ระบบ GHS ไม่ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อกระบวนการประเมินความเสี่ยงหรือการบริหารความเสี่ยงให้เป็นแบบ
เดียวกัน (เช่น การจัดทำค่า PEL; Permissible Exposure Limit สำหรับการรับสัมผัสสารของลูกจ้าง) ซึ่งโดยทั่วไปต้องใช้การประเมินความเสี่ยงที่เพิ่มเติมจากการจำแนกประเภทความเป็นอันตราย นอกจากนี้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดทำสารเคมีคง คลังในหลายประเทศไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ GHS
ความเป็นอันตราย กับ ความเสี่ยง (Hazard vs. Risk)
ระบบการจำแนกประเภทและการแสดงความเป็นอันตรายแต่ละระบบ (สถานประกอบการ ผู้บริโภค การ ขนส่ง) เริ่มครอบคลุมจากการประเมินความเป็นอันตรายที่เกิดจากผลิตภัณฑ์เคมีหรือสารเคมีที่เกี่ยวข้อง ระดับของ ความสามารถในการเกิดอันตรายขึ้นอยู่กับสมบัติที่ติดตัวสารนั้น ๆ เช่น ความสามารถของสารในการที่จะแทรกแซง กระบวนการทางชีววิทยาทั่วไปและความสามารถในการลุกไหม้ การระเบิด การกัดกร่อน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่โดยตรงกับ การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ แนวคิดของความเสี่ยงหรือโอกาสในการเกิดความเป็นอันตรายขึ้นและการสื่อสาร ข้อมูลนั้นได้นำเข้ามาเมื่อการรับสัมผัสสารถูกพิจารณาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโอกาสการเกิดความเป็นอันตราย หลักการพื้นฐานสู่การประเมินความเสี่ยงสามารถแสดงโดยสูตรง่าย ๆ ดังนี้
ความเป็นอันตราย (Hazard) X การได้รับสัมผัสสาร (Exposure) = ความเสี่ยง (Risk)
เดียวกัน (เช่น การจัดทำค่า PEL; Permissible Exposure Limit สำหรับการรับสัมผัสสารของลูกจ้าง) ซึ่งโดยทั่วไปต้องใช้การประเมินความเสี่ยงที่เพิ่มเติมจากการจำแนกประเภทความเป็นอันตราย นอกจากนี้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดทำสารเคมีคง คลังในหลายประเทศไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ GHS
ความเป็นอันตราย กับ ความเสี่ยง (Hazard vs. Risk)
ระบบการจำแนกประเภทและการแสดงความเป็นอันตรายแต่ละระบบ (สถานประกอบการ ผู้บริโภค การ ขนส่ง) เริ่มครอบคลุมจากการประเมินความเป็นอันตรายที่เกิดจากผลิตภัณฑ์เคมีหรือสารเคมีที่เกี่ยวข้อง ระดับของ ความสามารถในการเกิดอันตรายขึ้นอยู่กับสมบัติที่ติดตัวสารนั้น ๆ เช่น ความสามารถของสารในการที่จะแทรกแซง กระบวนการทางชีววิทยาทั่วไปและความสามารถในการลุกไหม้ การระเบิด การกัดกร่อน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่โดยตรงกับ การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ แนวคิดของความเสี่ยงหรือโอกาสในการเกิดความเป็นอันตรายขึ้นและการสื่อสาร ข้อมูลนั้นได้นำเข้ามาเมื่อการรับสัมผัสสารถูกพิจารณาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโอกาสการเกิดความเป็นอันตราย หลักการพื้นฐานสู่การประเมินความเสี่ยงสามารถแสดงโดยสูตรง่าย ๆ ดังนี้
ความเป็นอันตราย (Hazard) X การได้รับสัมผัสสาร (Exposure) = ความเสี่ยง (Risk)
- ดังนั้นถ้าสามารถลดทั้งความเป็นอันตรายหรือการรับสัมผัสสารได้ก็จะสามารถลดความเสี่ยงหรือโอกาสใน การเกิดความเป็นอันตรายได้ การสื่อสารถึงความเป็นอันตรายที่ประสบความสำเร็จจะเตือนผู้ใช้ถึงความเป็นอันตรายที่ เกิดขึ้นและความจำเป็นในการลดการรับสัมผัสสารและผลจากความเสี่ยง
- ระบบทุกระบบในการสื่อผ่านข้อมูล (สถานประกอบการ ผู้บริโภค การขนส่ง) ประกอบด้วยทั้งความเป็น อันตรายและความเสี่ยงในบางรูปแบบ โดยอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่และลักษณะของข้อมูลที่มี และระดับของ รายละเอียดที่มีตามโอกาสในการับสัมผัส ตัวอย่างเช่น การรับสัมผัสสารของผู้บริโภค เวชภัณฑ์ ประกอบด้วยปริมาณ เฉพาะที่แพทย์กำหนดเพื่อจัดการสภาพบางอย่าง การรับสัมผัสเป็นไปได้โดยตั้งใจ ดังนั้นการกำหนดเป็นไปตามหน่วยงาน กำกับดูแลยาซึ่งสำหรับผู้บริโภคระดับที่ยอมรับได้ของความเสี่ยงเกิดขึ้นจากการรับยาในปริมาณเฉพาะ ข้อมูลซึ่งจัดหาให้ บุคคลรับยานำไปสู่ความเสี่ยงที่ถูกประเมินโดยหน่วยงานกำกับดูแลยามากกว่าที่จะแสดงความเป็นอันตรายในตัวในเองของ ส่วนประกอบทางเวชภัณฑ์
0 comments:
Post a Comment