Saturday, July 20, 2013

การจำแนกประเภทของสารอันตรายและของผสมอันตราย

การพัฒนาระบบ GHS เริ่มจากการทำงานในส่วนของเกณฑ์การจำแนกประเภทโดยคณะทำงานเฉพาะกิจ ขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลาก (OECD Task Force on HCL) ที่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและต่อสิ่งแวดล้อมและโดยคณะทำงานที่เกี่ยวกับเรื่องความเป็น อันตรายทางกายภาพภายใต้คณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าอันตรายของสภา เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติภาคพื้นยุโรปและองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (UNCETDG/ILO Working Group)

ประเภทความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและต่อสิ่งแวดล้อม: คณะทำงานเฉพาะกิจของ OECD ว่าด้วยการ ปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลาก (OECD Task Force on HCL)

  • งานของคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วย การปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากมี 3 ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังต่อไปนี้:
    • เปรียบเทียบระบบการจำแนกประเภทหลัก ๆ ระบุองค์ประกอบที่ตรงกันหรือคล้ายคลึงกัน และทำ ประชามติสำหรับองค์ประกอบที่แตกต่างกันเพื่อทำการปรับให้มีความสอดคล้องกัน;
    • ตรวจสอบพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเกณฑ์ที่กำหนดประเภทความเป็นอันตรายที่เกี่ยวข้อง (เช่น ความเป็นพิษเฉียบพลัน การก่อมะเร็ง) โดยการหาประชามติจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีการ ทดสอบ การตีความข้อมูลและระดับที่เกี่ยวข้อง และหลังจากนั้นทำการหาประชามติเกี่ยวกับเกณฑ์ สำหรับบางประเภทความเป็นอันตราย รูปแบบที่ใช้อยู่เดิมยังไม่มีเกณฑ์และเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้รับ การพัฒนาโดยคณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force);
    • หากมีการแสดงวิธีการตัดสินใจโดยใช้เหตุและผลหลายอย่างมารวมกัน (decision-tree approach) (เช่น การระคายเคือง) หรือหากมีเกณฑ์ที่ต้องพึ่งสิ่งอื่นในรูปแบบการจำแนกประเภท (ความเป็น พิษเฉียบพลันทางน้ำ) การใช้วิธีประชามติในกระบวนการหรือรูปแบบการใช้เกณฑ์
  •  คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการ พัฒนาเกณฑ์ในการจำแนกประเภท สำหรับประเภทความเป็นอันตรายได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้:
    •  ขั้นที่ 1: ทำการวิเคราะห์ระบบการจำแนกประเภทที่มีอยู่เดิมโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์สำหรับระบบและเกณฑ์ต่าง ๆ หลักการและเหตุผลตลอดจนคำอธิบายวิธีการใช้ เอกสารของขั้นที่ 1 นี้ได้จัดทำและแก้ไขปรับปรุงตามที่กำหนดหลังจากได้มีการอภิปรายกันโดย คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากสำหรับประเภท ดังต่อไปนี้: การระคายเคือง/ความเสียหายต่อดวงตา, การระคายเคือง/การกัดกร่อนต่อผิวหนัง, สาร ทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ (Sensitising Substances), กระบวนการก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ที่ มีฤทธิ์ต่อเซลสืบพันธุ์ได้ (Germ Cell Mutagenicity), ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive Toxicity), ความเป็นพิษต่ออวัยวะเป้าหมาย/ระบบทั่วร่างกายอย่างเฉพาะเจาะจง (Specific Target Organ/Systemic Toxicity), และสารเคมีผสม (Chemical Mixtures);
    •  ขั้นที่ 2: พัฒนาข้อเสนอสำหรับระบบการจำแนกประเภทให้เป็นระบบเดียวกัน และเกณฑ์สำหรับ แต่ละประเภทและกลุ่มความเป็นอันตราย เอกสารของขั้นที่ 2 นี้ได้จัดทำและแก้ไขปรับปรุงตามที่ กำหนดหลังจากได้มีการอภิปรายกันโดยคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วย การปรับการจำแนกประเภท และการติดฉลาก;
    • ขั้นที่ 3:
      •  คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วย การปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากทำประชามติใน ส่วนของข้อเสนอขั้นที่ 2; หรือ
      • ถ้าความพยายามในการทำประชามติล้มเหลว คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการ จำแนกประเภทและการติดฉลากจะระบุหัวข้อเฉพาะที่ “ไม่ผ่านประชามติ” ให้เป็นข้อเสนอ ที่ปรับปรุงแก้ไขในข้อเสนอขั้นที่ 2 เพื่อทำการอภิปรายและลงมติต่อไป
    •  ขั้นที่ 4: ข้อเสนอขั้นสุดท้ายนี้จะส่งให้ที่ประชุมร่วมองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนา เศรษฐกิจระหว่างคณะกรรมการด้านสารเคมีและคณะทำงานด้านสารเคมี ยาปราบศัตรูพืชและ เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้ความเห็นชอบและหลังจากนั้นจะส่งต่อไปยัง IOMC CG-HCCS เพื่อ นำไปผนวกอยู่ในเอกสาร GHS
คณะทำงาน UNCETDG/ILO ด้านความเป็นอันตรายทางกายภาพ

คณะทำงาน UNCETDG/ILO ด้านความเป็นอันตรายทางกายภาพใช้กระบวนการที่คล้ายคลึงกับที่ คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับการจำแนกประเภทและการติดฉลากใช้ งานที่ได้ดำเนินการได้แก่การเปรียบเทียบ ระบบการจำแนกประเภทหลัก ๆ การระบุองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกันและสำหรับองค์ประกอบที่ไม่ เหมือนกันได้มีการจัดทำประชามติเพื่อหาข้อตกลงร่วม อย่างไรก็ตาม สำหรับความเป็นอันตรายทางกายภาพ คำจำกัดความ ของการขนส่ง การทดสอบและเกณฑ์การจำแนกประเภทได้มีการนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการทำงานตั้งแต่สิ่งเหล่านี้ได้มีการ ทำให้เป็นระบบที่เป็นไปในแนวเดียวกันมากแล้ว การทำงานที่ดำเนินการผ่านการตรวจสอบพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับเกณฑ์ที่ได้รับประชามติในส่วนของวิธีการทดสอบ การตีความข้อมูล และเกณฑ์สำหรับประเภทความเป็นอันตราย ส่วนใหญ่ ระบบเดิมได้รับการพิจารณาว่าเหมาะสมและได้มีการใช้อยู่แล้วในภาคการขนส่ง ด้วยพื้นฐานดังกล่าว ส่วนหนึ่ง ของงานที่มุ่งเน้นไปในส่วนของสถานประกอบการ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้บริโภคได้มีการกล่าวถึงอย่าง เพียงพอแล้ว

ข้อพิจารณาทั่วไปเกี่ยวกับระบบ GHS

ขอบเขตของระบบ

  • ระบบ GHS นำไปใช้กับสารเคมีบริสุทธิ์ สารละลายเจือจางของสารเคมีบริสุทธิ์นั้นและใช้กับของผสม “สิ่งของ” ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการสื่อสารความเป็นอันตราย (Hazard Communication Standard) (29 CFR 1910.1200) ขององค์กรบริหารงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US Occupational Safety and Health Administration) หรือโดยคำจำกัดความที่คล้ายคลึงกันถือได้ว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตของระบบนี้
  • วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของระบบ GHS นี้คือทำให้ง่ายและชัดเจนกับการแยกแยะความแตกต่างที่เห็นเด่นชัด ระหว่างประเภท (class) และกลุ่ม (category) เพื่อเป็น “การจำแนกประเภทด้วยตัวเอง” ตราบเท่าที่สามารถทำได้ สำหรับ ประเภทความเป็นอันตรายหลายตัว เกณฑ์กึ่งเชิงปริมาณหรือกึ่งเชิงคุณภาพ (semi-quantitative or qualitative) และ จำเป็นต้องพึ่งการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะตีความข้อมูลสำหรับจุดประสงค์ในการจำแนกประเภท นอกจากนี้สำหรับ ความเป็นอันตรายบางประเภท (เช่น สารระคายเคืองต่อตา สารระเบิด หรือสารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง) ได้มีการจัดทำ กระบวนการตัดสินใจโดยใช้ผังการแบ่งกลุ่ม (decision tree approach) ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
หลักการหรือแนวคิดของ “การจำแนกประเภท”
  • ระบบ GHS ใช้คำว่า “การจำแนกประเภทความเป็นอันตราย” เพื่อระบุว่าเป็นคุณสมบัติอันตรายดั้งเดิมที่อยู่ กับสารหรือของผสมเท่านั้นที่นำมาพิจารณา
  • การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
    • ทำการพิสูจน์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอันตรายของสารหรือของผสม
    • ทำการทบทวนข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่าความเป็นอันตรายเกี่ยวเนื่องกับสารและของผสม ดังกล่าว และ
    • ทำการตัดสินใจว่าสารหรือของผสมดังกล่าวจะจำแนกเป็นสารหรือของผสมอันตราย และระดับ ความเป็นอันตราย ตามความเหมาะสม โดยทำการเปรียบเทียบข้อมูลกับเกณฑ์การจำแนกประเภท ความเป็นอันตรายที่ได้มีการตกลงไว้
  •  ตามที่ได้ระบุไว้ในคำอธิบายของ IOMC และคำอธิบายอื่นที่เป็นการคาดหวังถึงการนำระบบ GHS ไปใช้ ตามหัวข้อ จุดประสงค์ ขอบเขตและการนำไปใช้งาน (บทที่ 1.1 ย่อหน้า 1.1.2.4) ซึ่งรับรู้ว่าเมื่อสารเคมีได้มีการจำแนก โอกาสของการเกิดผลร้ายอาจพิจารณาในการตัดสินใจได้ว่าข้อมูลหรือขั้นตอนอื่นใดที่ควรนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์นั้นหรือ สภาพแวดล้อมในการใช้งานนั้น
เกณฑ์การจำแนกประเภท (Classification criteria)

เกณฑ์การจำแนกประเภทสำหรับสารและสารผสมได้แสดงไว้ในภาคที่ 2 และ 3 ในคู่มือนี้ซึ่งในแต่ละข้อ ของประเภทความเป็นอันตรายเฉพาะหรือกลุ่มของประเภทความเป็นอันตรายที่สัมพันธ์กัน กระบวนการที่แนะนำในการ จำแนกประเภทความเป็นอันตรายของของผสมเป็นไปตามลำดับดังต่อไปนี้:

  • หากมีข้อมูลผลการทดสอบของของผสมที่สมบูรณ์ การจำแนกประเภทของผสมจะถือเป็นไปตาม ข้อมูลนั้นเสมอ;
  • หากไม่มีข้อมูลผลการทดสอบของของผสม ให้พิจารณาใช้หลักการเชื่อมโยง (bridging principles) ที่รวมและอธิบายอยู่ในแต่ละบทเฉพาะเพื่อดูว่าได้อนุญาตให้ทำการจำแนกประเภทของของผสม หรือไม่;
นอกจากนี้ สำหรับประเภทความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

  • หาก (i) ไม่มีข้อมูลผลการทดสอบในสำหรับของผสม และ (ii) มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสามารถใช้ หลักการเชื่อมโยง (bridging principles) ให้ใช้วิธีการที่ยอมรับกันตามที่ได้อธิบายไว้ในแต่ละบท เพื่อคาดคะเนความเป็นอันตรายโดยอาศัยข้อมูลที่ทราบเพื่อทำการจำแนกของผสมดังกล่าว
 ข้อมูลที่มี วิธีการทดสอบและคุณภาพของผลข้อมูลการทดสอบ (Available data, test methods and test data quality)

  •  ระบบ GHS เองไม่ได้รวมข้อกำหนดสำหรับการทดสอบสารหรือของผสมเอาไว้ ดังนั้นจึงไม่มีข้อกำหนด ภายใต้ระบบ GHS เพื่อทำการให้ได้มาซึ่งข้อมูลการทดสอบสำหรับประเภทความเป็นอันตรายใด ๆ เป็นที่ทราบกันว่าระบบ กฎระเบียบบางส่วนได้กำหนดให้มีข้อมูลที่ผลิตขึ้นมา (เช่น ยาปราบศัตรูพืช) แต่ข้อกำหนดเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับระบบ GHS เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมาสำหรับการจำแนกประเภทของผสมจะอนุญาตให้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หรือที่หาได้ของของ ผสมเองและ/หรือของผสมที่เหมือนกัน และ/หรือข้อมูลของส่วนประกอบของของผสมนั้น
  •  การจำแนกประเภทสารและของผสมเคมีขึ้นอยู่กับทั้งเกณฑ์และความน่าเชื่อถือของวิธีการทดสอบที่เป็นตัว รองรับให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว ในบางกรณีการจำแนกประเภทกำหนดโดยผลการทดสอบเฉพาะว่าผ่านหรือไม่ผ่าน (เช่น การทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่าย (ready biodegradation test) ของสารหรือองค์ประกอบของของผสม) ในขณะที่ในกรณีอื่น ทำการตีความหมายจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและการตอบสนอง (dose/response curves) และ การสังเกตการณ์ในระหว่างการทดสอบ ในทุก ๆ กรณี จำเป็นที่จะต้องให้เงื่อนไขการทดสอบเป็นมาตรฐานเพื่อว่าจะทำ ให้ผลการทดสอบสารเคมีตัวอื่น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานและให้ค่าที่ “ถูกต้อง” สำหรับการกำหนดประเภทความเป็น อันตรายที่เกี่ยวข้อง ในความหมายนี้ การทำให้ถูกต้อง (validation) เป็นกระบวนที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและความ เกี่ยวข้องของกระบวนการได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ
  •  การทดสอบที่กำหนดสมบัติอันตรายที่ทำตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันระหว่างประเทศ สามารถใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ของการกำหนดความเป็นอันตรายในส่วนของความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ของ GHS ในการกำหนดความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการทดสอบที่เป็นกลาง (test method neutral) ซึ่งอนุญาตให้ใช้วิธีการที่แตกต่างกันได้ตราบเท่าที่วิธีการเหล่านั้นถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เป็นไป ตามกระบวนการและเกณฑ์ระหว่างประเทศที่ได้อ้างถึงไว้ในระบบเดิมสำหรับความเป็นอันตรายที่เกี่ยวข้องและให้ข้อมูลที่ ยอมรับได้ร่วมกัน วิธีการทดสอบเพื่อกำหนดความเป็นอันตรายทางกายภาพโดยทั่วไปมีความชัดเจนกว่าและได้ระบุไว้ใน คู่มือ GHS
  •  สารเคมีที่ได้ทำการจำแนกก่อนหน้านี้ (Previously classified chemicals) หนึ่งในบรรดาหลักการทั่ว ๆ ไปที่สร้างโดย IOMC-CG-HCCS ระบุว่าข้อมูลการทดสอบที่ได้ทำการสร้าง ขึ้นมาแล้วสำหรับการจำแนกประเภทสารเคมีภายใต้ระบบที่ใช้อยู่เดิมสามารถยอมรับได้เมื่อการจำแนกสารเคมีเหล่านี้ ภายใต้ระบบที่เป็นแบบเดียวกัน (harmonized system) เพื่อลดการทดสอบที่ซ้ำซ้อนและการใช้สัตว์ทดลองที่เกินความ จำเป็น นโยบายดังกล่าวมีนัยสำคัญในกรณีต่าง ๆ ซึ่งเกณฑ์ในระบบ GHS อาจแตกต่างจากระบบเดิม ในบางกรณี อาจเป็น การยากที่จะทำการกำหนดคุณภาพของข้อมูลเดิมจากการศึกษาที่เก่ากว่า ในกรณีดังกล่าว การตัดสินจากผู้เชี่ยวชาญอาจมี ความจำเป็น
  •  สาร/ของผสมที่แสดงปัญหาพิเศษ (Mixtures posing special problems) ผลของสารหรือของผสมที่มีต่อระบบทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมได้รับอิทธิพล (ในบรรดาปัจจัยอื่น ๆ ) จาก สมบัติทางเคมีกายภาพ (physico chemical properties) ของสารหรือของผสมและ/หรือส่วนประกอบของของผสมนั้น และ ลักษณะทางชีวภาพที่สารที่เป็นส่วนผสมมีอยู่ สารบางกลุ่มอาจแสดงปัญหาพิเศษในลักษณะนี้ ตัวอย่างเช่น โพลิเมอร์และ โลหะบางชนิด สารและของผสมไม่จำเป็นต้องทำการจำแนกหากสามารถแสดงข้อมูลจากการทดลองจากวิธีการทดลองที่ ยอมรับระหว่างประเทศซึ่งสารหรือของผสมนั้นไม่สามารถหาข้อมูลทางชีวภาพได้ ในลักษณะเดียวกันข้อมูลความสามารถ ทางชีวภาพของส่วนประกอบของของผสมสามารถนำมาใช้ได้ตามความเหมาะสมโดยเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับเกณฑ์ ในการจำแนกประเภทที่เป็นรูปแบบเดียวกันเมื่อทำการจำแนกประเภทของผสม
  •  ความปลอดภัยและการดูแลสัตว์ทดลอง (Animal welfare) ความปลอดภัยและการดูแลสัตว์ทดลองต้องให้ความสนใจและห่วงใย ความห่วงใยทางจริยธรรมดังกล่าว รวมถึงไม่เพียงแต่การลดความเครียดและความทรมาน แต่ในบางประเทศ ยังรวมถึงวิธีการใช้และปริมาณการใช้สัตว์ทดลองด้วย หากเป็นไปได้และมีความเหมาะสม การทดสอบและการทดลองที่ไม่จำเป็นต้องใช้สัตว์มีชีวิตเป็นสิ่งที่อยากให้เกิด ขึ้นกับการใช้สัตว์เป็น ๆ ทดสอบการรับความรู้สึก เพื่อให้จบลงสำหรับความเป็นอันตรายบางประเภท (การระคายเคือง/กัด กร่อนต่อผิวหนังและตา หรือความเสียหายอย่างรุนแรง) รูปแบบการทดสอบเริ่มจากการสังเกตุการณ์/การตรวจวัดจากสิ่งที่ ไม่ใช่สัตว์ได้ถูกรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจำแนกประเภท สำหรับความเป็นอันตรายอื่น ๆ เช่น ความเป็นพิษ เฉียบพลัน การทดสอบสัตว์โดยวิธีทางเลือกอื่น (alternative animal tests) โดยใช้สัตว์น้อยตัวกว่า หรือทำให้เกิดการทรมาน น้อยลงเป็นวิธีการที่ยอมรับกันระหว่างประเทศและควรนำมาใช้มากกว่าวิธีการทดสอบ LD50 แบบดั้งเดิม
  •  หลักฐานจากมนุษย์ (Evidence from humans) เพื่อจุดประสงค์ของการจำแนกประเภท ควรนำข้อมูลด้านระบาดวิทยาที่เชื่อถือได้และประสบการณ์จากผล ของสารเคมีที่มีต่อมนุษย์ (เช่น ข้อมูลด้านอาชีวอนามัย ข้อมูลจากฐานข้อมูลอุบัติเหตุ) มาพิจารณาในการประเมินความเป็น อันตรายของสารเคมีต่อสุขภาพมนุษย์ การทดสอบเฉพาะแต่กับมนุษย์เพื่อจุดประสงค์ในการระบุความเป็นอันตราย โดยทั่วไปไม่สามารถยอมรับได้
  •  การตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ (Expert judgment) วิธีการจำแนกประเภทของผสมประกอบด้วยการนำการติดสินของผู้เชี่ยวชาญในหลายแขนงมาใช้เพื่อให้ มั่นใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เดิมสามารถนำมาใช้สำหรับของผสมให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้เพื่อปกป้องสุขภาพมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม การตัดสินของผู้เชี่ยวชาญอาจจำเป็นต้องใช้ในการตีความข้อมูลสำหรับการจำแนกความเป็นอันตรายของสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำเป็นต้องตัดสินจากน้ำหนักของหลักฐานที่มีอยู่ (weight of evidence determinations)
  •  น้ำหนักของหลักฐาน (Weight of evidence)
    •  สำหรับความเป็นอันตรายบางประเภท การจำแนกประเภทจะให้ผลลัพธ์ออกมาโดยตรงเมื่อข้อมูลเป็นไป ตามเกณฑ์ สำหรับประเภทที่เหลืออื่นๆ การจำแนกประเภทของสารหรือของผสมดำเนินการโดยพื้นฐานของน้ำหนักของ หลักฐานโดยรวม (total weight of evidence) นั่นหมายถึงว่าต้องนำข้อมูลที่หาได้ซึ่งอยู่บนพื้นฐานการกำหนดความเป็นพิษ มาพิจารณาร่วมโดยรวมถึงผลจากการทดสอบในหลอดทดลองที่ถูกต้อง ข้อมูลจากสัตว์ที่เกี่ยวข้องและประสบการณ์มนุษย์ เช่นการศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยาและการศึกษาทางคลีนิค (epidemiological and clinical studies) และรายงานและ ข้อสังเกตที่มีการจัดทำเป็นรายงานที่มีเนื้อหาสาระเป็นอย่างดี
    •  คุณภาพและความสม่ำเสมอของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ควรรวมการประเมินสารหรือของผสมที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุที่กำลังทำการจำแนกและควรบอกสถานที่การดำเนินการและกลไกหรือวิธีการดำเนินการในผล ควรรวบรวมผลทั้งเชิง บวกและเชิงลบรวมในการตัดสินจากเหตุการณ์ที่ทำครั้งเดียว (single weight of evidence determination)
    •  ผลเชิงบวกที่ตรงตามเกณฑ์ในการจำแนกประเภทในแต่ละบทนี้ ทั้งที่พบเห็นในมนุษย์หรือสัตว์ โดยทั่วไป จะสนับสนุนได้ว่าเป็นการจำแนกประเภท หากมีหลักฐานจากทั้งสองแหล่งและมีข้อขัดแย้งระหว่างการประเมิน ต้องนำ คุณภาพและความน่าเชื่อถือของหลักฐานจากทั้งสองแหล่งมาประเมินเพื่อหามติที่ยังเป็นคำถามในการจำแนกประเภท โดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลที่มีคุณภาพดีและน่าเชื่อถือจากการทดลองในมนุษย์จะมีลำดับเหนือกว่าข้อมูลอื่น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยาที่มีการออกแบบและดำเนินการมาอย่างดีอาจมีเนื้อหาที่ไม่เพียงพอในการตรวจสอบ แต่ยังคงมีผลที่สำคัญ หรือในการประเมินปัจจัยที่ยังสับสนอยู่ ผลเชิงบวกจากการศึกษาที่ทำอย่างดีจากสัตว์ไม่จำเป็นต้องละ ทิ้งจากการที่ขาดข้อมูลประสบการณ์มนุษย์ แต่ต้องการการประเมินที่มั่นคงและมีคุณภาพของทั้งข้อมูลจากมนุษย์และสัตว์ที่ สัมพันธ์กับความถี่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของเหตุการณ์ของผลและผลกระทบของปัจจัยที่ยังสับสนอยู่
    • ทางรับสัมผัส (Route of exposure) ข้อมูลด้านกลไก (mechanistic information) และการศึกษาการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสาร (metabolism studies) เกี่ยวข้องกับกำหนดความสัมพันธ์ของผลที่มีต่อมนุษย์ เมื่อได้มีการ ยกประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวที่ยังเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับมนุษย์ อาจยืนยันการจำแนกประเภทที่ต่ำกว่า หากยังไม่ชัดเจนว่ากลไกหรือวิธีการดำเนินงานไม่ตรงกับมนุษย์ ไม่ควรทำการจำแนกประเภทสารหรือของผสม
    •  รวมผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบเข้าด้วยกันในการให้น้ำหนักเพื่อประเมินหลักฐาน (weight of evidence determination) อย่างไรก็ตามการศึกษาและมีผลเชิงบวกครั้งเดียวที่กระทำตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีและมีผลทาง สถิติและทางชีววิทยาที่ให้ผลดีในเชิงบวกอาจนำไปสู่การตัดสินในการจำแนกประเภท
ข้อพิจารณาเฉพาะสำหรับการจำแนกประเภทของผสม (Specific considerations for the classification of mixtures)

คำจำกัดความ

  • เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัดเกี่ยวกับข้อกำหนดในการจำแนกประเภทของผสม จึงจำเป็นต้องมีคำ จำกัดความสำหรับบางคำ คำจำกัดความดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการประเมินหรือกำหนดความเป็นอันตรายของ ผลิตภัณฑ์สำหรับการจำแนกประเภทและการติดฉลาก และไม่ได้ทำเพื่อให้นำไปใช้ในสถานการณ์อย่างอื่น เช่น การ รายงานคงคลัง (inventory reporting) จุดประสงค์ของคำจำกัดความตามที่ได้ระบุไว้คือเพื่อให้มั่นใจว่า (a) ทุกผลิตภัณฑ์ ภายใต้ขอบเขตของ GHS ได้มีการประเมินเพื่อกำหนดความเป็นอันตรายและถัดจากนั้นได้มีการจำแนกตามเกณฑ์ของ GHS ตามความเหมาะสม; และ (b) การประเมินกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจริง เช่น กับผลิตภัณฑ์ที่เสถียร (stable product) ถ้า เกิดปฏิกิริยาขึ้นในระหว่างการผลิตและเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา ต้องทำการประเมินความเป็นอันตรายและจำแนก ประเภทใหม่โดยการใช้ GHS กับผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว
  • ได้มีการยอมรับคำจำกัดความการทำงาน (working definitions) สำหรับคำต่อไปนี้ สาร (substance) ของ ผสม (mixture) โลหะผสม (alloy) (ดูบทที่ 1.2 สำหรับคำจำกัดความและคำย่ออื่น ๆ ที่ใช้ในระบบ GHS)
    • สาร (Substance): องค์ประกอบและส่วนประกอบทางเคมีในสภาพธรรมชาติหรือได้จากกระบวนการผลิต รวมถึงสารปรุงแต่งที่จำเป็นในการรักษาความเสถียรของผลิตภัณฑ์และสิ่งเจือปนใด ๆ ที่ได้จากกระบวนการที่ใช้ แต่ไม่ รวมถึงสารละลายที่อาจแยกตัวโดยปราศจากผลที่มีต่อความเสถียรของสารหรือการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบ
    • ของผสม (Mixture): สารผสมหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารสองตัวหรือมากกว่า โดยที่ไม่เกิดปฏิกิริยา ซึ่งกันและกัน
    • โลหะผสม (Alloy): วัสดุโลหะ เป็นเนื้อเดียวกันในระดับที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า )macroscopic scale ( ประกอบด้วยแร่ธาตุสองชนิดหรือมากกว่าประกอบกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันโดยทางกลได้ง่าย โลหะผสมพิจารณา ได้ว่าเป็นสารผสมสำหรับจุดประสงค์ของการจำแนกประเภทภายใต้ GHS
  •  ควรใช้คำจำกัดความเหล่านี้เพื่อให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันเมื่อทำการจำแนกประเภทสารและของผสมใน ระบบ GHS ให้สังเกตด้วยว่าเมื่อระบุคำว่า สิ่งสกปรก (impurities) สารปรุงแต่ง (additives) หรือ องค์ประกอบเฉพาะของ สารหรือสารผสม และมีการจำแนกในสิ่งเหล่านี้ ควรมีการพิจารณาในระหว่างการจำแนกประเภทเมื่อสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมีค่า เกินกว่าค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้น (cut-off value/concentration limit) สำหรับประเภทความเป็นอันตรายที่กำหนด
  •  ในทางปฏิบัติควรตระหนักว่าสารบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับก๊าซในบรรยากาศ (atmospheric gases) ได้ อย่างช้า ๆ เช่น ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ (water vapour) เพื่อก่อให้เกิดสารชนิดใหม่ หรือสารเหล่านั้นอาจทำ ปฏิกิริยากับสารประกอบอื่น ๆ ของของผสม (ingredient substances of a mixture) ได้ช้ามาก ๆ เพื่อก่อให้เกิดสารชนิดใหม่ หรือสารเหล่านั้นอาจรวมตัวระดับโมเลกุลได้เอง (self-polymerise) เพื่อก่อให้เกิดสารใหม่เป็นโอลิโกเมอร์ (oligomers) หรือโพลิเมอร์ (polymers) อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาว่าความเข้มข้นของสารใหม่ที่เปลี่ยนรูปไปซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาต่ำ จนกระทั่งสารเหล่านั้นไม่มีผลต่อการจำแนกความเป็นอันตรายของของผสม
 การใช้ค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้น (The Use of cut-off values/Concentration limits 

  •  เมื่อทำการจำแนกของผสมที่ยังไม่ได้ทำการทดสอบตามความเป็นอันตรายของส่วนผสม ให้ใช้ค่าจุดตัด/ค่า ขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไป (generic cut-off values/concentration limits) สำหรับส่วนผสมที่ได้รับการจำแนก (classified ingredients) ของของผสมสำหรับความเป็นอันตรายได้หลายประเภทตามระบบ GHS ถึงแม้ว่าได้มีการระบุค่าจุดตัด/ค่า ขีดจำกัดความเข้มข้นที่เพียงพอสำหรับของผสม อาจยังมีส่วนผสมบางอย่างที่ประกอบด้วยส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่ำกว่า ค่าความเข้มข้นต่ำกว่าค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นที่กำหนดซึ่งตกลงกันในระบบ GHS โดยที่ค่าดังกล่าวยังคงแสดง ความเป็นอันตรายที่ระบุได้ (identifiable hazard) นอกจากนี้อาจมีกรณีที่ค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นที่กำหนดซึ่งตกลง กันในระบ GHS ซึ่งพิจารณาได้ว่าต่ำกว่าที่คาดหวังไว้บนพื้นฐานของระดับที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับส่วนผสม
  • โดยทั่วไปแล้วค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไป (generic cut-off values/concentration limits) ที่ นำมาใช้ในระบบ GHS ควรใช้ให้เป็นแบบอย่างเดียวกันในทุกการตัดสินใจและสำหรับทุกภาคที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ถ้า ผู้ทำการจำแนกมีข้อมูลที่เป็นหลักฐานว่าส่วนผสมมีความเป็นอันตรายแต่อยู่ต่ำกว่าค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไป ของผสมที่ประกอบด้วยส่วนผสมดังกล่าวควรได้รับการจำแนกให้เป็นไปตามนั้น
  • ในกรณีที่ข้อมูลสรุปอาจแสดงว่าความเป็นอันตรายของส่วนผสมจะไม่ชัดเจนเมื่อแสดงที่ระดับเหนือกว่าค่า ค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความเข้มข้นทั่วไปตามระบบ GHS ในกรณีดังกล่าว สามารถทำการจำแนกของผสมตามข้อมูลเหล่านั้น ข้อมูลดังกล่าวไม่รวมถึงความเป็นไปได้ที่ส่วนผสมอาจมีพฤติกรรมกับของผสมในลักษณะที่จะไปเพิ่มความเป็นอันตราย เหนือกว่าค่าของสารบริสุทธิ์ (pure substance) นอกจากนี้ ของผสมไม่ควรประกอบด้วยส่วนผสมที่จะมีผลกระทบต่อการ ประเมิน
  • ควรเก็บเอกสารที่สนับสนุนการนำค่าใด ๆ มาใช้ที่พอเพียง ที่นอกเหนือจากค่าจุดตัด/ค่าขีดจำกัดความ เข้มข้นทั่วไปและมีให้ตรวจสอบได้ในกรณีที่มีการร้องขอ
การเกิดผลเสริมฤทธิ์หรือการต้านฤทธิ์ (Synergistic or antagonistic effects)

เมื่อทำการประเมินตามข้อกำหนดของ GHS ผู้ประเมินต้องพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดเกี่ยวกับ โอกาสการเกิดผลเสริมฤทธิ์ (synergistic effects) กับส่วนผสมของของผสม การลดกลุ่มความเป็นอันตรายของการจำแนก ประเภทบนพื้นฐานของผลการต้านฤทธิ์ (antagonistic effects) อาจกระทำได้ถ้าหากว่าการกำหนดมีการสนับสนุนโดย ข้อมูลที่เพียงพอ

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright Globally Harmonized System All Rights Reserved