Monday, July 15, 2013

คำจำกัดความ และคำย่อที่เกี่ยวกับ GHS

  • ข้อกำหนด ADR (Accord européen relatif au transport international des marchandises dangereuses par route) หมายถึง ข้อตกลงของยุโรปว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนน (ฉบับปรับปรุงล่าสุด); 
  • สารละอองลอย (Aerosols) หมายถึง สารละอองลอยที่บรรจุอยู่ในภาชนะปิดที่ไม่สามารถบรรจุใหม่ได้ โดยภาชนะดังกล่าว ทำมาจากโลหะ แก้ว หรือพลาสติก และบรรจุก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซละลายภายใต้ความดัน ที่มีหรือไม่มีของเหลว ครีม หรือผงฝุ่น และติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปล่อยสารออกมาในรูปอนุภาคที่เป็นของแข็งหรือของเหลวที่แขวนลอยอยู่ในก๊าซใน รูปของโฟม ครีม หรือผงฝุ่น หรือในสถานะของเหลว หรือในสถานะของก๊าซ; 
  • โลหะผสม (Alloy) หมายถึง วัสดุโลหะ เป็นเนื้อเดียวกันในระดับเห็นได้ด้วยตาเปล่า (macroscopic scale) ประกอบด้วยสอง ส่วนหรือมากกว่าประกอบกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันโดยทางกลได้ง่าย โลหะผสมพิจารณาได้ว่าเป็นสารผสม สำหรับจุดประสงค์ของการจำแนกประเภทภายใต้ระบบ GHS; 
  • สมาคมการทดสอบและวัสดุของประเทศสหรัฐอเมริกา (ASTM: American Society of Testing and Materials); 
  • ค่า BCF (bioconcentration factor) หมายถึง ค่าปัจจัยความเข้มข้นทางชีวภาพ; 
  • ค่า BOD/COD (biochemical oxygen demand/chemical oxygen demand) หมายถึง ความต้องการออกซิเจนในการย่อย สลายทางชีวภาพ/ความต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายทางเคมี; 
  • พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (CA: Competent Authority);
  • สารก่อมะเร็ง (Carcinogen) หมายถึง สารเคมีหรือสารผสมที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งหรือเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง;
  • ชุดตัวเลขที่ใช้ชี้บ่งสารเคมีอันตราย (CAS: Chemical Abstract Service);
  • ข้อมูลลับทางธุรกิจ (CBI: Confidential Business Information);
  • การระบุชื่อทางเคมี (Chemical identity) หมายถึง ชื่อใด ๆ ที่จะระบุสารเคมีที่เป็นสารประเภทเดียวกัน (uniquely identify a chemical) ซึ่งสามารถเป็นชื่อที่เป็นไปตามระบบการตั้งชื่อของ The International Union of Pure and Applied Chemistry (IUPAC) หรือ The Chemical Abstracts Service (CAS) หรือ ชื่อทางเทคนิค;
  • พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (Competent authority) หมายถึง หน่วยงานหนึ่งหรือหลายหน่วยงาน หรือองค์กรหนึ่งหรือ หลายองค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการยอมรับในระดับประเทศในระบบที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกประเภทและติด ฉลากที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลกตามระบบ GHS;
  • ก๊าซภายใต้ความดัน (Compressed gas) หมายถึง ก๊าซซึ่งเมื่อถูกบรรจุภายใต้ความดันจะมีสภาพเป็นก๊าซทั้งหมดที่อุณหภูมิ ลบ 50 องศาเซลเซียส รวมทั้งก๊าซที่มีอุณหภูมิวิกฤตต่ำกว่าหรือเท่ากับลบ 50 องศาเซลเซียส;
  • ตัวเพิ่มความไวการกระตุ้นอาการแพ้จากการได้สัมผัส (Contact sensitizer) หมายถึง สารที่เป็นตัวก่อให้เกิดอาการแพ้ หลังจากได้สัมผัสทางผิวหนัง คำนิยามนี้มีความหมายเดียวกับ “ตัวเพิ่มความไวการกระตุ้นอาการแพ้จากการได้สัมผัสทาง ผิวหนัง” (skin sensitizer);
  • สารกัดกร่อนโลหะ (Corrosive to metal) หมายถึง สารหรือสารผสมที่โดยกิริยาเคมีจะทำให้เนื้อโลหะเสียหายต่อเนื้อวัสดุ หรือกระทั่งทำลายเนื้อวัสดุ;
  • อุณหภูมิวิกฤติ (Critical temperature) หมายถึง อุณหภูมิที่สูงจนทำให้ก๊าซบริสุทธิ์ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ได้ โดยไม่คำนึงถึงระดับของการอัด (หรือ ณ ความดันคงที่);
  • การกัดกร่อนผิวหนัง (Dermal Corrosion): ดูคำอธิบายใน skin corrosion;
  • ระคายเคืองผิวหนัง (Dermal irritation): ดูคำอธิบายใน skin irritation;
  • ก๊าซละลาย (Dissolved gas) หมายถึง ก๊าซที่เมื่อบรรจุภายใต้ความดันจะละลายอยู่ในรูปของของเหลว (liquid phase solvent);
  • ค่า EC50 (effective concentration) หมายถึง ค่าความเข้มข้นที่มีผลของสารที่เป็นสาเหตุให้เกิดการตอบสนองสูงสุดร้อยละ 50;
  • หมายเลข EC (EC Number หรือ ECNO) เป็นหมายเลขอ้างอิงซึ่งใช้โดยประชาคมยุโรปเพื่อระบุสารอันตราย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสารอันตรายที่ลงทะเบียนภายใต้ EINECS;
  • สภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC: Economic and Social Council of the United Nations);
  • บัญชีรายชื่อสารเคมีของยุโรปที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ (EINECS: European Inventory of Existing Commercial Chemical Substances);
  • ErC50 หมายถึง EC50 ซึ่งเกี่ยวข้องกับอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง (reduction of growth rate);
  • สหภาพยุโรป (EU: European Union);
  • สิ่งของระเบิด (Explosive article) หมายถึง สิ่งของที่ประกอบด้วยสารระเบิดชนิดหนึ่งหรือมากกว่า;
  • สารระเบิด (Explosive substance) หมายถึง สารที่เป็นของแข็งหรือของเหลว (หรือสารผสม) ซึ่งโดยการเกิดปฏิกิริยาทาง เคมีของตัวมันเอง สามารถทำให้เกิดก๊าซที่อุณหภูมิและความดันระดับหนึ่งและที่ความเร็วระดับหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิด ความเสียหายต่อสิ่งที่อยู่โดยรอบ สารดอกไม้เพลิงถือเป็นสารระเบิดแม้ว่าจะไม่ทำให้เกิดก๊าซก็ตาม;
  • การระคายเคืองดวงตา (Eye irritation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของดวงตา (anterior surface) ภายหลังการสัมผัสสาร ทดสอบที่เยื่อด้านหน้าของดวงตา อาการนี้สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ (fully reversible) ภายในเวลา 21 วันหลังการได้รับ สัมผัสสารดังกล่าว;
  • ก๊าซไวไฟ (Flammable gas) หมายถึง ก๊าซที่มีช่วงความไวไฟเมื่อผสมกับอากาศที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และที่ความ ดันบรรยากาศมาตรฐานที่ 101.3 กิโลพาสคัล (kPa);
  • ของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส;
  • ของแข็งไวไฟ (Flammable solid) หมายถึง ของแข็งที่ติดไฟได้ง่าย หรืออาจเป็นสาเหตุหรือช่วยสนับสนุนให้ไฟติดขึ้นมา จากการเสียดสีกัน;
  • จุดวาบไฟ (Flash point) หมายถึง อุณหภูมิต่ำสุด (ณ ความดันบรรยากาศมาตรฐาน 101.3 กิโลพาสคัล) ที่แหล่งกำเนิด ประกายไฟทำให้ไอของของเหลวจุดติดไฟได้ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่กำหนด;
  • องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization of the United Nations);
  • ก๊าซ (Gas) หมายถึง สารซึ่ง
    • ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จะมีความดันไอมากกว่า 300 กิโลพาสคัล หรือ
    • เป็นก๊าซอย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสที่ความดันบรรยากาศมาตรฐาน 101.3 กิโลพาสคัล;
  •  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญร่วม GESAMP หมายถึง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญร่วมทางด้านวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ของ IMO/FAO/UNESCO/WMO/WHO/IAEA/UN/UNEP”;
  •  ระบบ GHS (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals) หมายถึง การจำแนก ประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก;
  •  กลุ่มความเป็นอันตราย (Hazard category) หมายถึง การแบ่งเกณฑ์ภายในประเภทความเป็นอันตราย เช่น ความเป็นพิษ เฉียบพลันโดยผ่านทางปาก ประกอบด้วยกลุ่มความเป็นอันตรายจำนวน 5 กลุ่ม และของเหลวไวไฟแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม กลุ่ม ความเป็นอันตรายเหล่านี้เป็นการเปรียบเทียบความรุนแรงของความเป็นอันตรายภายในประเภทความเป็นอันตรายเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มความเป็นอันตรายของประเภทความเป็นอันตรายอื่น ๆ;
  •  ประเภทความเป็นอันตราย (Hazard class) หมายถึง ลักษณะความเป็นอันตรายทางกายภาพ สุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ของแข็งไวไฟ สารก่อมะเร็ง ความเป็นพิษเฉียบพลันโดยผ่านทางปาก;
  • ข้อความบอกความเป็นอันตราย (Hazard statement) หมายถึง ข้อความบอกประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายซึ่งระบุ ลักษณะของความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์อันตรายที่ประกอบด้วยระดับความเป็นอันตราย (the degree of hazard) ตาม ความเหมาะสม;
  • องค์พลังงานปรมาณูสากล (IAEA: International Atomic Energy Agency);
  • องค์กรเพื่อการวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC: International Agency for the Research on Cancer);
  • องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO: International Labour Organization);
  • องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO: International Maritime Organization);
  •  จุดเริ่มเดือด (Initial boiling point) หมายถึง อุณหภูมิของของเหลวที่ความดันไอมีค่าเท่ากับความดันบรรยากาศมาตรฐาน (101.3 กิโลพาสคัล) นั่นก็คือมีฟองอากาศฟองแรกผุดขึ้น;
  • โปรแกรมระหว่างองค์กรว่าด้วยการจัดการสารเคมี (IOMC: Inter-organization Programme on the Sound Management of Chemicals);
  • โปรแกรมระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยจากสารเคมี (IPCS: International Programme on Chemical Safety);
  • องค์กรมาตรฐานสากล (ISO: International for Organization Standardization);
  • สหภาพสากลเกี่ยวกับเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ (IUPAC: International Union of Pure and Applied Chemistry);
  • ฉลาก (Label) หมายถึง กลุ่มที่เหมาะสมขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของข้อมูลที่เขียน พิมพ์ หรือเป็นรูปภาพที่แสดงความ เป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์อันตราย ซึ่งคัดเลือกมาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย (เช่น กลุ่มการขนส่ง กลุ่มจัดเก็บ กลุ่มผู้บริโภค เป็นต้น จากผู้เรียบเรียง) ซึ่งใช้ปิด พิมพ์หรือติดแนบกับภาชนะบรรจุที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์อันตรายนั้นโดยตรง หรือที่ ภายนอกหีบห่อของผลิตภัณฑ์อันตรายนั้น;
  • องค์ประกอบฉลาก (Label element) หมายถึง ข้อมูลชนิดหนึ่งที่ได้มีการทำให้เป็นระบบเดียวกันสำหรับใช้ระบุบนฉลาก เช่น รูปสัญลักษณ์ (pictogram) คำสัญญาณ (signal word);
  • ค่า LC50 (50% lethal concentration) หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศหรือของสารเคมีในน้ำที่เป็นเหตุทำให้ กลุ่มของสัตว์ทดลองร้อยละ 50 (ครึ่งหนึ่ง) ตายลง;
  • ค่า LD50 หมายถึง ปริมาณของสารเคมีที่ให้กับสัตว์ทดลองทั้งหมดเพียงครั้งเดียว แล้วทำให้กลุ่มของสัตว์ทดลองร้อยละ 50 (ครึ่งหนึ่ง) ตายลง;
  • ค่า LC50 หรือ ค่า EC50 : L(E)C50;
  • ก๊าซเหลว (Liquefied gas) หมายถึง ก๊าซซึ่งเมื่อบรรจุภายใต้ความดัน จะเป็นของเหลวบางส่วนที่อุณหภูมิสูงกว่าลบ 50 องศา เซลเซียส สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง:
    • ก๊าซเหลวความดันสูง (High pressure liquefied gas): ก๊าซที่มีอุณหภูมิวิกฤติอยู่ระหว่างลบ 50 องศา เซลเซียส ถึง 65 องศาเซลเซียส; และ
    • ก๊าซเหลวความดันต่ำ (Low pressure liquefied gas): ก๊าซที่มีอุณหภูมิวิกฤติสูงกว่า 65 องศาเซลเซียส;
  •  ของเหลว (Liquid) หมายถึง สารหรือของผสมที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอไม่เกินกว่า 300 กิโลพาสคัล (3 บาร์) ซึ่งไม่เป็นก๊าซอย่างสมบูรณ์ที่ 20 องศาเซลเซียส และที่ความดันบรรยากาศมาตรฐาน (101.3 กิโลพาสคัล) และที่มี จุดหลอมเหลวหรือจุดเริ่มหลอมเหลวที่ 20 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่าที่ความดันบรรยากาศมาตรฐาน (101.3 กิโลพาสคัล) สารหรือของผสมหนืดที่ไม่สามารถหาค่าจุดหลอมเหลวจำเพาะได้ ต้องเป็นไปตามการทดสอบ ASTM D 4359-90 หรือ เป็นไปตามการทดสอบสำหรับกำหนดค่าความสามารถในการไหล (penetrometer test) ตามที่ระบุไว้ในตอนที่ 2.3.4 ของ ภาคผนวก A ของข้อกำหนด ADR (หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนสำหรับประเทศไทย (TP-II) ที่ออก โดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม, ผู้เรียบเรียง);
  •  อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปกป้องมลภาวะจากเรือ (MARPOL: International Convention for the Prevention of Pollution from Ships);
  •  สารผสม (Mixture) หมายถึง สารผสมหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารสองตัวหรือมากกว่า โดยที่ไม่เกิดปฏิกิริยาซึ่งกัน และกัน;
  •  สารก่อกลายพันธุ์ (Mutagen) หมายถึง สารที่ทำให้โอกาสในการเกิดการกลายพันธุ์ของกลุ่มเซลล์และ/หรือสิ่งมีชีวิตเพิ่ม สูงขึ้น;
  •  การก่อกลายพันธุ์ (Mutation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทั้งจำนวนหรือโครงสร้างของสารพันธุกรรม (genetic material) ใน เซลอย่างถาวร;
  • องค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมที่ไม่ใช่ของรัฐ (NGO: non-governmental organization);
  • ความเข้มข้นที่ไม่ปรากฏผลกระทบใด ๆ (NOEC: no observed effect concentration);
  • องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD: The Organization for Economic Cooperation and Development);
  • สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Organic peroxide) หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสถานะเป็นของเหลวหรือของแข็งซึ่งมีโครงสร้าง -0-0- และอาจพิจารณาได้ว่าเป็นสารอนุพันธ์ของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งไฮโดรเจนหนึ่งหรือทั้งสองอะตอมถูกแทนที่ โดยอนุมูลอินทรีย์ ความหมายนี้รวมถึงสารผสม (ของผสม) เปอร์ออกไซด์อินทรีย์;
  • ก๊าซออกซิไดส์ (Oxidizing gas) หมายถึง ก๊าซใด ๆ ที่โดยทั่วไปจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมา อาจเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำ ให้เกิดการเผาไหม้วัสดุอื่นมากกว่าที่อากาศทั่วไปสามารถทำได้;
  • ของเหลวออกซิไดส์ (Oxidizing liquid) หมายถึง ของเหลวใด ๆ ที่โดยทั่วไปจะปล่อยก๊าซออกซิเจนมา อาจเป็นสาเหตุหรือ มีส่วนทำให้เกิดการเผาไหม้วัสดุอื่นมากกว่าที่อากาศทั่วไปสามารถทำได้;
  • ของแข็งออกซิไดส์ (Oxidizing solid) หมายถึง ของแข็งใด ๆ ที่โดยทั่วไปจะปล่อยก๊าซออกซิเจนมา อาจเป็นสาเหตุหรือมี ส่วนทำให้เกิดการเผาไหม้วัสดุอื่นมากกว่าที่อากาศทั่วไปสามารถทำได้;
  • รูปสัญลักษณ์ (Pictogram) หมายถึง ข้อมูลเชิงภาพที่อาจประกอบด้วยสัญลักษณ์ร่วมกับองค์ประกอบที่เป็นกราฟฟิคอื่น ๆ เช่น ขอบ รูปแบบพื้นหลัง หรือสีซึ่งใช้เพื่อสื่อข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับสารอันตราย;
  • ข้อควรระวัง (Precautionary statement) หมายถึง วลี (และ/หรือ รูปสัญลักษณ์) ซึ่งระบุมาตรการแนะนำที่ควรปฏิบัติตาม เพื่อลดหรือป้องกันการเกิดผลร้ายที่เกิดจากการได้รับสัมผัสกับผลิตภัณฑ์อันตราย หรือการจัดเก็บหรือจัดการผลิตภัณฑ์ อันตรายที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม;
  • สิ่งระบุตัวผลิตภัณฑ์ (Product identifier) หมายถึง ชื่อหรือหมายเลขที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์อันตรายซึ่งปรากฏอยู่บนฉลาก หรือในเอกสารความปลอดภัย (SDS) สิ่งระบุตัวผลิตภัณฑ์นี้จะบอกวิธีการเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งผู้ใช้ผลิตภัณฑ์สามารถ ระบุสารหรือของผสมตามสภาพแวดล้อมของการใช้งาน (particular use setting) เช่น การขนส่ง ผู้บริโภค หรือสถาน ประกอบการ;
  • ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric liquid) หมายถึง ของเหลวที่ถึงแม้ในปริมาณน้อยอาจลุกไหม้ได้เอง หลังจากสัมผัสกับอากาศภายในห้านาที;
  • ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric solid) หมายถึง ของแข็งที่ถึงแม้ในปริมาณน้อยอาจลุกไหม้ได้เองหลังจาก สัมผัสกับอากาศภายในห้านาที;
  • สิ่งของประเภทดอกไม้เพลิง (Pyrotechnic article) หมายถึง สิ่งของที่ประกอบด้วยสารประเภทดอกไม้เพลิงหนึ่งชนิดหรือ มากกว่า;
  • สารประเภทดอกไม้เพลิง (Pyrotechnic substance) หมายถึง สารหรือส่วนผสมของสารที่ได้ออกแบบมาเพื่อให้เกิดผลโดย ความร้อน แสงสว่าง เสียง ก๊าซ หรือ ควัน หรือการผสมผสานกันของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อันจะเป็นผลมาจากปฏิกิริยาทางเคมี ที่ให้ความร้อนซึ่งเกิดขึ้นด้วยตัวเองโดยไม่เกิดการระเบิด;
  • ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและการออกฤทธิ์เชิงปริมาณของสาร (QSAR: quantitative structure-activity relationships);
  • ของแข็งที่ลุกติดไฟได้ง่าย (Readily combustible solid) หมายถึง สารหรือของผสมที่มีลักษณะเป็นผง เป็นเม็ด หรือเป็นครีม ที่เป็นอันตรายถ้าสามารถลุกติดไฟได้ง่ายโดยการสัมผัสกับแหล่งกำเนิดประกายไฟเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ไม้ขีดไฟที่ กำลังลุกไหม้ และถ้าเปลวไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว;
  • ข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตราย: คู่มือการทดสอบและเกณฑ์ (Recommendations on the Transport of Dangerous Goods, Manual of Tests and Criteria) หมายถึง เอกสารภายใต้หัวเรื่องนี้ฉบับล่าสุดที่ตีพิมพ์โดยสหประชาชาติ และฉบับ แก้ไข;
  • ข้อแนะนำในการขนส่งสินค้าอันตราย: ข้อกำหนดต้นแบบ (Recommendations on the Transport of Dangerous Goods, Model Regulations) หมายถึง เอกสารภายใต้หัวเรื่องนี้ฉบับล่าสุดที่ตีพิมพ์โดยสหประชาชาติ และฉบับแก้ไข;
  • ก๊าซเหลวอุณหภูมิต่ำ (Refrigerated liquefied gas) หมายถึง ก๊าซซึ่งเมื่อถูกบรรจุจะเป็นของเหลวบางส่วน เนื่องจากอุณหภูมิ ของก๊าซต่ำ;
  • ตัวเพิ่มความไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจ (Respiratory sensitizer) หมายถึง สารที่ก่อให้เกิดภาวะภูมิ วัยเกิน (hypersensitivity of the airways) ของทางเดินหายใจหลังจากการหายใจเอาสารนี้เข้าไป;
  • ข้อกำหนด RID หมายถึง ข้อกำหนดว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางรถไฟ [Annex 1 to Appendix B (Uniform Rules concerning the Contract for International Carriage of Goods by Rail) (CIM) ของ COTIF (Convention concerning international carriage by rail)] (ฉบับปรับปรุง);
  • ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและการออกฤทธิ์ของสาร (SAR: Structure Activity Relationship);
  • เอกสารความปลอดภัย (SDS: Safety Data Sheet);
  • อุณหภูมิในการสลายตัวแบบเร่งปฏิกิริยาเอง (SADT: Self-Accelerating Decomposition Temperature) หมายถึง อุณหภูมิ ต่ำสุดที่การสลายตัวแบบเร่งปฏิกิริยาเองอาจจะเกิดขึ้นกับสารในบรรจุภัณฑ์;
  • สารที่ให้ความร้อนได้เอง (Self-heating substance) หมายถึง สารที่อยู่ในสถานะของแข็งหรือของเหลว ที่ไม่ใช่สารที่ลุกติด ไฟได้เองในอากาศ (pyrophoric substance) ซึ่ง (โดยการทำปฏิกิริยากับอากาศและไม่ต้องมีแหล่งพลังงานอื่นมาช่วย) เสี่ยง ต่อการให้ความร้อนด้วยตัวเอง สารชนิดนี้แตกต่างจากสารที่ลุกติดไฟได้เองในลักษณะที่จะลุกติดไฟได้เฉพาะเมื่อมีปริมาณ มาก (กิโลกรัม) เท่านั้น และต้องใช้เวลานานในการลุกติดไฟได้เอง (หลายชั่วโมงหรือหลายวัน);
  • สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง (Self-reactive substance) หมายถึง สารที่อยู่ในสถานะของเหลวหรือของแข็งที่ไม่เสถียรทางความ ร้อน เป็นไปได้ที่จะเกิดการแตกตัวโดยการคายความร้อนอย่างรุนแรง แม้แต่ไม่มีออกซิเจน (อากาศ) คำจำกัดความนี้ไม่ รวมถึงสารหรือของผสมที่จำแนกภายใต้ระบบ GHS ว่าเป็นวัตถุระเบิด เปอร์ออกไซด์อินทรีย์ หรือสารออกซิไดส์;
  • อันตรายอย่างรุนแรงต่อดวงตา (Serious eye damage) หมายถึง การเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อตา (anterior surface) การ สลายตัวทางกายภาพอย่างรุนแรงต่อการมองเห็นหลังจากได้รับสารทดสอบสัมผัสกับเยื่อด้านหน้าของดวงตา อาการทั้งหมด นี้ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ (fully reversible) ภายในเวลา 21 วันหลังการได้รับสัมผัสสารดังกล่าว;
  • คำสัญญาณ (Signal word) หมายถึง คำที่ใช้เพื่อบ่งชี้ระดับความรุนแรงของความเป็นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้และเตือน ผู้อ่านถึงความเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งปรากฏอยู่บนฉลาก ระบบ GHS ใช้คำว่า ‘Danger หรือ อันตราย’ และ ‘Warning หรือ คำเตือน’ เป็นคำสัญญาณ;
  • การกัดกร่อนทางผิวหนัง (Skin corrosion) หมายถึง การเกิดความเสียหายที่ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ (irreversible damage) ต่อผิวหนัง หลังจากการได้รับสัมผัสสารทดสอบเป็นเวลา 4 ชั่วโมง;
  • การระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin irritation) หมายถึง การเกิดความเสียหายที่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ (reversible damage) ต่อผิวหนัง หลังจากการได้รับสัมผัสสารทดสอบเป็นเวลา 4 ชั่วโมง;
  • ตัวเพิ่มความไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้จากการได้สัมผัสทางผิวหนัง (Skin sensitizer) หมายถึง สารที่เป็นตัวก่อให้เกิด อาการแพ้หลังจากได้สัมผัสทางผิวหนัง คำจำกัดความนี้มีความหมายเดียวกับ “ตัวเพิ่มความไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้จาก การได้สัมผัส” (contact sensitizer);
  • ของแข็ง (Solid) หมายถึง สารหรือของผสมที่ไม่เป็นไปตามคำจำกัดความของคำว่าของเหลวหรือก๊าซ;
  • ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและคุณสมบัติของสาร (SPR: Structure Property Relationship);
  • สาร (Substance) หมายถึง องค์ประกอบและส่วนประกอบทางเคมีในลักษณะตามธรรมชาติหรือได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งรวมถึงสารปรุงแต่งที่จำเป็นในการรักษาความเสถียรของผลิตภัณฑ์และสิ่งเจือปนใด ๆ ที่ได้จากกระบวนการที่ใช้ แต่ไม่ รวมถึงสารละลายที่อาจแยกตัวโดยไม่มีผลกระทบต่อความเสถียรของสารหรือการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของสาร;
  • สารที่สัมผัสกับน้ำให้ก๊าซไวไฟ (Substance which, in contact with water, emits flammable gases) หมายถึง สารหรือของ ผสมที่อยู่ในสถานะของแข็งหรือของเหลวที่เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นเป็นสารไวไฟได้เองหรือ ให้ก๊าซไวไฟออกมาในปริมาณที่เป็นอันตราย;
  • องค์ประกอบเสริมของฉลาก (Supplemental label element) หมายถึง ชนิดของข้อมูลซึ่งเพิ่มเติมเข้ามาที่ไม่เป็นข้อมูลภายใต้ ระบบ GHS ติดที่ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์อันตรายซึ่งไม่กำหนดหรือระบุไว้ภายใต้ระบบ GHS ในบางกรณีข้อมูลดังกล่าวนี้ อาจกำหนดให้มีโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในส่วนอื่นหรืออาจเป็นข้อมูลเพิ่มเติมโดยดุลยพินิจของผู้ผลิต/ผู้จัด จำหน่าย;
  • สัญลักษณ์ (Symbol) หมายถึง องค์ประกอบที่เป็นรูปภาพซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสื่อข้อมูลแบบย่อ;
  • ชื่อทางเทคนิค (Technical name) หมายถึง ชื่อที่ใช้โดยทั่วไปในทางการค้า กฎหมายหรือประมวลกฎหมายเพื่อระบุสารหรือ ของผสม ที่ไม่ใช่ชื่อภายใต้ IUPAC หรือ CAS และ ชื่อที่ได้รับการรับรองโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างของชื่อทาง เทคนิครวมถึงชื่อที่ใช้สำหรับของผสมที่ซับซ้อน (complex mixtures) (เช่น องค์ประกอบย่อยของปิโตรเลียม (petroleum fractions) หรือ ผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติ), ยาปราบศัตรูพืชหรือสารฆ่าตัวเบียน (pesticides) (เช่น ระบบ ISO หรือ ANSI), dyestuffs (Colour Index system) และแร่ธาตุ;
  • การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED: United Nations Conference on Environment and Development);
  • คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายและการจำแนกประเภทและการติดฉลาก สารเคมีให้ที่ระบบเดียวกันทั่วโลก (UNCETDG/GHS: United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods and on the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals);
  • สหประชาชาติ (UN: United Nations);
  • โปรแกรมเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme);
  • องค์กรเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization);
  • สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR: United Nations Institute for Training and Research);
  • คณะอนุกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติว่าด้วยระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบ เดียวกันทั่วโลก (UNSCEGHS: United Nations Sub-Committee of Experts on the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals);
  • คณะอนุกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย (UNSCETDG: United Nations Sub- Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods);
  • องค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization);
  • องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO: World Meteorological Organization)

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright Globally Harmonized System All Rights Reserved