบของฉลาก (Allocation of label elements);
- การจัดทำแบบสัญลักษณ์ขึ้นมาใหม่ (Reproduction of the symbol);
- การจัดทำรูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายขึ้นมาใหม่ (Reproduction of the hazard pictogram);
- คำสัญญาณ (Signal words);
- ข้อความบอกความเป็นอันตราย (Hazard statements);
- ข้อควรระวังและรูปสัญลักษณ์ (Precautionary statements and pictograms);
- การระบุผลิตภัณฑ์และผู้จัดจำหน่าย (Product and supplier identification);
- ความเป็นอันตรายหลายอย่างและการลำดับข้อมูล (Multiple hazards and precedence of information);
- การเตรียมการสำหรับการนำเสนอองค์ประกอบฉลากของ GHS (Arrangements for presenting the GHS label elements);
- การเตรียมการในการติดฉลากแบบพิเศษ (Special labelling arrangements)
ตารางที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดองค์ประกอบของฉลาก (สัญลักษณ์, คำสัญญาณ, ข้อความบอกความเป็นอันตราย) ซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตรายของระบบ GHS กลุ่มความเป็นอันตราย (hazard categories) สะท้อนถึงเกณฑ์การจำแนกประเภทที่ทำให้เป็นระบบเดียวกัน
การจัดทำสัญลักษณ์ใหม่ (Reproduction of the symbol)
สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายต่อไปนี้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานที่ควรนำไปใช้ในระบบ GHS หากไม่นับ รวมถึงสัญลักษณ์ใหม่ที่ทำขึ้นมาใช้สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลากับต้นไม้ (fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกล่าวได้มีการนำมาใช้ในข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็น ต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายอยู่แล้ว
รูปสัญลักษณ์และการจัดทำรูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายขึ้นมาใหม่ (Pictograms and reproduction of the hazard pictograms)
รูปสัญลักษณ์ หมายถีง ข้อมูลเชิงภาพที่อาจประกอบด้วยสัญลักษณ์ร่วมกับองค์ประกอบที่เป็นกราฟฟิคอื่นๆ เช่น ขอบ รูปแบบพื้นหลัง หรือสี ซึ่งทั้งหมดใช้เพื่อสื่อข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับสารอันตราย
รูปร่างและสี (Shape and colour)
- รูปสัญลักษณ์ที่ใช้ในระบบ GHS ทั้งหมดควรมีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (square set at a point)
- รูปสัญลักษณ์ที่กำหนดโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย จะ ใช้พื้นหลังและสีสัญลักษณ์ตามที่โดยข้อกำหนดนั้น ตัวอย่างรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ใน UN Model Regulations สำหรับของเหลว ไวไฟเป็นดังต่อไปนี้
รูปสัญลักษณ์ที่ใช้ใน UN Model Regulations สำหรับของเหลวไวไฟ (สัญลักษณ์: เปลวไฟ สีดำหรือขาว; พื้นหลัง: สีแดง; ตัวเลข 3 ที่มุมด้านล่าง; ขนาดขั้นต่ำ 100 มิลลิเมตร x 100 มิลลิเมตร)
- รูปสัญลักษณ์ที่กำหนดโดยระบบ GHS แต่ไม่ได้กำหนดโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ควรใช้สัญลักษณ์สีดำบนพื้นสีขาวและมีกรอบสีแดงที่มีความหนาเพียงพอที่จะสามารถ เห็นได้อย่าชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อรูปสัญลักษณ์ปรากฏบนฉลากสำหรับหีบห่อซึ่งไม่ใช้เพื่อการส่งออก พนักงาน เจ้าหน้าที่อาจยอมจากการพิจารณาดีแล้วให้ผู้จัดจำหน่ายและผู้ว่าจ้างใช้สีดำเป็นขอบได้ นอกจากนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ อนุญาตให้ใช้รูปสัญลักษณ์ตามข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย ในการใช้งาน ในสถานที่อื่น ๆ (other use settings) ที่หีบห่อดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมโดยการขนส่งตาม UN Model Regulations ตัวอย่าง ของรูปสัญลักษณ์ตามระบบ GHS ที่ใช้สำหรับการระคายเคืองทางผิวหนังแสดงไว้ดังรูปต่อไปนี้
รูปสัญลักษณ์ตามระบบ GHS สำหรับการ ระคายเคืองทางผิวหนัง
การกำหนดองค์ประกอบของฉลาก (Allocation of label elements)
- ข้อมูลที่กำหนดให้มีสำหรับหีบห่อที่ครอบคลุมโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการ ขนส่งสินค้าอันตราย
ข้อมูลที่กำหนดให้มีบนฉลากตามระบบ GHS
คำสัญญาณ (Signal words)
คำสัญญาณ หมายถึง คำที่ใช้เพื่อกำหนดระดับความสัมพันธ์ของความรุนแรงของอันตรายและเตือนผู้อ่านถึง โอกาสในการเกิดอันตรายซึ่งแสดงอยู่บนฉลาก ระบบ GHS ใช้คำว่า ‘Danger หรือ อันตราย’ และ ‘Warning หรือ คำเตือน’ เป็นคำสัญญาณ คำว่า “Danger หรือ อันตราย” ใช้สำหรับกลุ่มความเป็นอันตรายที่รุนแรงกว่า (ได้แก่ กลุ่มในความเป็น อันตรายหลักกลุ่ม 1 และ 2) ในขณะที่คำว่า “Warning หรือ คำเตือน” ใช้สำหรับความรุนแรงที่ต่ำกว่า ตารางที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดคำสัญญาณซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตราย ของระบบ GHS
- ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard statements) ข้อความแสดงความเป็นอันตราย หมายถึง วลีที่กำหนดขึ้นสำหรับประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายที่ อธิบายถึงลักษณะของความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงระดับความเป็นอันตราย (degree of hazard) ตามความ เหมาะสม ตารางองค์ประกอบฉลากที่ให้ไว้ในแต่ละบทสำหรับแต่ละประเภทความเป็นอันตรายได้ให้รายละเอียดข้อความ แสดงความเป็นอันตรายซึ่งได้กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มความเป็นอันตรายของระบบ GHS
- ข้อควรระวังและรูปสัญลักษณ์3 (Precautionary statements and pictograms) ข้อควรระวัง หมายถึง กลุ่มคำ (และ/หรือ รูปสัญลักษณ์) ที่ระบุมาตรการแนะนำว่าควรปฏิบัติตามเพื่อลด หรือป้องกันการเกิดผลร้ายที่เกิดจากการรับสัมผัสกับผลิตภัณฑ์อันตราย หรือการจัดเก็บหรือจัดการผลิตภัณฑ์อันตรายที่ไม่ ถูกต้องเหมาะสม ฉลากตามระบบ GHS ควรประกอบด้วยข้อมูลคำเตือนที่เหมาะสม ตัวเลือกของผู้ติดฉลากหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ ภาคผนวก 3 ประกอบด้วยตัวอย่างคำเตือน ที่สามารถใช้และตัวอย่างรูปสัญลักษณ์ที่เป็นคำเตือนซึ่งสามารถ นำมาใช้หากได้รับความเห็นชอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
- ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (Product identifier)
- ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ควรใช้กับฉลากในระบบ GHS และควรสอดคล้องตรงกับตัวบ่งชี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในเอกสารความปลอดภัย หากสารหรือของผสมถูกครอบคลุมอยู่ใน ข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย อาจใช้ชื่อที่ ถูกต้องในการขนส่ง (UN proper shipping name) ที่หีบห่อด้วย;
- ฉลากสำหรับสารควรรวมเอกลักษณ์เฉพาะของสารเคมี (chemical identity of the substance) สำหรับของผสมหรือโลหะผสม ควรรวมเอกลักษณ์เฉพาะของสารเคมีที่บอกส่วนผสม ทั้งหมดหรือธาตุที่ผสมทั้งหมดที่มีส่วนในการเกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน กัดกร่อนผิวหนัง หรือเสียหายอย่างรุนแรงต่อดวงตา สารก่อกลายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ต่อเซล์ลสืบพันธุ์ (germ cell mutagenicity) สารก่อมะเร็ง (carcinogenicity) สารเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) ความไวต่อระบบทางเดินหายใจหรือทางผิวหนัง (skin or respiratory sensitisation) หรือ เป็นพิษเกี่ยวกับระบบอวัยวะเป้าหมาย (Target Organ Systemic Toxicity; TOST) หาก ความเป็นอันตรายเหล่านี้ปรากฎบนฉลาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ กำหนดให้รวมข้อมูลส่วนผสมหรือธาตุผสมทั้งหมดที่มีส่วนในการช่วยให้เกิดความเป็น อันตรายจากของผสมหรือโลหะผสมนั้น;
- เมื่อสารหรือของผสมใช้เฉพาะสำหรับในสถานประกอบการเท่านั้น พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ ใช้ดุลยพินิจในการให้ผู้จัดจำหน่ายรวมเอกลักษณ์เฉพาะทางเคมีในเอกสารความปลอดภัย แทนการรวมทั้งหมดไว้บนฉลาก;
- พนักงานเจ้าหน้าที่ตัดสินให้ CBI อยู่เหนือกว่ากฎของการแจ้งเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ซึ่ง หมายความว่าโดยทั่วไปข้อมูลส่วนผสมได้รวมไว้ในฉลาก ถ้าเป็นไปตามเกณฑ์ของ พนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับ CBI เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องรวมอยู่ในฉลาก
- การระบุผู้จัดจำหน่าย (Supplier identification) ควรจัดให้มีชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายสารหรือของผสมบนฉลาก
การเตรียมการต่อไปนี้ใช้เมื่อสารหรือของผสมแสดงความเป็นอันตรายที่มากกว่าหนึ่งอันตรายตามระบบ GHS โดยปฏิบัติอย่างไม่มีอคติตามหลักการต่อตัวบล็อก (building block principle) ตามที่อธิบายไว้ใน จุดประสงค์ ขอบเขต และการนำไปใช้งาน (Purpose, Scope and Application) (บทที่ 1.1) ดังนั้นหากระบบไม่ได้จัดให้มีข้อมูลบนฉลากสำหรับ ความเป็นอันตรายเฉพาะ ดังนั้น เมื่อระบบไม่ได้จัดให้มีข้อมูลบนฉลากสำหรับความเป็นอันตรายเฉพาะนั้น จึงควรมีการนำ การเตรียมการมาดัดแปลงเพื่อประยุกต์ใช้
ลำดับที่มาก่อนสำหรับการกำหนดสัญลักษณ์ (Precedence for the allocation of symbols)
สำหรับสารและสิ่งของที่ครอบคลุมโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า อันตราย, ลำดับที่มาก่อนของสัญลักษณ์สำหรับความเป็นอันตรายทางกายภาพควรเป็นไปตามกฎของ UN Model Regulations ในสถานประกอบการ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจกำหนดให้มีสัญลักษณ์ทั้งหมดสำหรับความเป็นอันตรายทาง กายภาพที่จะใช้ สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้หลักการของลำดับที่มาก่อนดังต่อไปนี้:
- ถ้าใช้สัญลักษณ์กะโหลกและกระดูกไขว้ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายตกใจอีก;
- ถ้าใช้สัญลักษณ์แสดงการกัดกร่อน ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายตกใจซึ่งใช้สำหรับการเกิดการ ระคายเคืองต่อผิวหนังหรือดวงตา;
- ถ้าใช้สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพสำหรับความไวต่อระบบทางเดินหายใจ (respiratory sensitization) ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายตกใจซึ่งใช้สำหรับความไวต่อผิวหนังหรือสำหรับการ ระคายเคืองต่อผิวหนังหรือดวงตา
ลำดับที่มาก่อนสำหรับการกำหนดข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Precedence for allocation of hazard statements) ควรแสดงข้อความเป็นอันตรายที่กำหนดไว้บนฉลาก พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกเพื่อระบุลำดับก่อนหลังที่ แสดงออกมา
การเตรียมการสำหรับนำเสนอองค์ประกอบฉลากตามระบบ GHS
ตำแหน่งของข้อมูลตามระบบ GHS บนฉลาก รูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายตามระบบ GHS คำสัญญาณและข้อความแสดงความเป็นอันตรายควรอยู่ ด้วยกันบนฉลาก พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะจัดให้มีแบบตามที่ได้มีการระบุสำหรับการนำเสนอและสำหรับการ นำเสนอข้อมูลที่เป็นคำเตือน (precautionary information) หรือให้ผู้จัดจำหน่ายใช้ดุลยพินิจเอง ข้อแนะนำและตัวอย่าง เฉพาะได้แสดงไว้ในบทต่าง ๆ ที่เป็นประเภทความเป็นอันตรายแต่ละประเภท
ข้อมูลเสริม (Supplemental information) พนักงานเจ้าหน้าที่มีดุลยพินิจในการอนุญาตให้ใช้ข้อมูลเสริมตามพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ใน 1.4.6.3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกในการระบุว่าข้อมูลดังกล่าวควรปรากฏอยู่ที่ใดบนฉลากหรือให้เป็นดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่าย ในทั้งสองกรณี ตำแหน่งของข้อมูลเสริมควรที่จะไม่ไปขัดขวางข้อมูลเฉพาะของผลิตภัณฑ์ตามระบบ GHS
การใช้สีภายนอกรูปสัญลักษณ์ (Use of colour outside pictograms) นอกจากที่ใช้ในรูปสัญลักษณ์ สีสามารถใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ของฉลากเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด พิเศษในการติดฉลาก เช่น การใช้สายคาดสำหรับยาปราบศัตรูพืช (pesticide bands) ในคู่มือการติดฉลากของ FAO (FAO Labelling Guide) สำหรับคำสัญญาณและข้อความแสดงความเป็นอันตรายหรือส่วนที่เป็นพื้นหลังของสิ่งดังกล่าว หรือถ้า ไม่ได้จัดหาไว้เป็นอย่างอื่นโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
การเตรียมการพิเศษสำหรับการติดฉลาก (Special labelling arrangements) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะอนุญาตให้มีการสื่อสารข้อมูลความเป็นอันตรายบางชนิดสำหรับสารก่อ มะเร็ง (carcinogens) ความเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) และความเป็นพิษเกี่ยวกับระบบอวัยวะเป้าหมายที่ รับสัมผัสแบบซ้ำรอย (target organ systemic toxicity repeat exposure) บนฉลากและบนเอกสารความปลอดภัย หรือผ่าน ทาง SDS ทางเดียว (ดูบทเฉพาะสำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับค่าจุดตัด cut-offs สำหรับสารในประเภทเหล่านี้)
ในทำนองเดียวกัน สำหรับโลหะและโลหะผสม (alloys) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกที่จะอนุญาตให้มีการ สื่อสารข้อมูลความเป็นอันตรายผ่านทาง SDS เท่านั้น โดยสารเหล่านี้ได้มีการจัดจ่ายในรูปแบบที่มีปริมาณมาก ไม่มีการ กระจายตัว (non-dispersible)
การติดฉลากสถานประกอบการ (Workplace labelling) ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของ GHS ต้องมีการติดฉลากตามระบบ GHS ณ จุดซึ่งมีการจ่ายผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวในสถานประกอบการ และฉลากนั้นควรติดไว้บนภาชนะที่บรรจุในสถานประกอบการด้วย ควรใช้ฉลากตามระบบ GHS หรือ องค์ประกอบฉลากกับภาชนะบรรจุในสถานประกอบการ (workplace containers) อย่างไรก็ตาม พนักงาน เจ้าหน้าที่สามารถที่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้ทางเลือกในการที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับข้อมูลที่เหมือนกันในรูปแบบที่ แตกต่างออกไปได้ในรูปแบบที่เป็นตัวหนังสือหรือรูปภาพ (written or displayed format) ถ้ารูปแบบดังกล่าวเหมาะสม สำหรับสถานประกอบการและสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผลเช่นเดียวกับฉลากของระบบ GHS ตัวอย่างเช่น ข้อมูลฉลากสามารถแสดงในพื้นที่ทำงาน แทนที่จะแสดงเฉพาะภาชนะบรรจุใด ๆ เท่านั้น
วิธีที่เป็นทางเลือกในการให้ข้อมูลที่อยู่ในฉลากของระบบ GHS แก่ผู้ปฏิบัติงานโดยปกติจะนำไปใช้เมื่อ สารเคมีอันตรายถูกเปลี่ยนถ่ายจากภาชนะบรรจุของผู้จัดจำหน่ายไปยังภาชนะบรรจุหรือระบบในสถานประกอบการ หรือ เมื่อมีการผลิตสารเคมีในสถานประกอบการแต่ยังไม่ได้บรรจุในภาชนะบรรจุซึ่งใช้สำหรับจำหน่ายหรือนำไปใช้งาน สารเคมีที่ผลิตในสถานประกอบการอาจบรรจุหรือจัดเก็บได้หลายแบบ เช่น สารตัวอย่างขนาดเล็กที่ใช้สำหรับนำไป ทดสอบหรือวิเคราะห์ ระบบท่อทางที่ประกอบด้วยวาล์ว ภาชนะที่อยู่ในกระบวนการหรือถังปฏิกิริยา (reaction vessels) รถ สินแร่ (ore cars) ระบบสายพานลำเลียง (conveyer systems) หรือ ภาชนะจัดเก็บของแข็งขนาดใหญ่ที่ตั้งยืนได้เอง (freestanding bulk storage of solids) ในกระบวนการผลิตแบบกลุ่ม (In batch manufacturing processes) อาจใช้ถังผสมหนึ่งใบ เพื่อบรรจุของผสมเคมีที่หลากหลายแตกต่างกันไป
ในหลาย ๆ สถานการณ์ ในทางปฏิบัติไม่สามารถสร้างฉลากตามระบบ GHS ที่สมบูรณ์และติดไว้ที่บรรจุ ภัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจาก เช่น ข้อจำกัดทางด้านขนาดของภาชนะบรรจุ หรือไม่มีช่องทางเข้าสู่ภาชนะบรรจุที่อยู่ในกระบวนการ (lack of access to a process container) บางตัวอย่างของสถานการณ์ในสถานประกอบการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมี จากภาชนะบรรจุของผู้จัดจำหน่ายประกอบด้วย: ภาชนะบรรจุสำหรับการทดสอบหรือการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (laboratory testing or analysis) ถังจัดเก็บ (storage vessels) ท่อทางหรือกระบวนการในระบบทำปฏิกิริยา (piping or process reaction systems) หรือ ภาชนะบรรจุชั่วคราว (temporary containers) ซึ่งจะมีการใช้สารเคมีโดยผู้ปฏิบัติงานหนึ่งคนภายในระยะเวลาสั้น ๆ สารเคมีที่ต้องมีการถ่าย (decanted chemicals) เพื่อใช้งานโดยตรงสามารถติดฉลากด้วยองค์ประกอบหลัก (main components) และอ้างอิงให้ผู้ใช้ด้วยข้อมูลฉลากและเอกสารความปลอดภัยจากผู้จัดจำหน่ายได้โดยตรง
ต้องมั่นใจว่าทุกระบบดังที่กล่าวมามีการสื่อสารความเป็นอันตรายที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการ ฝึกอบรมเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการสื่อสารเฉพาะที่ใช้ในสถานประกอบการ ตัวอย่างวิธีการทางเลือกประกอบด้วย: การใช้ตัว บ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (product identifiers) ร่วมกับสัญลักษณ์ตามระบบ GHS และรูปสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อระบุมาตรการในการ เตือน (precautionary measures); การใช้ผังการไหลของกระบวนการ (process flow charts) สำหรับระบบที่ซับซ้อนเพื่อบ่งชี้ สารเคมีที่อยู่ในท่อทางและถังบรรจุ (pipes and vessels) ด้วยการใช้เอกสารความปลอดภัยที่เหมาะสม; การใช้รูปภาพที่เป็น สัญลักษณ์ตามระบบ GHS สี และคำสัญญาณในระบบท่อทางต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่อยู่ในกระบวนการ; การใช้วิธีการปิดป้าย แบบถาวร (permanent placarding) สำหรับท่อทางที่เป็นแบบยึดติดตาย (fixed piping); การใช้ตั๋วหรือใบรับกลุ่ม (batch tickets or recipes) สำหรับติดฉลากบนถังผสม (mixing vessels) และการใช้แถบคาดท่อ (piping bands) ด้วยสัญลักษณ์ความ เป็นอันตรายและตัวชี้บ่งผลิตภัณฑ์
การติดฉลากผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคตามความน่าจะเป็นของการเกิดอุบัติเหตุ (Consumer product labelling based on the likelihood of injury) ทุกระบบควรใช้เกณฑ์ในการจำแนกประเภทตามระบบ GHS ซึ่งอ้างอิงตามความเป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่อาจอนุญาตให้ใช้ระบบการติดฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคที่จัดให้มีข้อมูลตามความน่าจะเป็นของ การเกิดอันตราย (การติดฉลากตามความเสี่ยง หรือ risk based labelling) ในกรณีหลัง พนักงานเจ้าหน้าที่จะจัดให้มี กระบวนการเพื่อการกำหนดโอกาสในการรับสัมผัสและการเกิดความเสี่ยง (potential exposure and risk) ในการใช้ ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ฉลากที่เป็นไปตามวิธีการนี้จัดให้มีข้อมูลเป้าหมาย (targeted information) เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ชี้บ่ง (identified risks) แต่อาจจะไม่รวมข้อมูลบางอย่างที่มีผลต่อสุขภาพแบบเรื้อรัง (chronic health effects) (เช่น (Target Organ Systemic Toxicity (TOST)) ตามการรับสัมผัสแบบซ้ำ (repeated exposure) เป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (reproductive toxicity) และ การก่อมะเร็ง (carcinogenicity)) ซึ่งจะปรากฏบนฉลากที่มีเพียงความเป็นอันตรายเดียว
คำเตือนที่จับต้องได้ (Tactile warnings) ถ้ามีการใช้คำเตือนที่จับต้องได้ (tactile warnings) แบบรายละเอียดทางเทคนิค (technical specifications) ควรเป็นไปตาม EN ISO standard 11683 (1997 edition) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำเตือนอันตรายที่จับต้องได้
0 comments:
Post a Comment