บทบาทของเอกสารความปลอดภัย (SDS) ในระบบ
SDS ควรผลิตขึ้นมาให้ครอบคลุมสารและของผสมซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ทำให้เป็นระบบเดียวสำหรับความ เป็นอันตรายทางกายภาพ ต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ระบบ GHS และสำหรับของผสมทั้งหมดที่ประกอบด้วยสาร ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สำหรับสารก่อมะเร็ง (carcinogenic) เป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (toxic to reproduction) หรือเป็นพิษกับ ระบบอวัยวะเป้าหมาย (target organ systemic toxicity) ในความเข้มข้นเกินกว่าค่าจุดตัด (cut-off limits) สำหรับ SDS ที่ กำหนดโดยเกณฑ์สำหรับของผสม พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกให้จัดทำ SDS สำหรับของผสมที่ไม่ เข้าเกณฑ์การจำแนกประเภทว่าเป็นอันตราย แต่ประกอบด้วยสารอันตรายในระดับความเข้มข้นระดับหนึ่ง
แนวทางทั่วไปในการรวบรวมเอกสารความปลอดภัย
- SDS ควรจัดให้มีข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสารหรือของผสมเคมีเพื่อใช้เป็นแนวทางตามกฎหมายในการ ควบคุมสารเคมีในสถานประกอบการ (workplace chemical control regulatory frameworks) ทั้งผู้ว่าจ้างและผู้ปฏิบัติงานใช้ ข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตราย ซึ่งรวมถึงความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็น แหล่งข้อมูลสำหรับมาตรการด้านความปลอดภัย (safety precautions) ข้อมูลดังกล่าวทำหน้าที่เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการ จัดการสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการ SDS เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องและโดยทั่วไปไม่สามารถจัดให้มีข้อมูลเฉพาะ ซึ่งตรงประเด็นในสถานประกอบการใด ๆ ซึ่งอาจเป็นแหล่งสุดท้ายที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ว่าเมื่อผลิตภัณฑ์มีการใช้ขั้น สุดท้ายที่พิเศษออกไป ข้อมูลใน SDS อาจมุ่งเน้นไปทางด้านการใช้งานในสถานประกอบการ ดังนั้นข้อมูลจะช่วยผู้ว่าจ้าง
- พัฒนาโปรแกรมที่เป็นผลสำหรับมาตรการปกป้องผู้ปฏิบัติงาน (worker protection measures) ซึ่ง ประกอบด้วยการฝึกอบรมที่เฉพาะเจาะจงตามแต่ละสถานประกอบการ และ
- พิจารณามาตรการใด ๆ ที่อาจจำเป็นในการป้องกันสิ่งแวดล้อม
- นอกจากนี้ SDS ยังจัดให้มีแหล่งสำคัญของข้อมูลสำหรับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (target audiences) อื่นๆ ใน ระบบ GHS ข้อมูลบางส่วนอาจนำไปใช้โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตราย ผู้ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (รวมถึง ศูนย์พิษวิทยา; poison centres) ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องในการใช้งานยาปราบศัตรูพืช และผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เหล่านี้ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอื่นจากหลากหลายแหล่ง เช่นเอกสารของข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็น ต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย และชุดข้อมูลสำหรับผู้บริโภค (package inserts for consumers) และจะดำเนินการ อย่างต่อเนื่องต่อไป การนำระบบการติดฉลากที่เป็นระบบเดียวกันมาใช้จึงไม่ได้เป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ ขั้นต้นของ SDS ซึ่งใช้สำหรับผู้ใช้งานในสถานประกอบการ
SDS ควรผลิตขึ้นมาให้ครอบคลุมสารและของผสมซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ทำให้เป็นระบบเดียวสำหรับความ เป็นอันตรายทางกายภาพ ต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ระบบ GHS และสำหรับของผสมทั้งหมดที่ประกอบด้วยสาร ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สำหรับสารก่อมะเร็ง (carcinogenic) เป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ (toxic to reproduction) หรือเป็นพิษกับ ระบบอวัยวะเป้าหมาย (target organ systemic toxicity) ในความเข้มข้นเกินกว่าค่าจุดตัด (cut-off limits) สำหรับ SDS ที่ กำหนดโดยเกณฑ์สำหรับของผสม พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเลือกให้จัดทำ SDS สำหรับของผสมที่ไม่ เข้าเกณฑ์การจำแนกประเภทว่าเป็นอันตราย แต่ประกอบด้วยสารอันตรายในระดับความเข้มข้นระดับหนึ่ง
แนวทางทั่วไปในการรวบรวมเอกสารความปลอดภัย
- ค่าจุดตัด (Cut-off values) / ค่าจำกัดความเข้มข้น (concentration limits)
- ควรจัดให้มี SDS ค่าจุดตัด/ค่าจำกัดความเข้มข้น (generic cut-off values/concentration limit) ตามที่ระบุไว้ ในตาราง ค่าจุดตัด (Cut-off values) / ค่าจำกัดความเข้มข้น (concentration limits) สำหรับประเภทความเป็นอันตราย
- ตามที่กำหนดไว้ในการจำแนกของผสมอันตรายและสารอันตราย อาจมีบางกรณีที่ข้อมูลความ เป็นอันตรายที่มีอยู่อาจพิสูจน์การจำแนกประเภทบนพื้นฐานของค่าจุดตัด/ค่าจำกัดความเข้มข้นอื่นแทนที่จะเป็นค่าทั่วไปที่ กำหนดไว้ในบทที่ต่างที่แสดงความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เมื่อใช้ค่าจุดตัดเฉพาะ ดังกล่าวในการจำแนกประเภท ค่าดังกล่าวควรใช้ด้วยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำรวบรวม SDS
- พนักงานเจ้าหน้าที่ (CA) บางแห่งอาจต้องการให้มีการจัดทำ SDS สำหรับของผสมที่ไม่ได้จำแนกเป็นความ เป็นพิษเฉียบพลัน (acute toxicity) หรือเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ (aquatic toxicity) ซึ่งเป็นผลของการประยุกต์ใช้สูตรปรุง แต่ง (additivity formula) แต่ซึ่งประกอบด้วยสารเป็นพิษเฉียบพลันหรือสารเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำในระดับความ เข้มข้นที่เท่ากับหรือมากกว่า 1 %
- ตามหลักการของการต่อตัวบล็อก (building block principle) พนักงานเจ้าหน้าที่บางแห่งอาจเลือกที่จะไม่ กำหนดบางกลุ่มให้อยู่ในประเภทความเป็นอันตราย ในสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าไม่เป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องจัดทำ SDS
- เมื่อเป็นที่ชัดเจนว่าต้องจัดทำ SDS สำหรับสารหรือของผสม ข้อมูลที่จำเป็นต้องมีรวมอยู่ใน SDS ควรจัดให้ มีตามข้อกำหนดของ GHS ในทุกกรณี
- ข้อมูลใน SDS ควรเสนอโดยใช้หัวข้อทั้ง 16 ตามลำดับดังต่อไปนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี หรือสารผสม และบริษัทผู้ผลิต และ/หรือ จำหน่าย (Identification)
- ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazard(s) identification)
- องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/information on ingredients)
- มาตรการปฐมพยาบาล (First-aid measures)
- มาตรการผจญเพลิง (Fire-fighting measures)
- มาตรการการจัดการเมื่อมีการหกและรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accidental release measures)
- การขนถ่ายเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ (Handling and storage)
- การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล (Exposure controls/personal protection)
- คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical properties)
- ความเสถียรและการไวต่อปฏิกิริยา (Stability and reactivity)
- ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)
- ข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ (Ecological information)
- ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal considerations)
- ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่ง (Transport information)
- ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory information)
- ข้อมูลอื่น (Other information)
- SDS ควรให้ข้อมูลที่มีลักษณะที่ชัดเจนซึ่งใช้ระบุความเป็นอันตราย หากสามารถใช้ได้และมีข้อมูลอยู่ ในแต่ ละหัวข้อ2 ของ SDS ควรประกอบไปด้วยข้อมูลขั้นต่ำตามตาราง. ถ้าข้อมูลจำเพาะที่อยู่ภายใต้หัวข้อย่อยไม่สามารถทำ ได้หรือไม่มีข้อมูล ควรจะระบุให้ชัดเจนลงไปใน SDS ด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมอาจกำหนดให้มีโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
- หัวข้อย่อยบางหัวข้อเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นลักษณะภายในประเทศหรือระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น “EC number” และ “occupational exposure limits” ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ว่าจ้างควรรวมข้อมูลภายใต้หัวข้อย่อยของ SDS ที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศหรือภูมิภาคที่ใช้ SDS นั้น และที่ซึ่งสินค้านั้นได้มีการจัดจำหน่าย
- รูปแบบมาตรฐานของ SDS ที่รับรองกันระหว่างประเทศมีอยู่มากมายซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางใน การจัดทำ SDS ประกอบด้วยมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Standard) ภายใต้ข้อแนะนำ 177 หัว ข้อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีในที่ทำงาน (Safety in the Use of Chemicals at Work) มาตรฐานสากล 11014 ของ องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization (ISO)) คำแนะนำเกี่ยวกับเอกสารความปลอดภัย ของสมาคมยุโรป (European Union Safety Data Sheet Directive) หมายเลข 91/155/EEC และสถาบันกำหนดมาตรฐานแห่ง สหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute (ANSI)) มาตรฐานที่ Z 400.1 แนวทางอื่น ๆ ในการจัดทำ SDS อาจ พัฒนาโดยคณะกรรมาธิการย่อยของ GHS โดยขึ้นอยู่กับงานขององค์กรต่าง ๆ เหล่านี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี หรือ สารผสม และบริษัทผู้ผลิต และ/หรือ จำหน่าย (Identification of the substance or mixture and of the supplier)
- ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ตามระบบ GHS (GHS product identifier)
- การบ่งชี้ด้วยวิธีอื่น ๆ
- ข้อแนะนำในการใช้สารเคมีและข้อห้ามต่าง ๆ ในการใช้
- รายละเอียดผู้จำหน่าย (ประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ)
- หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
- ข้อมูลระบุความเป็น อันตราย(Hazards identification)
- การจำแนกประเภทสาร/ของผสมตามระบบ GHS และข้อมูลในระดับชาติหรือ ระดับภูมิภาค
- องค์ประกอบฉลากตามระบบ GHS รวมถึงข้อความที่เป็นคำเตือน(precautionary statements) (สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายอาจจัดให้มีในลักษณะของสัญลักษณ์ที่ นำมาใช้ใหม่ได้ (graphical reproduction) เป็นสีดำและขาวหรือชื่อสัญลักษณ์ เช่น เปลวไฟ กะโหลกและกระดูกไขว้)
- ความเป็นอันตรายอื่นที่ไม่มีผลในการจำแนกประเภท (เช่น ความเป็นอันตรายจาก การระเบิดของผงฝุ่น (dust explosion hazard)) หรือที่ไม่ครอบคลุมโดยระบบ GHS
- ความเป็นอันตรายอื่นที่ไม่มีผลในการจำแนกประเภท (เช่น ความเป็นอันตรายจาก การระเบิดของผงฝุ่น (dust explosion hazard)) หรือที่ไม่ครอบคลุมโดยระบบ GHS
- สาร
- เอกลักษณ์ของสารเคมี
- ชื่อทั่วไป ชื่อพ้อง ฯลฯ
- หมายเลข CAS, หมายเลข EC ฯลฯ
- สิ่งเจือปนและการทำสารปรุงแต่งให้เสถียร (Impurities and stabilizing additives) ที่ตัวเองต้องผ่านการจำแนกประเภทและที่มีส่วนในการจำแนกประเภทสาร
- ของผสม
- เอกลักษณ์ของสารเคมีและค่าความเข้มข้นหรืออัตราความเข้มข้นของ ส่วนประกอบที่เป็นอันตรายภายใต้ความหมายของ GHS และแสดงค่าสูงกว่า ระดับของจุดตัด
หมายเหตุ: สำหรับข้อมูลส่วนประกอบ พนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎสำหรับ CBI ให้มี ความสำคัญเหนือกว่ากฎสำหรับการบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ - มาตรการปฐมพยาบาล (First-aid measures)
- บรรยายถึงมาตรการที่จำเป็น โดยแยกย่อยออกเป็นข้อ ๆ ตามเส้นทางการรับสัมผัส สาร เช่น การสูดดม การสัมผัสทางดวงตาหรือทางผิวหนังและการกลืนกิน
- อาการ/ผลกระทบที่สำคัญ ๆ การเกิดผลเฉียบพลันหรือมีการหน่วงเวลาการเกิด
- การระบุเกี่ยวกับข้อควรพิจารณาทางการแพทย์ในทันทีทันใดและการบำบัดพิเศษ ที่ต้องดำเนินการ ถ้าจำเป็น
- มาตรการผจญเพลิง (Firefighting measures)
- สารดับเพลิงที่เหมาะสม (และไม่เหมาะสม)
- ความเป็นอันตรายเฉพาะที่เกิดขึ้นจากสารเคมี (เช่น ลักษณะของผลิตภัณฑ์ลุกติด ไฟได้ที่เป็นอันตราย)
- อุปกรณ์ป้องกันพิเศษและการเตือนภัยสำหรับนักผจญเพลิง
- มาตรการจัดการเมื่อมีการ หกและรั่วไหลของสารโดย อุบัติเหตุ (Accidental release measures)
- มาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลและมาตรการ ฉุกเฉิน
- มาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อม
- วิธีการและวัสดุสำหรับกักเก็บและกอบกู้
- การขนถ่ายเคลื่อนย้ายและ การจัดเก็บ (Handling and storage)
- มาตรการป้องกันสำหรับการขนถ่ายเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย
- เงื่อนไขการจัดเก็บอย่างปลอดภัย รวมทั้งความเข้ากันไม่ได้ของสาร
- การควบคุมการรับสัมผัส และการป้องกันส่วนบุคคล (Exposure controls/personal protection)
- การควบคุมตัวแปรต่าง ๆ เช่น ค่าที่ยอมให้สัมผัสได้ในขณะปฏิบัติงาน (occupational exposure limit values) หรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ
- การควบคุมทางวิศวกรรมที่เหมาะสม
- มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
- คุณสมบัติทางกายภาพและ ทางเคมี (Physical and chemical properties)
- สภาพปรากฏ (สถานะทางกายภาพ สี เป็นต้น)
- กลิ่น
- ระดับค่าขีดจำกัดของกลิ่น (Odour threshold)
- ค่าความเป็นกรดด่าง (pH)
- จุดหลอมละลาย/จุดเยือกแข็ง (melting point/freezing point)
- จุดเริ่มเดือดและช่วงของการเดือด (initial boiling point and boiling range)
- จุดวาบไฟ (flash point)
- อัตราการระเหย (evaporation rate)
- ความสามารถในการลุกติดไฟได้ (ของแข็ง ก๊าซ) (flammability (solid, gas))
- ขีดจำกัดความไวไฟ ขีดบน/ขีดล่าง หรือค่าจำกัดการระเบิด (upper/lower flammability or explosive limits)
- ความดันไอ (vapour pressure)
- ความหนาแน่นไอ (vapour density)
- ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density)
- ความสามารถในการละลายได้ (solubility(ies))
- สัมประสิทธิ์การแบ่งส่วนของ n-octanol ต่อน้ำ (partition coefficient: noctanol/ water)
- อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง (auto-ignition temperature)
- อุณหภูมิการแตกตัวระดับโมเลกุล (decomposition temperature)
- ความเสถียรและการ เกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity)
- ความเสถียรทางเคมี
- ความเป็นไปได้ในการเกิดปฏิกิริยาอันตราย
- สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง (เช่น การคายประจุไฟฟ้าสถิต แรงกระแทก หรือการ สั่นสะเทือน)
- วัสดุที่เข้ากันไม่ได้
- เกิดการแตกตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย
- ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)กระชับแต่บรรยายถึงผลของความเป็นพิษที่หลากหลายและข้อมูลที่มีอยู่เพื่อระบุ ผลกระทบอย่างสมบูรณ์และเข้าใจได้ ประกอบด้วย:
- ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางของการรับสัมผัสที่อาจเกิดขึ้น (การหายใจ การกลืนกิน การ สัมผัสทางผิวหนังและดวงตา);
- อาการที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมีและทางพิษวิทยา;
- ผลกระทบฉับพลันและที่มีการหน่วงเวลา (Delayed and immediate effects) และ ผลเรื้อรัง (chronic effects) จากการรับสัมผัสระยะสั้นและระยะยาว (short- and long-term exposure);
- มาตรการเชิงตัวเลข (Numerical measures) ของค่าความเป็นพิษ (เช่น การคำนวณ ค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน)
- ข้อมูลผลกระทบต่อระบบ นิเวศน์ (Ecological information)
- ความเป็นพิษต่อระบบนิเวศน์ (ทางน้ำและบนพื้นโลก ถ้ามี)
- ความคงอยู่นาน (persistence) และความสามารถในการย่อยสลาย (degradability)
- ความสามารถในการสะสมทางชีวภาพ (Bioaccumulative potential)
- สภาพที่เคลื่อนที่ได้ในดิน (Mobility in soil)
- ผลร้ายกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นอื่น ๆ
- ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal considerations)
- อธิบายถึงสิ่งตกค้างและข้อมูลเกี่ยวกับของเสียเพื่อการเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย และใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้อง โดยรวมไปถึงการกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการ ปนเปื้อน
- ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport information)
- หมายเลข UN
- ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่งตาม UN
- ประเภทความเป็นอันตรายสำหรับการขนส่ง
- กลุ่มการบรรจุ (ถ้ามี)
- การเกิดมลภาวะทางทะเล (มี/ไม่มี)
- ข้อควรระวังพิเศษที่ผู้ใช้จำเป็นต้องตระหนักหรือจำเป็นต้องปฏิบัติตามในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการขนส่งหรือการบรรทุกทั้งภายในหรือภายนอกสถานประกอบการ
- ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ
- ให้ระบุกฎระเบียบ ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จัดทำ
- ข้อมูลอื่น (Other information) ประกอบด้วย ข้อมูลการจัดทำและการ ปรับปรุงแก้ไข SDS
0 comments:
Post a Comment