1. การนำคู่มือ GHSไปใช้งานให้เป็นระบบเดียวกัน
- จุดประสงค์ของ GHS คือการระบุอันตรายที่พบจากสารเคมีและของผสมเคมี และการสื่อสารถึงข้อมูล อันตรายที่บอกความเป็นอันตรายของสารนั้น เกณฑ์ในการจำแนกประเภทสินค้าอันตรายถูกทำให้เป็นรูปแบบเดียวกัน การ แสดงความเป็นอันตราย สัญลักษณ์และสัญญาณที่เป็นอักษรได้ทำให้เป็นมาตรฐานและเป็นแบบเดียวกันและในตอนนี้อยู่ ในรูปของระบบการสื่อสารแสดงความเป็นอันตรายที่เป็นแบบเดียวกัน GHS จะช่วยให้องค์ประกอบการสื่อสารความเป็น อันตรายของระบบเดิมมีการเปลี่ยนแปลง พนักงานเจ้าหน้าที่จะตัดสินใจว่าจะใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ของ GHS ขึ้นอยู่กับ ความจำเป็นของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ดู การสื่อสารความเป็นอันตราย (Hazard Communication): การ ติดฉลาก (Labelling) (บทที่ 1.4 ย่อหน้า 1.4.10.5.4.2) และภาคผนวก 4 การติดฉลากผลิตภัณฑ์บริโภคตามลักษณะความ เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
- สำหรับการขนส่ง การใช้ระบบ GHS จะเหมือนกับการใช้ตามข้อกำหนดการขนส่งที่มีใช้อยู่ปัจจุบัน ภาชนะบรรจุสินค้าอันตรายจะถูกทำเครื่องหมายด้วยรูปสัญลักษณ์ซึ่งแสดงความเป็นพิษเฉียบพลัน ความเป็นอันตรายทาง กายภาพและอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับผู้ปฏิบัติงานในส่วนอื่น ๆ ผู้ปฏิบัติงานขนส่งจะต้องได้รับการฝึกอบรม องค์ประกอบของระบบ GHS ซึ่งแสดงเป็นคำสัญญาณและข้อความแสดงความเป็นอันตรายคาดหวังว่าจะไม่มีการ เปลี่ยนแปลงในส่วนของการขนส่ง
- ในสถานประกอบการ คาดหวังไว้ว่าจะต้องนำส่วนประกอบต่าง ๆ ตาม GHS มาใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย ฉลากที่มีข้อมูลหลักที่เป็นระบบเดียวกันภายใต้ระบบ GHS และเอกสารความปลอดภัย (SDS) ทั้งยังคาดหวังว่าจะต้องมี การเพิ่มเติมในส่วนของการฝึกอบรมลูกจ้างเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
- สำหรับภาคผู้บริโภค คาดหวังไว้ว่าฉลากจะเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการนำระบบ GHS ไปใช้ ฉลาก ดังกล่าวประกอบด้วยส่วนประกอบหลักของระบบ GHS ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อพิจารณาของภาคที่ใช้งานเฉพาะในบางระบบ (ดู ประกอบจากหัวข้อ การสื่อสารความเป็นอันตราย: การติดฉลาก (บทที่ 1.4 ย่อหน้า ที่ 1.4.10.5.4.2) และภาคผนวก 4: การติด ฉลากผลิตภัณฑ์บริโภคตามลักษณะความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ)
- วิธีการจัดทำโครงการให้เป็นขั้นเป็นตอน (building block approach)
- ในการใช้วิธีการตามการต่อตัวบล็อก ประเทศต่าง ๆ จะมีอิสระในการกำหนดว่าส่วนตัวต่อส่วนใดที่จะ นำมาใช้ในระบบ อย่างไรก็ตามหากระบบครอบคลุมบางสิ่งที่อยู่ในระบบ GHS นำระบบ GHS ไปใช้ การครอบคลุม ดังกล่าวต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าระบบครอบคลุมการก่อมะเร็งของสารเคมี ก็จะต้องเป็นไปตาม รูปแบบการจำแนกประเภทที่เป็นระบบเดียวกันและการติดฉลากที่เป็นระบบเดียวกัน
- ในการตรวจสอบข้อกำหนดของระบบเดิมที่มีอยู่ ควรสังเกตว่าระดับของความเป็นอันตรายอาจ เปลี่ยนแปลงตามความต้องการที่พบเห็นโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการขนส่งจะมุ่งเน้นในส่วน ของผลต่อสุขภาพเฉียบพลันและความเป็นอันตรายทางกายภาพ แต่ไม่มีผลเรื้อรังมาเกี่ยวข้องเนื่องจากชนิดของการรับ สัมผัสที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ แต่อาจมีข้อแตกต่างในส่วนของประเทศที่ไม่เลือกใช้ให้ครอบคลุมทั้งหมดตามที่ได้ ระบุไว้โดยระบบ GHS ในแต่ละสภาพแวดล้อมของการใช้งาน
- ดังนั้นองค์ประกอบที่สอดคล้องกันของระบบ GHS อาจนำมาใช้โดยวิธีการจัดทำโครงการให้เป็นขั้นเป็น ตอนซึ่งทำเป็นรูปร่างให้ไปสู่การบังคับใช้เป็นกฎหมาย ถึงแม้ว่าการใช้ระบบนี้เต็มรูปแบบเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ และควรนำมาใช้ถ้าประเทศหรือองค์กรเลือกที่จะปฏิบัติให้ครอบคลุมให้เกิดผลในบางส่วนเมื่อใช้ระบบ GHS อาจไม่จำเป็น ที่นำระบบมาใช้อย่างเต็มรูปแบบก็ได้ ถึงแม้ว่าความเป็นอันตรายทางกายภาพจะสำคัญในสถานประกอบการและภาคการ ขนส่ง ผู้บริโภคอาจไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงความเป็นอันตรายทางกายจำเพาะบางอย่างกับผลิตภัณฑ์ชนิดที่เขานำมาใช้งาน ตราบเท่าที่ความเป็นอันตรายได้ถูกกล่าวถึงโดยภาคหรือระบบได้ครอบคลุมในลักษณะเดียวกันกับเกณฑ์และข้อกำหนด ของระบบ GHS จะพิจารณาว่าได้ปฏิบัติตามระบบ GHS อย่างเหมาะสม ถึงแม้จากความจริงที่ว่าผู้ส่งออกจำเป็นต้องปฏิบัติ ตามข้อกำหนดของประเทศที่นำเข้าเกี่ยวกับระบบ GHS ได้มีความหวังไว้ว่าท้ายที่สุดการนำระบบ GHS ไปใช้ทั่วโลกจะ นำไปสู่สถานการณ์ที่ใช้ระบบเดียวกันได้ทั้งหมด
- สำหรับจุดประสงค์ของการนำระบบ GHS ไปใช้ ECOSOC ได้มีการปรับคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญของ สหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายโดยมติที่ประชุมฉบับที่ 99/65 วันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญชุดใหม่ว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายและการจำแนกประเภทและติดฉลากให้เป็นระบบเดียว ทั่วโลก (UNCETDG/GHS) โดยมีคณะอนุกรรมาธิการสองคณะได้แก่คณะอนุกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย (UNSCETDG) ซึ่งเป็นคณะเดิมและได้เพิ่มคณะใหม่ชื่อว่าคณะอนุกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการจำแนก ประเภทและติดฉลากให้เป็นระบบเดียวทั่วโลก (UNSCEGHS) โดย UNSCEGHS มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ดูแลรักษาระบบ GHS จัดการและกำหนดทิศทางสู่กระบวนการทำให้เป็นระบบเดียวกัน (harmonization process)
- ปรับปรุงระบบ GHS ให้ทันสมัยตามความเหมาะสม โดยพิจารณาความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง ให้ ความมั่นใจว่าระบบนี้ยังคงเส้นคงวาและใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ และโดยกำหนดความจำเป็น สำหรับและจังหวะเวลาของการปรับปรุงเกณฑ์ทางด้านเทคนิค ซึ่งต้องทำงานกับกลุ่มเดิมที่ดำเนินการ อยู่แล้วตามความเหมาะสม
- ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจและการใช้ระบบ GHS และกระตุ้นให้มีการตอบสนองต่อข้อมูล การใช้งาน
- จัดให้ระบบ GHS มีและนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
- จัดให้มีแนวทางในการใช้งานของระบบ GHS และในการตีความและการใช้เกณฑ์ทางเทคนิคเพื่อ สนับสนุนการนำไปใช้ที่เป็นลักษณะเดียวกัน และ
- จัดทำแผนการทำงานและยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการ
- ทั้ง UNSCEGHS และ UNSCETDG ทำงานภายใต้คณะกรรมาธิการชุดใหญ่ด้วยความรับผิดชอบสำหรับ สองพื้นที่นี้ คณะกรรมาธิการรับผิดชอบต่องานเชิงกลยุทธ์มากกว่างานเชิงเทคนิค ยังไม่สามารถทำนายได้ว่าจะมีการ ทบทวน เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อแนะนำทางเทคนิคของคณะอนุกรรมาธิการ ดังนั้น หน้าที่หลักของคณะกรรมาธิการมี ดังนี้
- ให้ความเห็นชอบแผนการทำงานที่เสนอโดยคณะอนุกรรมาธิการภายใต้แหล่งการสนับสนุนที่มีอยู่
- ประสานทิศทางเชิงนโยบายและเชิงกลยุทธ์ในลักษณะของการแบ่งปันผลประโยชน์และการคาบเกี่ยว กัน
- ให้ความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรต่อข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมาธิการและให้กลไกสำหรับ การส่งผ่านต่อไปยัง ECOSOC
- อำนวยความสะดวกและประสานเพื่อคณะอนุกรรมาธิการทั้งสองให้เกิดการทำงานที่ราบรื่น
0 comments:
Post a Comment